แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
16% Complete
48 of 50
ข้อที่ 48.

ข้อความต่อไปนี้ ตอนใดไม่มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต

ตอนที่ ๑  มีฆราวาสกลุ่มหนึ่งกำลังบำเพ็ญบารมีด้วยการนั่งสมาธิอย่างขะมักเขม้น

ตอนที่ ๒ กรุณาให้ความร่วมมือในการเดินทางไปศึกษาหาความรู้ที่ประเทศไต้หวัน

ตอนที่ ๓  นิสิตเตรียมตัวเข้ารับฟังการปฐมนิเทศที่หอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัย

ตอนที่ ๔  ผัดมักกะโรนีกุ้ง เมนูอร่อยยอดฮิตทำได้ง่ายและ กินได้ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ 

ตอนที่ ๕  ผ้าสักหลาดตัดเป็นชิ้น ๆ แล้วขอบจะไม่รุ่ยจากนั้นรีดให้เรียบด้วยเตารีดได้

เฉลย

ตอบ ข้อ 1 ข้อที่ ๔ และ ข้อที่ ๕

อธิบาย                  

ข้อที่ ๔  “ผัดมักกะโรนีกุ้ง เมนูอร่อยยอดฮิตทำได้ง่ายและกินได้ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่”  เป็นข้อความที่ไม่มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตเพราะมีแต่คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ คือ

คำว่า มักกะโรนี ( macaroni ) หมายถึงชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีเป็นเส้นกลวงยาวหรือเป็นรูปอื่น ๆ เวลาจะนำมาปรุงต้องต้มให้สุก มักใช้ผัดหรือทำแกงจืด / ฮิต ( hit )

หมายถึงเป็นที่นิยม ได้รับความนิยม

ข้อที่ ๕ “ผ้าสักหลาดตัดเป็นชิ้น ๆ แล้วขอบจะไม่รุ่ยจากนั้นรีดให้เรียบด้วยเตารีดได้” เป็นข้อความที่ไม่มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เพราะมีแต่คำยืมที่มาจากภาษาเปอร์เซีย คือ

คำว่า สักหลาด (  woolen fabric ) หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนสัตว์จากการทอหรืออัด

ตัวลวง                 

อธิบาย                  

ข้อ ๑  “มีฆราวาสกลุ่มหนึ่งกำลังบำเพ็ญบารมีด้วยการนั่งสมาธิอย่างขะมักเขม้น” เป็นข้อความที่มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เพราะมีคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต คือคำว่า

ฆราวาส (  คะ-รา-วาด ) หมายถึผู้ครองเรือน คฤหัสถ์  คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช /  บารมี ( บา – ระ – มี ) หมายถึงคุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา  คุณสมบัติที่ทำให้

ยิ่งใหญ่ ( ปฺ ปารมี )  /  สมาธิ ( สะ – มา – ทิ )หมายถึงความสำรวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง

ข้อ ๒ “กรุณาให้ความร่วมมือในการเดินทางไปศึกษาหาความรู้ที่ประเทศไต้หวัน” เป็นข้อความที่มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เพราะมีคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต คือคำว่า

กรุณา (  กะ-รุ-นา ) หมายถึงความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร๔ คือ เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา / ศึกษา หมายถึงเรียน เล่าเรียน ศึกษาเล่าเรียน 

เรียนรู้ ( ส. ศิกฺษา / ป  สิกฺขา )  / ประเทศ หมายถึงตำบล บ้านเมือง แว่นแคว้นมีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสรเสรีเพื่อประโยชน์สุขของมนุษย์

ที่อยู่ร่วมกัน

ข้อ ๓ “นิสิตเตรียมตัวเข้ารับฟังการปฐมนิเทศที่หอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัย” เป็นข้อความที่มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เพราะมีคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต คือคำว่า นิสิต

หมายถึงผู้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสำนักงาน ผู้อาศัย / ปฐม ( ปะ – ถม )หมายถึงลำดับแรก ลำดับเบื้องต้น / นิเทศ ( นิ – เทด )

หมายถึงชี้แจง แสดง จำแนก (ปฺ นิทฺเทส  / ส. นิรฺเทศ )