แนวข้อสอบ O-NET วิชาศิลปะ(2553) ชุดที่1
แนวข้อสอบ O-NET วิชาศิลปะ(2553) ชุดที่1
41% Complete
7 of 17
ข้อที่ 7.

อ่านข้อความต่อไปนี้ และตอบคำถามข้อ 7-10
"การ์ตูนกับสังคมไทย"
     การ์ตูนเป็นศิลปะการวาดภาพอย่างหนึ่งที่ช่วงส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การจินตนาการแฝงด้วยอารมณ์สนุกสนาน นักเขียนการ์ตูนจึงต้องมีจิตวิทยาในการนำเสนอเนื้อหาและรูปแบบที่เรียบง่าย ตลกขบขัน น่าสนใจ
     โดยวาดภาพอย่างง่ายๆ ที่เน้นลีลาของเส้น-สี มีลักษณะไม่เหมือนจริง อาจจะเกินความจริงหรือน้อยกว่าความเป็นจริง โดยการลดตัดทอนหรือเพิ่มเติมเพื่อแสดงออกให้เกิดความตลกขบขัน ล้อเลียน เสียดสี ที่สอดแทรก เรื่องราว วิถีชีวิตหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
     ปัจจุบันการ์ตูนไทยที่ถือได้ว่าครองใจคนทุกเพศทุกวัยอันดับหนึ่งคือ ขายหัวเราะ มหาสนุก ซึ่งเป็นการ์ตูนแนวเรื่องสั้น นอกจากนี้ยังมีการ์ตูนประเภทล้อเลียนการเมือง เขียนโดยชัย ราชวัตร
     การ์ตูนมีหลายประเภท ดังนี้
          1. การ์ตูนการเมืองเป็นการ์ตูนที่มุ่งล้อเลียน เสียดสี ประชดประชันบุคคลหรือเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความคิดเห็นใหม่ๆ อาจมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ โดยนำเสนอภาพเป็นช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้
          2. การ์ตูนขบขัน เป็นการ์ตูนที่เน้นความตลกขบขันเป็นหลัก ที่เก็บเนื้อเรื่องมาจากวิถีชีวิตหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
          3. การ์ตูนเรื่องราว เป็นการ์ตูนที่นำเสนอเรื่องราวที่มีความต่อเนื่องกันจนจบ มีคำบรรยายบทสนทนาภายในภาพ สำหรับการ์ตูนไทยที่นิยมเขียนจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดี นิยายพื้นบ้านเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ
          4. การ์ตูนประกอบเรื่องเป็นการ์ตูนที่เขียนเพื่อสื่อสารประกอบข้อความ หรืออธิบายข้อความให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ เช่น การ์ตูนโฆษณา การ์ตูนประกอบสื่อการศึกษา
          5. การ์ตูนมีชีวิต หรือภาพยนตร์การ์ตูน มีการลำดับภาพและเรื่องราวต่อเนื่องคล้ายกับภาพนักแสดงที่เป็นคนในภาพยนตร์ หรือใช้แสดงประกอบกับนักแสดงที่เป็นคนในภาพยนตร์
     การเขียนการ์ตูนที่ดีควรมีการสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกในเชิงตลกขบขัน มีรูปแบบที่เรียบง่ายด้วยลีลาของเส้น สี รูปร่าง มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ผู้เริ่มฝึกเขียนการ์ตูนจึงควรมีทักษะ ดังนี้
          1. ฝึกเขียนลีลาของเส้นในลักษณะต่างๆ เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นอิสระ
          2. เขียนภาพวัตถุ สิ่งของ ภาพคน ภาพสัตว์ หรือภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำมาเขียนภาพการ์ตูน
          3. ฝึกการเขียนรูปแบบจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัวในเชิงลดตัดทอน หรือเพิ่มเติมรูปแบบให้เรียบง่ายในลักษณะคล้ายจริง เกินความจริง น้อยกว่าความจริง เป็นต้น
          4. ศึกษาแนวหรือประเภทการ์ตูนที่ชื่นชอบ เช่น การ์ตูนล้อการเมือง การ์ตูนขบขัน การ์ตูนประกอบเรื่อง เป็นต้น
          5. พล็อตเรื่องที่จะวาดเริ่มจาก THEME แล้วแบ่งเรื่องเป็นตอนใน (Story board)
          6. ร่างภาพจากแนวคิดจินตนาการ
          7. ตัดเส้น ลงสี เก็บรายละเอียด

ทัศนธาตุใดที่ต้องฝึกฝนเพื่อเป็นพื้นฐานในการวาดภาพการ์ตูน