แบบฝึกผัด วิชาวิทยาศาสตร์ ม. 3 เรื่อง การประหยัดไฟ
แบบฝึกผัด วิชาวิทยาศาสตร์ ม. 3 เรื่อง การประหยัดไฟ
50% Complete
1 of 10
ข้อที่ 1.

โครงการประหยัดไฟ ผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทบ้านที่อยู่อาศัย ในเขตกฟน.และกฟภ.
(1.)เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ขนาดเล็ก ซึ่งมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน โดยมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น เช่น หลอดไฟ พัดลม โทรทัศน์ อื่นๆ
(2.)เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณการใช้จ่ายเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน โดยมีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง ตู้เย็นขนาดใหญ่ เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น อื่นๆ

การปฏิบัติการลดค่าไฟฟ้า...ทำเช่นนี้จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้*(ตัวอย่างการใช้อัตราค่าไฟฟ้าที่หน่วยละ 2.50 บาท)

โทรทัศน์
1. ลด..ละ...เลิก เช่น
1.1 เลิกเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดนไม่มีคนดู (เปิดทิ้งไว้วันละ 1 ช.ม. พร้อมกัน 1 ล้านเครื่อง 21 นิ้ว 110 วัตต์ สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าเดือนละ 8.25 ล้านบาท)
1.2 เลิกปรับจอภาพให้สว่างเกินความจำเป็นเพราะหลอดภาพจะมีการใช้งานสั้นและสิ้นเปลืองไฟ
1.3 เลิกปิดโทรทัศน์ด้วยตัวรีโมทคอนโทรล เพราะเปลืองไฟ ควรปิดสวิตช์ที่ตัวเครื่อง
1.4 เลิกเปิดโทรทัศน์โดยต่อสายผ่านเข้าเครื่องวีดีโอ เพราะต้องสิ้นเปลืองไฟฟ้าให้กับวีดีโอโดยไม่จำเป็น

2. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
2.1 เลือกซื้อโทรทัศน์ที่มีระบบตั้งเวลาปิดอัตโนมัติ จะช่วยประหยัดไฟสำหรับผู้ที่หลับหน้าโทรทัศน์หรือลืมปิดเครื่อง
2.2 โทรทัศน์ที่มีระบบรีโมทคอนโทรล จะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่วไปเพราะมีวงจรเพิ่มและกินไฟตลอดเวลาเมื่อยังเสียบปลั๊กอยู่แม้ว่าจะไม่ใช้เครื่อง

ตู้เย็น
1. ลด..ละ..เลิก
1.1 เลิกนำอาหารที่ร้อนหรือยังอุ่นแช่ในตู้เย็น และลดการเปิดตู้เย็นโดยไม่จำเป็น
1.2 เลิกเปิดประตูตู้เย็นค้างไว้เป็นเวลานานและไม่แช่ของจนแน่นเกินไป

2. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
2.1 เลือกตู้เย็นที่ได้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ใหม่ ซึ่งประหยัดได้มากกว่าเบอร์ 5 เดิมประมาณร้อยละ 20 และตู้เย็นชนิดกดปุ่มละลายน้ำแข็งกินไฟน้อยกว่าชนิดละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ(No Forst)
2.2 ตรวจสอบยางขอบประตูตู้เย็นโดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยางแล้วปิดประตู ถ้าสามารถเลื่อนกระดาษขึ้นลงได้แสดงว่าขอบยางเสื่อมควรเปลี่ยนใหม่ เพราะคอมเพรสเซอร์ทำงานหนักสิ้นเปลืองไฟ

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
1. ลด..ละ..เลิก
1.1 หุงข้าวให้พอดีกับจำนวนคน
1.2 เลิกเปิดฝาหม้อขณะที่ฝาหม้อยังไม่สุก
1.3 ถอดปลั๊กออกทันทีที่เลิกใชงาน

2. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
2.1 เลือกขนาดหม้อหุงข้าวให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว
ถ้าจำนวนสมาชิก 1-2 คน ใช้ขนาด 0.3-1 ลิตร
ถ้าจำนวนสมาชิก 3-6 คนใช้ขนาด 1-1.5 ลิตร
ถ้าจำนวนสมาชิก 5-8 คนใช้ขนาด 1.6-2 ลิตร

3. การดูแลรักษาและใช้อย่างถูกวิธี
3.1 หากเสียบปลั๊กอยู่ อย่ากดสวิตช์ปิด-เปิดขนะที่ไม่มีหม้อชั้นใน
3.2 ก่อนวางตัวหม้อชั้นในให้ตรวจดูว่าไม่มีวัสดุอื่นหรือเศษผงที่ด้านในของตัวหม้อชั้นนอก เพราะอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และถ่ายเทความร้อนไม่ดี

จากบทความข้างต้น ขนาดหม้อ 1.6-2 ลิตร ใช้จำนวนสมาชิกกี่คน