แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ป.6 ชุดที่ 2
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ป.6 ชุดที่ 2
34% Complete
18 of 32
ข้อที่ 18.

คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดมีชนิดของคำแตกต่างจากข้ออื่น

เฉลย

ตอบข้อ ๔. ฝูงผึ้งกำลังบินกลับรัง คำว่า “ฝูง” เป็นสมุหนาม  คือ คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่    ของคำนามทั่วไป  และคำนามเฉพาะ 

        คำนาม หมายถึง  คำที่ใช้เรียกชื่อ  คน  สัตว์  พืช  สิ่งของ  เป็นต้น ซึ่งชนิดของคำนาม แบ่งออกเป็น    ๕  ชนิด  ดังนี้

        ๑. สามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามทั่วไป  คือ  คำนามที่เป็นชื่อทั่ว ๆ ไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น  คน สุนัข วัด เป็นต้น

        ๒. วิสามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามเฉพาะ คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉาะของคน สัตว์ หรือสถานที่  เป็นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า เป็นใครหรือเป็นอะไร เช่น พระพุทธชินราช  เด็กชายวิทวัส  จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

        ๓.  สมุหนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่ของคำนามทั่วไป และคำนามเฉพาะ  เช่น  ฝูงผึ้ง      กอไผ่ คณะนักทัศนาจร เป็นต้น

        ๔. ลักษณะนาม คือ เป็นคำนามที่บอกลักษณะของคำนาม เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด ปริมาณของ      คำนามนั้นนั้นให้ชัดเจน เช่น บ้าน ๑ หลัง,  โต๊ะ ๕ ตัว  คำว่า หลังและตัว เป็นลักษณะนาม

        ๕.  อาการนาม  คือ คำนามที่เป็นชื่อกริยาอาการ  เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม  ไม่มีรูปร่าง  มักมีคำว่า        "การ"  และ  "ความ"  นำหน้า  เช่น  การกิน  การเดิน ความฝัน เป็นต้น

 

       คำวิเศษณ์  หมายถึง คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม  สรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น ซึ่งคำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น  ๑๐  ชนิด ดังนี้

        ๑.  ลักษณะวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่าง ๆ เช่น  บอกชนิด  สี  ขนาด  สัณฐาน  เป็นต้น

        ๒.  กาลวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา  เช่น  เช้า  สาย  บ่าย  เป็นต้น

        ๓.  สถานวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่  เช่น  ใกล้  ไกล  บน  เป็นต้น

        ๔.  ประมาณวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ  เช่น  หนึ่ง  มาก  น้อย  เป็นต้น

        ๕.  ประติเษธวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิ เป็นต้น 

        ๖.  ประติชญาวิเศษณ์  คือ  คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ค่ะ เป็นต้น

        ๗.  นิยมวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี้ นั่น โน่น เป็นต้น

        ๘.  อนิยมวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่น ไหน เป็นต้น

        ๙. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย เช่น  ใด ไร  เป็นต้น 

        ๑๐.  ประพันธวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นคำ    ว่า ที่ ซึ่ง  เป็นต้น

 

ทบทวนบทเรียน
ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค | 2646 views