แนวข้อสอบ A-level ภาษาไทย ม. 6 ชุดที่ 1
แนวข้อสอบ A-level ภาษาไทย ม. 6 ชุดที่ 1
98% Complete
79 of 90
ข้อที่ 79.

ข้อใดไม่ใช่ข้อคิดของคำประพันธ์ต่อไปนี้

         บัณฑิตวินิจแล้ว       แถลงสาร  สอนเอย
ทศนฤทุมนาการ               ชื่อชี้
เหตุผลประพฤติปาน          ดังกล่าว  นั้นนอ
โทมนัสเพราะกิจนี้             ห่อนได้เคยมี
        เหินห่างโมหะร้อน     ริษยา
สละส่อเสียดมารษา           ใส่ร้าย
คำหยาบจาบจ้วงอา-          ฆาตขู่  เข็ญเฮย
ไป่หมิ่นนินทาบ้าย             โทษให้ผู้ใด

เฉลย

เฉลย    ตอบ ข้อ ๔.

    โคลงสี่สุภาพบทที่ ๑ มีเนื้อความว่า ผู้เป็นบัณฑิตพินิจคำสอนต่าง ๆ แล้วกล่าวว่า ผู้ใดประพฤติตามคำสอนเหล่านี้แล้วย่อไม่เกิดความเสียใจ โดยโคลงบทที่ ๒ มีคำสอนที่เป็นข้อคิดดังนี้

    บาทที่ ๑ “เหินห่างโมหะร้อน  ริษยา” หมายถึง ไม่หลงผิดคิดเดือดเนื้อร้อนใจเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี

    บาทที่ ๒ “สละส่อเสียดมารษา  ใส่ร้าย” หมายถึง ไม่กล่าววาจาส่อเสียด คำปด คำเท็จ คำไม่จริง เพื่อใส่ร้ายผู้อื่นจนเกิดการแตกแยกกัน

    บาทที่ ๓ “คำหยาบจาบจ้วงอา- ฆาตขู่  เข็ญเฮย” หมายถึง กล่าวแต่วาจาสุภาพ ไม่ล่วงเกินผู้อื่นด้วยวาจา ไม่ขู่อาฆาตผู้อื่น

    บาทที่ ๔ “ไป่หมิ่นนินทาบ้าย  โทษให้ผู้ใด” หมายถึง ไม่ดูถูกเหยียดหยาม กล่าวคำติเตียนผู้อื่นลับหลัง ไม่ซัดความผิดให้ผู้อื่น

 

ตัวเลือกที่ ๑.    ผิด เพราะ “ไม่กล่าวซัดโทษให้ผู้อื่น” เป็นข้อคิดที่ได้จากคำประพันธ์นี้

ตัวเลือกที่ ๒.    ผิด เพราะ “ไม่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยก” เป็นข้อคิดที่ได้จากคำประพันธ์นี้

ตัวเลือกที่ ๓.    ผิด เพราะ “ไม่กล่าวติเตียนผู้อื่นลับหลัง” เป็นข้อคิดที่ได้จากคำประพันธ์นี้

ตัวเลือกที่ ๔.    ถูก เพราะ “ไม่กล่าวคำสรรเสริญที่ไม่จริงใจ” ไม่ใช่ข้อคิดที่ได้จากคำประพันธ์นี้

ตัวเลือกที่ ๕.    ผิด เพราะ “ไม่เดือดเนื้อร้อนใจเมื่อผู้อื่นได้ดี” เป็นข้อคิดที่ได้จากคำประพันธ์นี้