แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ป.6 ชุดที่ 1
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ป.6 ชุดที่ 1
28% Complete
18 of 32
ข้อที่ 18.

คำว่า “ขึ้น” ในข้อใดไม่ใช่คำกริยา

เฉลย

เฉลย ตอบข้อ ๔. สถานที่ราชการเลื่อนเวลาเปิดทำการให้เร็วขึ้น ๒ ชั่วโมง คำว่า “ขึ้น” ทำหน้าที่เป็นคำ  วิเศษณ์

        คำวิเศษณ์  หมายถึง คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม  สรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น ซึ่งคำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด ดังนี้

        ๑.  ลักษณะวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่าง ๆ เช่น  บอกชนิด  สี  ขนาด  สัณฐาน  เป็นต้น

        ๒.  กาลวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา  เช่น  เช้า  สาย  บ่าย  เป็นต้น

        ๓.  สถานวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่  เช่น  ใกล้  ไกล  บน  เป็นต้น

        ๔.  ประมาณวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ  เช่น  หนึ่ง  มาก  น้อย  เป็น

        ๕.  ประติเษธวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิ เป็นต้น 

        ๖.  ประติชญาวิเศษณ์  คือ  คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ค่ะ เป็นต้น

        ๗.  นิยมวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี้ นั่น โน่น เป็นต้น

        ๘.  อนิยมวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่น ไหน เป็นต้น

        ๙. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย เช่น  ใด ไร  เป็นต้น 

        ๑๐.  ประพันธวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นคำว่า ที่ ซึ่ง  เป็นต้น

        คำกริยา หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อให้ได้ความ ซึ่งคำกริยาแบ่งเป็น ๕ ชนิดดังนี้

        ๑.  อกรรมกริยา  คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เข้าใจได้ 

        ๒.  สกรรมกริยา  คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง

        ๓.  วิกตรรถกริยา  คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง  ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ

        ๔.  กริยานุเคราะห์  คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น 

        ๕.  กริยาสภาวมาลา  คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนามจะเป็นประธาน  กรรม  หรือบทขยายของประโยคก็ได้

ดังนั้นข้อ ๑. คุณแม่ขึ้นรถโดยสารประจำทาง“ขึ้น”เป็นคำกริยา

ข้อ ๒. วันนี้น้ำขึ้นถึงบันไดของท่าน้ำหลังบ้าน  “ขึ้น” เป็นคำกริยา

ข้อ ๓. ขนมปังชิ้นนั้นขึ้นราแล้ว เธอห้ามกินนะ  “ขึ้น” เป็นคำกริยา

ทบทวนบทเรียน
ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค | 2652 views