แนวข้อสอบ A-level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ม. 6 ชุดที่ 3
แนวข้อสอบ A-level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ม. 6 ชุดที่ 3
48% Complete
55 of 58
ข้อที่ 55.

กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นกังหันน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชนทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร

การทำงาน
ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก จุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดี และบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด

กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในอากาศสามารถละลายผสมผสานเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็วทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสียซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น

การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่าง ๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

จากข้อมูลข้างต้น ข้อสรุปต่อไปนี้ถูกต้องหรือไม่

เฉลย

ตอบ 4) ไม่ใช่ / ใช่ / ไม่ใช่

55.1 ไม่ใช่ เนื่องจากหากยิ่งเพิ่มปริมาณออกซิเจน ก็จะยิ่งทำให้การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้น
55.2 ใช่ เนื่องจากการขุดขยายบ่อน้ำช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสที่ส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้ดียิ่งขึ้น และทำให้การบำบัดน้ำเสียมีคุณภาพมากขึ้น
55.3 ไม่ใช่ เนื่องจากค่า BOD (Biochemical Oxygen demand) คือ ปริมาณ O2 ที่จุลินทรีย์ใช้ในการสลายสารอินทรีย์ในน้ำ

น้ำที่มี BOD ณ 100 เป็นน้ำเสีย และถ้าน้ำมีค่า BOD < 100 mg/l เป็นน้ำดี
น้ำที่มี BOD สูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์อยู่มาก จุลินทรีย์จึงต้องใช้ O2 เพื่อสลายสารอินทรีย์ เหล่านั้น
น้ำที่มี BOD ต่ำ แสดงว่ามีสารอินทรีย์อยู่น้อย จุลินทรีย์จึงต้องใช้ O2 เพื่อสลายสารอินทรีย์ เหล่านั้น