แนวข้อสอบ O-NET วิทยาศาสตร์ ม. 3 ชุดที่ 3
แนวข้อสอบ O-NET วิทยาศาสตร์ ม. 3 ชุดที่ 3
27% Complete
17 of 45
ข้อที่ 17.

เตรียมสารละลายแมกนีเซียมซัลเฟต โดยวิธีการเตรียมสารละลายแตกต่างกันดังนี้
•    สารละลาย A : นำแมกนีเซียมซัลเฟต จำนวน 60 กรัม ใส่ลงในบีกเกอร์ขนาด 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร และเติมน้ำจนสารละลายมีปริมาตร 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
•    สารละลาย B : นำสารผสมระหว่างน้ำกับแมกนีเซียมซัลเฟต ซึ่งมีแมกนีเซียมซัลเฟตผสมอยู่ร้อยละ 20 โดยมวล มาจำนวน 200 กรัม ใส่ลงในบีกเกอร์ขนาด 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร และเติมน้ำจนสารละลายมีปริมาตร 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร


จากข้อมูล สารละลายผสมระหว่างสารละลาย A และสารละลาย B ในข้อใดมีปริมาณแมกนีเซียมซัลเฟตมากที่สุด

เฉลย

คำตอบ ข้อ 4)

เนื่องจาก จากข้อมูล พบว่า
    ความเข้มข้นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตรของสารละลาย A คือ (60/500)x100 = 12
    ปริมาณแมกนีเซียมซัลเฟตที่ผสมอยู่ร้อยละ 20 โดยมวล จำนวน 200 กรัม คือ (20x200)/100 = 40 กรัม เมื่อนำมาคำนวณหาความเข้มข้นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตรของสารละลาย B คือ (40/250)x100 = 16
    

จากข้อมูลนำมาคำนวณหาปริมาณแมกนีเซียมซัลเฟตของสารละลายผสมได้ เช่น นำสารละลาย A ปริมาตร 200 cm3 ผสมกับสารละลาย B ปริมาตร 50 cm3
    ปริมาณแมกนีเซียมซัลเฟตในสารละลาย A 200 cm3 = (12x200)/100 = 24 กรัม
    ปริมาณแมกนีเซียมซัลเฟตในสารละลาย B 50 cm3 = (16x50)/100 = 8 กรัม

 

รวมแล้ว สารละลายผสมระหว่างสารละลาย A ปริมาตร 200 cm3 ผสมกับสารละลาย B ปริมาตร 50 cm3 มีแมกนีเซียมซัลเฟต 32 กรัม
 

ดังนั้น จากการคำนวณพบว่า รวมแล้ว สารละลายผสมระหว่างสารละลาย A ปริมาตร 50 cm3 ผสมกับสารละลาย B ปริมาตร 200 cm3 มีแมกนีเซียมซัลเฟตมากที่สุด

 

ทบทวนบทเรียน
ความเข้มข้นของสารละลาย | 148512 views
ความเข้มข้นของสารละลาย | 124658 views