แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3 ชุดที่ 1
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3 ชุดที่ 1
60% Complete
44 of 50
ข้อที่ 44.

คำประพันธ์ ๒ ข้อใดมีคำสมาส

 

     ๑.  ถึงบุญมีไม่ประกอบชอบไม่ได้                      ต้องอาศัยคิดดีจึงมีผล

     ๒.  มิคลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช          แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย

     ๓.  ตรัสแล้วแกว่งตรีเกรียงไกร                 แสงกระจายพรายไปดั่งไฟกาล

     ๔.  ทั้งปิ่นเกล้าเจ้าพิภพจบสากล                        ให้ผ่องพ้นภัยสำราญผ่านบุรินทร์

     ๕.  ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก                        ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย

 

เฉลย

ตอบ ๔)  ง.  และ  จ.

        สมาส คือ การสร้างคำขึ้นใหม่โดยการนำคำมูลบาลีหรือสันสกฤตตั้งแต่สองคำขึ้นไปซึ่งมีความหมายต่างกันมาเรียงต่อกันแล้วเกิดคำใหม่ ซึ่งแปลความหมายจากคำหลังมาคำหน้า สมาสมีอยู่ ๒ ชนิด คือ สมาสแบบไม่กลืนเสียง และ สมาสแบบกลืนเสียง

        สมาสแบบไม่กลืนเสียง คือ การนำคำมูลบาลีหรือสันสกฤตมาต่อเรียงกันแล้วเกิดคำใหม่ เช่น

ประวัติ + ศาสตร์ = ประวัติศาสตร์

        สมาสแบบกลืนเสียง คือ การนำคำมูลบาลีหรือสันสกฤตมาต่อเรียงกันแล้วมีการกลืนเสียงท้ายของคำหน้ากับเสียงต้นของคำหลังแล้วเกิดคำใหม่ เช่น

                ศึกษา + อธิการ = ศึกษาธิการ

                มนสฺ + ภาพ = มโนภาพ

                สํ + คม = สังคม

 

ตัวเลือกที่ ก.       ผิด เพราะไม่มีคำสมาส

ตัวเลือกที่ ข.      ผิด เพราะไม่มีคำสมาส

ตัวเลือกที่ ค.       ผิด เพราะไม่มีคำสมาส

ตัวเลือกที่ ง.       ถูก เพราะมีคำสมาสแบบกลืนเสียง คือ บุรี + อินทร์ = บุรินทร์

ตัวเลือกที่ จ.       ถูก เพราะมีคำสมาสแบบไม่กลืนเสียง คือ ศิลปะ + กรรม = ศิลปกรรม

ทบทวนบทเรียน