แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
16% Complete
47 of 50
ข้อที่ 47.

ข้อความตอนใดใช้ภาษาระดับทางการ

๑ ) ภาษาถิ่นเป็นเครื่องบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และสภาพสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ๒ ) เดี๋ยวนี้คนท้องถิ่นพูดคุยภาษาถิ่นกันค่อนข้างน้อย หันไปพูดภาษากลางกันมากขึ้น ๓ ) และเมื่อพูดภาษาถิ่นก็เพียงแต่พูดสำเนียงท้องถิ่นแต่ใช้คำภาษากลาง ทำให้คำท้องถิ่นในภาคต่าง ๆคำบางคำเริ่มสูญหายเป็นที่น่าเสียดาย  ๔ ) ภาษาถิ่นหรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้ง ถ้อยคำและสำเนียงในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ๕ ) ภาษาถิ่นจึงมีความสำคัญมากมาย เป็นภาษาประจำถิ่นของกลุ่มชนที่ได้สร้างสรรค์และสืบทอด โดยผ่านวัฒนธรรมทางภาษาซึ่งเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวรรณกรรมท้องถิ่น

๑. ตอนที่ ๑ )

๒. ตอนที่ ๒ )

๓. ตอนที่ ๓ )

๔. ตอนที่ ๔ )

๕. ตอนที่ ๕ )

เฉลย

ตอบ ข้อ 3 ข้อที่ ๑ และ ข้อที่ ๔

อธิบาย          

ข้อที่ ๑ “ตอนที่ ๑ ภาษาถิ่นเป็นเครื่องบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และสภาพสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ” เป็นข้อความที่ใช้ระดับภาษาทางการเพราะใช้บรรยายใน

การเขียนข้อความอย่างเป็นทางการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ ภาษาระดับนี้เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำให้มากที่สุด

ข้อที่ ๔ “ตอนที่ ๔ ภาษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียง ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่น

ประจำภาคนั้น”  เป็นข้อความที่ใช้ระดับภาษาทางการ เพราะใช้บรรยายในการเขียนข้อความอย่างเป็นทางการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ ภาษาระดับนี้

เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำให้มากที่สุด

ตัวลวง

อธิบาย

ข้อ ๒ “เดี๋ยวนี้คนท้องถิ่นพูดคุยภาษาถิ่นกันค่อนข้างน้อย หันไปพูดภาษากลางกันมากขึ้น” เป็นข้อความที่ไม่ใช้ระดับภาษาทางการ แต่เป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการซึ่งภาษาระดับ

นี้มักใช้ในการสนทนา การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าวและการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกันมากกว่าภาษา

ระดับทางการหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังข้อความนี้มีการใช้คำว่า พูดคุย / หันไปพูด / กันค่อนข้าง ควรแก้ไขเป็น

“เดี๋ยวนี้คนท้องถิ่นพูดภาษาถิ่นกันน้อยแต่พูดภาษากลางมากขึ้น ”

ข้อ ๓ “และเมื่อพูดภาษาถิ่น ก็เพียงพูดแต่สำเนียงท้องถิ่นแต่ใช้คำภาษากลางทำให้คำท้องถิ่นในภาคต่าง ๆ คำบางคำเริ่มสูญหายเป็นที่น่าเสียดาย” เป็นข้อความที่ไม่ใช้ระดับภาษา

ทางการแต่เป็นการใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการควรแก้ไขเป็น “เมื่อพูดภาษาถิ่นใช้เพียงสำเนียงท้องถิ่นแต่กลับใช้คำภาษากลาง ทำให้คำท้องถิ่นเริ่มสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย”

ข้อ ๕ “ภาษาถิ่นจึงมีความสำคัญมากมายเป็นภาษาประจำถิ่นของกลุ่มชนที่ได้สร้างสรรค์และสืบทอด โดยผ่านวัฒนธรรมทางภาษาซึ่งเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวรรณกรรม

ท้องถิ่น” เป็นข้อความที่ไม่ใช้ระดับภาษาทางการแต่เป็นการใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ควรแก้ไขเป็น “ภาษาถิ่นจึงมีความสำคัญเป็นภาษาประจำถิ่นของกลุ่มชนที่ได้สร้างสรรค์

และสืบทอดโดยผ่านวัฒนธรรมทางภาษาซึ่งเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวรรณกรรมท้องถิ่น”

ทบทวนบทเรียน
ลักษณะของภาษาระดับต่างๆ | 2293 views
ลักษณะของภาษาระดับต่างๆ | 80584 views