แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ป.6 ชุดที่ 2
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ป.6 ชุดที่ 2
34% Complete
26 of 0
ข้อที่ 26.

จงใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๒๖

คำพูดจาปราศรัยกับใครนั้นจงเชื่อมั่นมีสติคิดไตร่ตรองเพราะหากพรั้งคำไปให้ใจหมองเราจะต้องเสียใจไปอีกนาน

 

ข้อความข้างต้น หากจัดวรรคตอนให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ จะเป็นคำประพันธ์ประเภทใด

เฉลย

ตอบข้อ ๓. กลอน ๘

                        คำพูดจาปราศรัยกับใครนั้น          จงเชื่อมั่นมีสติคิดไตร่ตรอง

                เพราะหากพรั้งคำไปให้ใจหมอง                    เราจะต้องเสียใจไปอีกนาน

              กลอนแปดเป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มี  ความเรียบ เรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ

 

        ลักษณะคำประพันธ์กลอนแปด

                        ๑.  บทหนึ่งมี ๔ วรรค

        วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ  วรรคที่สองเรียกวรรครับ  วรรคที่สามเรียกวรรครอง  วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด

           ๒.  สัมผัส

            ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้

               คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)

               คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สาม หรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)

            ข. สัมผัสระหว่างบทของกลอนแปด คือคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

            ค. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้

           หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม

ทบทวนบทเรียน