แนวข้อสอบ A-level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ม. 6 ชุุดที่ 2
แนวข้อสอบ A-level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ม. 6 ชุุดที่ 2
14% Complete
18 of 58
ข้อที่ 18.

กำหนดเลขอะตอมของธาตุ ดังนี้

เมื่อธาตุ 2 ชนิด สร้างพันธะกันแล้ว ทำให้แต่ละอะตอมหรือไอออนของธาตุที่สร้างพันธะกัน มีจำนวนอิเล็กตรอนเหมือนแก๊สเฉื่อย

ข้อใด สรุปได้ถูกต้องเกี่ยวกับสูตรอย่างง่ายของสารประกอบและชนิดของพันธะเคมีที่เกิดจากธาตุ 2 ชนิดต่อไปนี้ สร้างพันธะเคมีกัน

เฉลย

คำตอบ ข้อ 3) R และ O สร้างพันธะกันได้สารประกอบที่มีสูตรอย่างง่ายเป็น RO ซึ่งเป็นพันธะไอออนิก

ข้อที่ 1 ผิด เพราะ O และ J สร้างพันธะกันได้สารประกอบที่มีสูตรอย่างง่ายเป็น OJ2 แต่เป็นพันธะโคเวเลนต์

ข้อที่ 2 ผิด เพราะ L และ Cl สร้างพันธะกันได้สารประกอบที่มีสูตรอย่างง่ายเป็น LCl แต่เป็นพันธะไอออนิก

ข้อที่ 3 ถูก เพราะ คำตอบชัดเจนอยู่แล้ว

ข้อที่ 4 ผิด เพราะ L และ J สร้างพันธะกันได้สารประกอบที่มีสูตรอย่างง่ายเป็น LJ เป็นพันธะไอออนิก

ข้อที่ 5 ผิด เพราะ O และ Cl สร้างพันธะกันได้สารประกอบที่มีสูตรอย่างง่ายเป็น OCl2 เป็นพันธะโคเวเลนต์

 

พันธะไอออนนิก คือ รูปแบบการสร้างพันธะระหว่างธาตุโลหะกับธาตุอโลหะ โดยจะมีสูตรอย่างง่ายที่แน่นอนที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการไขว้เลขออกซิเดชั่น

พันธะโควเลนต์ คือ รูปแบบการสร้างพันธะระหว่างธาตุอโลหะกับธาตุอโลหะด้วยกัน โดยสูตรอย่างง่ายจะมีหลายรูปแบบ

วิเคราะห์เบื้องต้น สามารถวิเคราะห์หมู่ของธาตุได้จากการจัดเรียงอิเล็กตรอน โดยจำนวนอิเล็กตรอนตัวนอกสุดจะหมายถึง หมู่

ธาตุ J เลขอะตอมเท่ากับ 9 สามารถจัดเรียงอิเล็กตรอนได้เป็น 2, 7 ซึ่งหมายความว่า J อยู่หมู่ 7 ซี่งเป็นอโลหะ

ธาตุ L เลขอะตอมเท่ากับ 11 สามารถจัดเรียงอิเล็กตรอนได้เป็น 2, 8, 1 ซึ่งหมายความว่า L อยู่หมู่ 1 ซี่งเป็นโลหะ

ธาตุ R เลขอะตอมเท่ากับ 20 สามารถจัดเรียงอิเล็กตรอนได้เป็น 2, 8, 8, 2 ซึ่งหมายความว่า J อยู่หมู่ 2 ซี่งเป็นโลหะ