แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
16% Complete
27 of 50
ข้อที่ 27.

ข้อใดพูดโน้มน้าวใจให้เห็นถึง  "ความรัก ความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูกซึ่งหลงผิด"

เฉลย

ตอบ ข้อ 3 บทที่ ๓) และ บทที่  ๖)

อธิบาย  

"๓) พ่อคิดถึงและเป็นห่วงดวงใจพ่อ   ตั้งใจรอด้วยความหวังดังประสงค์

     ชีวิตพ่อเป็นเช่นไรไม่พะวง          ขอลูกจงได้ดีปัญญา "

และ

"๖) กลับใจเถิดลูกเอ๋ยอย่าเฉยนิ่ง   จงได้ทิ้งสิ่งทรามความบัดสี

     มาเป็นลูกสุดที่รักอีกสักที        ตัวพ่อนี้รอรับลูกกลับคืน "

เป็นการพูดโน้มน้าวใจให้เห็นถึง "ความรัก ความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูกซึ่งหลงผิด" เพราะ "พ่อ" ความหมายของคำนี้มาพร้อมกับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ที่จะปกป้องคุ้มครอง

"ลูก"  ผู้ที่ได้ชื่อว่า "พ่อ" ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใดมักจะคิดถึงและเป็นห่วง "ลูก" เสมอตั้งแต่เล็กจนโตไม่มีวันใดที่คนเป็น "พ่อ" จะทิ้งความรู้สึกและภาระหน้าที่ของตัวเองไปได้

เพราะนี่คือสัญชาตญาณที่ให้ "พ่อ" ได้ผูกพันและรักลูกโดยไร้เงื่อนไขใด ๆ แม้ลูกคนนั้นจะหลงผิดเหมือนเห็นกงจักรเป็นดอกบัวและยังทำให้เห็นความรักความห่วงใยของพ่อที่มี

ต่อลูกซึ่งหลงผิดได้ชัดเจนมากกระทบใจผู้อ่าน

ตัวลวง 

อธิบาย                  

ข้อ 1 บทที่ ๑) และ บทที่   ๒)

๑) ลูกเข้ามาเมืองกรุงมุ่งศึกษา    พ่อรู้ว่าลูกหวังเรียนเพียรฝึกฝน

    รับวิชาหาความรู้มาสู่ตน        ปัญญาชนคือความหวังลูกตั้งใจ      

๒) พ่อทำงานเหน็ดเหนื่อยเมื่อยทั่วร่าง     ทำทุกอย่างเพื่ออนาคตลูกสดใส

    มีความรู้มิด้อยน้อยกว่าใคร      จบแล้วไปทำงานบ้านป่าดง

ไม่ใช่การพูดโน้มน้าวใจให้เห็นถึง "ความรัก ความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูกซึ่งหลงผิด"  เพราะการพูดโน้มน้าวใจ  หมายถึง การพูดเพื่อชักชวนให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ หรือเห็นด้วย

ทั้งทางความคิดและการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดปรารถนาแต่ในบทประพันธ์ข้างต้นทั้ง ๒ บทยังไม่ได้บอกความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูกซึ่งหลงผิดอย่างเด่นชัดทำให้

สารของเรื่องนั้นขาดพลังไม่กระทบใจผู้อ่าน

ข้อ 2  บทที่ ๒) และ บทที่   ๔)

๒) พ่อทำงานเหน็ดเหนื่อยเมื่อยทั่วร่าง    ทำทุกอย่างเพื่ออนาคตลูกสดใส

    มีความรู้มิด้อยน้อยกว่าใคร     จบแล้วไปทำงานบ้านป่าดง

๔) จดหมายลูกถึงพ่อขอเงินใช้     พ่อส่งให้ทุกหนมิบ่นว่า

    แม้ไม่มีก็สู้กู้เขามา    ปรารถนาอนาคตลูกงดงาม

ไม่ใช่การพูดโน้มน้าวใจให้เห็นถึง "ความรัก ความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูกซึ่งหลงผิด" เพราะการพูดโน้มน้าวใจ หมายถึง การพูดเพื่อชักชวนให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ หรือเห็นด้วย

ทั้งทางความคิดและการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดปรารถนา แต่ในบทประพันธ์ข้างต้นทั้ง ๒ บทยังไม่ได้บอกความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูกซึ่งหลงผิดอย่างเด่นชัด

ทำให้สารของเรื่องนั้นขาดพลังไม่กระทบใจผู้อ่าน

ข้อ 4 บทที่ ๑) และ บทที่   ๕)

๔)  จดหมายลูกถึงพ่อขอเงินใช้     พ่อส่งให้ทุกหนมิบ่นว่า

     แม้ไม่มีก็สู้กู้เขามา      ปรารถนาอนาคตลูกงดงาม

๕)  แต่บัดนี้สิ่งถวิลสิ้นทุกอย่าง      ลูกหลงทางเข้าไปในขวากหนาม

    เห็นกงจักรเป็นดอกบัวมั่วสิ่งทราม    ยาเสพติดคุกคามลบความดี

ไม่ใช่การพูดโน้มน้าวใจให้เห็นถึง "ความรัก ความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูกซึ่งหลงผิด"  เพราะการพูดโน้มน้าวใจ  หมายถึง การพูดเพื่อชักชวนให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือหรือเห็น

ด้วยทั้งทางความคิดและการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดปรารถนา แต่ในบทประพันธ์ข้างต้นทั้ง ๒ บทยังไม่ได้บอกความห่วงใยของพ่อที่มีต่อลูกซึ่งหลงผิดอย่างเด่นชัด

ทำให้สารของเรื่องนั้นขาดพลังไม่กระทบใจผู้อ่าน