แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ป.6 ชุดที่ 2
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ป.6 ชุดที่ 2
34% Complete
19 of 32
ข้อที่ 19.

ประโยค “ธีรธัชเป็นนักกีฬาที่ขยันและมีน้ำใจ” มีคำกริยาและคำบุพบทอย่างละกี่คำ

เฉลย

ข้อ ๒. มีคำกริยา ๓ คำและคำบุพบท ๑ คำ

                - คำกริยา ๓ คำได้แก่ เป็น, ขยัน และมีน้ำใจ

                - คำบุพบท ๑ คำได้แก่ ที่

 

        คำกริยา คือ คำที่ใช้ในการแสดงท่าทางบอกอาการต่าง ๆ หรือ คำที่แสดงการกระทำของคำนามหรือ สรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง หรือบางคำต้องมีคำอื่นมา       ประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ คำกริยาแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่

        ๑. อถกรรมกริยา คือ กริยาที่สมบูรณ์ในตัวไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เดิน นอน วิ่ง เป็นต้น

        ๒. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ เช่น กิน ตี จับ เป็นต้น

        ๓. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีเนื้อความในตัวเอง อาศัยเนื้อความของคำข้างท้าย เพื่อให้สมบูรณ์  เช่น เป็น เหมือน คล้าย เป็นต้น

        ๔. กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ช่วยกริยาอื่นให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างคำที่เป็นกริยานุ   เคราะห์ เช่น กำลัง แล้ว คง อาจ ถูก เป็นต้น

 

        คำบุพบท หมายถึง คำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อม     คำหรือกลุ่มคำนั้นให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ซึ่งชนิดของคำบุพบทมี ๖ ชนิด  ดังนี้

        ๑. คำบุพบทบอกสถานที่ เช่น  ใต้  บน  ริม เป็นต้น

        ๒. คำบุพบทบอกเวลา  เช่น แต่  ตั้งแต่  ณ  เป็นต้น

        ๓.  คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ  เช่น แห่ง ของ เป็นต้น

        ๔.  คำบุพบทบอกที่มาหรือสาเหตุ  เช่น แต่  จาก  กว่า เป็นต้น

        ๕.  คำบุพบทบอกฐานะเป็นผู้รับ เช่น เพื่อ  ต่อ  แก่  เป็นต้น

        ๖. คำบุพบทบอกฐานะเครื่องใช้ หรือติดต่อกัน เช่น  โดย  ด้วย  อัน  เป็นต้น

ทบทวนบทเรียน
ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค | 2647 views