แนวข้อสอบ O-NET สังคมศึกษา ม.3
แนวข้อสอบ O-NET สังคมศึกษา ม.3
16% Complete
28 of 50
ข้อที่ 28.

การประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง เป็นลักษณะการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์รูปแบบใด

เฉลย

ตอบ ข้อ 4 การประเมินภายใน ถูกต้อง เพราะ การประเมินภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด

มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

ตัวลวง

ข้อ 1 การประเมินภายนอก: รูปเดิมของหลักฐาน ไม่ถูกต้อง รูปเดิมของหลักฐานจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักฐานเป็นจำนวนมากไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆกันมาจึง

เกิดความคลาดเคลื่อน เช่น หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มี

การชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

ข้อ 2 การประเมินภายใน: รูปเดิมของหลักฐาน ไม่ถูกต้อง การประเมินภายในไม่มีเรื่องรูปเดิมของหลักฐาน แต่เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ

ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

ข้อ 3 การประเมินภายนอกและการประเมินภายใน ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องการประเมินภายในเท่านั้น

ทบทวนบทเรียน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย | 3956 views