แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
แนวข้อสอบ O-NET ภาษาไทย ม.3
16% Complete
41 of 50
ข้อที่ 41.

ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง

๑.หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคลพระราชสมภพเมื่อวันที่  ๒๒  มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐

๒.เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

๓.วันที่ ๑๓  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครบ ๑ ปี

๔.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชบัณฑูรสั่ง สถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็น สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 

๕.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสุรินทร์ ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

เฉลย

ตอบ ข้อ 3 ข้อที่ ๓ และข้อที่  ๕

อธิบาย                  

ข้อที่ ๓  “วันที่ ๑๓  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครบ ๑ ปี” มีการใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง คือคำว่า

เสด็จสวรรคตเป็นคำกริยาแปลว่า ตาย ซึ่งเป็นคำราชาศัพท์ที่ใช้ถูกต้องกับชั้นบุคคลพระมหากษัตริย์

ข้อที่ ๕  “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ

จังหวัดสุรินทร์ ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์” มีการใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง คือคำว่าเสด็จพระราชดำเนินไป,ทอดพระเนตรเสด็จพระราชดำเนิน มีความหมาย

ของคำว่า "เดินทาง"  มิได้มีความหมายว่า ไป ด้วยเหตุนี้ราชาศัพท์ของ "เดินทางไป" ที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงใช้

ว่า "เสด็จพระราชดำเนินไป" และหาก "เดินทางกลับ" ใช้ราชาศัพท์ว่า "เสด็จพระราชดำเนินกลับ" หากเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าลงมาจนถึงหม่อมเจ้า "เดินทางไป", "เดินทางกลับ"

ราชาศัพท์ใช้ว่า "เสด็จไป", "เสด็จกลับ" ตามลำดับทอดพระเนตร แปลว่า ดูใช้แก่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า

ตัวลวง

อธิบาย                  

ข้อ 1  “หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม  พ.ศ.๒๔๙๐”  มีการใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้องเพราะพระราชสมภพเป็นคำราชาศัพท์ แปลว่า วันเกิด ใช้กับ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะใช้ว่า "พระราชสมภพ" ส่วน

พระราชวงศ์ทั่วไปใช้คำว่า ประสูติ ดังนั้นควรแก้ไขเป็น “หม่อมเจ้าจุลเจิม  ยุคล ประสูติเมื่อวันที่ ๒๒  มกราคม  พ.ศ.๒๔๙๐”

ข้อ 2 “เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระราชนิพนธ์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” มีการใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง เพราะ พระราชนิพนธ์ เป็นคำราชาศัพท์

หมายถึง ผลงานประพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่ทรงแต่งหรือเขียนขึ้นเอง ทรงแปลจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศหรือทรงแต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลง

คำประพันธ์ ฯลฯ ราชาศัพท์ใช้ว่าพระราชนิพนธ์ซึ่งคำว่าพระราชนิพนธ์ยังใช้แก่ผลงานประพันธ์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช-

สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยหากเป็นผลงานประพันธ์ของพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า

ราชาศัพท์ใช้ว่าพระนิพนธ์และหากเป็นผลงานประพันธ์ของพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าใช้อย่างคำสามัญว่านิพนธ์  ดังนั้นควรแก้ไขเป็น “เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเป็นพระนิพนธ์ของ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ”

ข้อ 4 “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชบัณฑูรสั่ง สถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหา-

สีมาราม ราชวรวิหารเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๒๐แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” มีการใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง เพราะพระราชบัณฑูรเป็นคำราชาศัพท์ หมายถึง คำสั่ง ,สั่ง ใช้กับ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเท่านั้น ดังนั้นควรแก้ไขเป็น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระบรมราชโองการ สถาปนา

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหารเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๒๐แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ”

ทบทวนบทเรียน
การใช้คำนามราชาศัพท์ พระบรมราช พระบรม พระราช พระ | 2446 views
การใช้คำนามราชาศัพท์ พระบรมราช พระบรม พระราช พระ | 22187 views
การใช้คำนามราชาศัพท์ พระบรมราช พระบรม พระราช พระ | 127223 views
การใช้คำนามราชาศัพท์ พระบรมราช พระบรม พระราช พระ | 1433 views
การใช้คำนามราชาศัพท์ พระบรมราช พระบรม พระราช พระ | 1259 views
ข้อสังเกตในการใช้คำราชาศัพท์ | 2446 views
ข้อสังเกตในการใช้คำราชาศัพท์ | 22187 views
ข้อสังเกตในการใช้คำราชาศัพท์ | 127223 views
ข้อสังเกตในการใช้คำราชาศัพท์ | 1433 views
ข้อสังเกตในการใช้คำราชาศัพท์ | 1259 views
ข้อสังเกตในการใช้คำราชาศัพท์ | 14682 views
ข้อสังเกตในการใช้คำราชาศัพท์ | 18495 views