ข้อสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ มีนาคม 2554
ข้อสอบ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ มีนาคม 2554
19% Complete
77 of 103
ข้อที่ 77.

ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรใกล้ดาวอาทิตย์มากกว่าและน้อยกว่าโลกเรียกว่าดาวเคราะห์วงในและดาวเคราะห์วงนอกตามลำดับ ข้อใดถูก

เฉลย

ตอบ ข้อ 3. ดาวเคราะห์วงในจะปรากฏให้เห็นเป็นเสี้ยวเสมอ

ดาวเคราะห์วงใน หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์

ดาวเคราะห์วงนอก หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

ภาพแสดงตำแหน่งสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเทียบกับดวงอาทิตย์

ตำแหน่งดาวเคราะห์วงในเทียบกับดวงอาทิตย์

ดาวเคราะห์ตำแหน่งที่ 1 และตำแหน่งที่ 3 จะขึ้นและตกพร้อมกับดวงอาทิตย์พอดี ผู้สังเกตบนโลกจึงไม่สามารถสังเกตเห็น

ดาวเคราะห์ที่อยู่ตรง 2 ตำแหน่งนี้ได้ ดาวเคราะห์ตำแหน่งที่ 2 ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด (Great Eastern Elongation) เป็นตำแหน่งที่สามารถเห็นดาวเคราะห์วงในได้ชัดเจนที่สุดแต่เห็นเป็นเสี้ยวโดยจะเห็นดาวเคราะห์ขึ้นสู่ท้องฟ้าทางขอบฟ้าทิศตะวันตกในช่วงเวลาหัวค่ำ (ดาวศุกร์ = ดาวประจำเมือง) และตกลับทางขอบฟ้าทิศตะวันตก 

ดาวเคราะห์ตำแหน่งที่ 4 ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด (Great Western Elongation) เป็นตำแหน่งที่สามารถเห็นดาวเคราะห์วงในได้ชัดเจนที่สุด (เห็นเป็นเสี้ยว) โดยจะเห็นดาวเคราะห์ขึ้นสู่ท้องฟ้าและหายไปจากท้องฟ้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ในช่วงเวลาเช้ามืด (ดาวศุกร์ = ดาวประกายพรึก) แสดงว่าดาวเคราะห์วงในจะไม่สามารถเห็นได้ตลอดทั้งคืนจะเห็นได้เฉพาะบริเวณขอบฟ้าด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นและเห็นเป็นเสี้ยวเท่านั้น

ตำแหน่งดาวเคราะห์วงนอกเทียบกับดวงอาทิตย์

ดาวเคราะห์ตำแหน่ง A จะขึ้นและตกพร้อมกับดวงอาทิตย์ ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้

ดาวเคราะห์ตำแหน่ง B ซึ่งอยู่ตั้งฉากทางทิศตะวันออก (Eastern Quadrature) ที่ตำแหน่งนี้ดาวเคราะห์จะอยู่เหนือศีรษะผู้สังเกตในช่วงเวลาหัวค่ำและจะตกในเวลาเที่ยงคืนทางขอบฟ้าทิศตะวันตก (เห็นเป็นเสี้ยว)

ดาวเคราะห์ตำแหน่ง C เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Opposition) ที่ตำแหน่งนี้ดาวเคราะห์จะอยู่เหนือศีรษะของผู้สังเกต ทำให้สามารถสังเกตเห็นดาวเคราะห์ได้ชัดเจนตลอดทั้งคืน (เห็นเต็มดวง)

ดาวเคราะห์ตำแหน่ง D ซึ่งอยู่ตั้งฉากทางทิศตะวันตก (Western Quadrature) ดาวเคราะห์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในเวลาเที่ยงคืนและจะอยู่เหนือศีรษะผู้สังเกตในช่วงเวลาเช้ามืด (เห็นเป็นเสี้ยว)

อ้างอิงจาก : สรุปโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ (อัสสุมา สายนาคำ)