บางสิ่งบางอย่างเราอาจคิดว่าเป็นสิ่งเดียวกันใช้ลักษณนามเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วบางครั้งก็ใช้ลักษณนามต่างกัน
คำบางคำเราสังเกตจากลักษณนามที่ใช้ ก็จะทำให้รู้คำนามคำนั้นได้เช่นกัน
เรามาดูกันนะคะว่ามีคำไหนบ้าง
กระจก กระจกเงา
|
ใช้ลักษณนามว่า แผ่น ใช้ลักษณนามว่า บาน
|
กระจับ (ขวาก) กระจับ (เครื่องแขวนเหนือเปลเด็ก) กระจับ (เครื่องสวมข้อตีนม้า) กระจับ (นักมวย) กระจับ (ฝักของไม้น้ำชนิดหนึ่ง) กระจับ (สำหรับยันคางศพโกศ)
|
ใช้ลักษณนามว่า อัน ใช้ลักษณนามว่า ตัว; พวง ใช้ลักษณนามว่า วง; คู่ ใช้ลักษณนามว่า อัน ใช้ลักษณนามว่า ตัว, ฝัก ใช้ลักษณนามว่า อัน
|
เข็ม (เครื่องมือสำหรับเย็บ ปักถัก ร้อย) เข็มกลัด (เครื่องประดับ) เข็มกลัด, เข็มซ่อนปลาย
|
ใช้ลักษณนามว่า เล่ม ใช้ลักษณนามว่า อัน ใช้ลักษณนามว่า ตัว
|
ช้าง (ช้างขึ้นระวาง) ช้าง (ช้างบ้าน) ช้าง (ช้างป่า)
|
ใช้ลักษณนามว่า ช้าง ใช้ลักษณนามว่า เชือก ใช้ลักษณนามว่า ตัว
|
ทาง ทางด่วน ทางเท้า ทางม้าลาย ทางหลวง
|
ใช้ลักษณนามว่า ทาง, สาย, เส้น ใช้ลักษณนามว่า สาย ใช้ลักษณนามว่า ทาง ใช้ลักษณนามว่า แห่ง ใช้ลักษณนามว่า สาย
|
ธง (ธงกระดาษ) ธง (ผืนธง) ธง (มีคัน)
|
ใช้ลักษณนามว่า ธง ใช้ลักษณนามว่า ผืน ใช้ลักษณนามว่า คัน
|
บันได, กระได บันไดแก้ว, กระไดแก้ว บันไดลิง, กระไดลิง บันไดเลื่อน
|
ใช้ลักษณนามว่า อัน; แห่ง ใช้ลักษณนามว่า ตัว ใช้ลักษณนามว่า อัน, สาย ใช้ลักษณนามว่า ตัว; แห่ง
|
ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำมัน ปั๊มลม
|
ใช้ลักษณนามว่า ตัว ใช้ลักษณนามว่า ปั๊ม ใช้ลักษณนามว่า ตัว
|
พระพุทธบาท พระพุทธปฏิมา, พระพุทธปฏิมากร พระพุทธรูป พระสงฆ์ เณร, สามเณร
|
ใช้ลักษณนามว่า รอย, องค์ ใช้ลักษณนามว่า องค์ ใช้ลักษณนามว่า องค์ ใช้ลักษณนามว่า รูป, องค์ ใช้ลักษณนามว่า รูป
|
มงกุฎ (นางงาม) มงกุฎ (สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน) มงกุฎ (หัวโขน, ละคร)
|
ใช้ลักษณนามว่า มงกุฎ ใช้ลักษณนามว่า องค์ ใช้ลักษณนามว่า ศีรษะ, หัว
|
ไม้กระดก, กระดานหก ไม้กระดาน, กระดาน
|
ใช้ลักษณนามว่า ชุด ใช้ลักษณนามว่า แผ่น
|
หนังสือ หนังสือ (จดหมาย) หนังสือ (ราชการ) หนังสือเดินทาง หนังสือพิมพ์ หนังสือเวียน, จดหมายเวียน
|
ใช้ลักษณนามว่า เล่ม ใช้ลักษณนามว่า ฉบับ ใช้ลักษณนามว่า ฉบับ ใช้ลักษณนามว่า ฉบับ, เล่ม ใช้ลักษณนามว่า ฉบับ ใช้ลักษณนามว่า ฉบับ; แผ่น
|
หอไตร หอประชุม หอพัก หอศิลป์ หอสมุด
|
ใช้ลักษณนามว่า หลัง ใช้ลักษณนามว่า หลัง ใช้ลักษณนามว่า หอ, หลัง ใช้ลักษณนามว่า แห่ง ใช้ลักษณนามว่า แห่ง
|
ห้าง (กระท่อมที่ทำไว้เฝ้านาเฝ้าสวน) ห้าง (สถานที่จำหน่ายสินค้า) ห้าง (สำหรับนั่งดักยิงสัตว์)
|
ใช้ลักษณนามว่า หลัง ใช้ลักษณนามว่า ห้าง ใช้ลักษณนามว่า ห้าง
|
หางปลา (ตัวไม้รูปสามเหลี่ยมสำหรับยึดตงกับรอดเป็นต้น) หางปลา (พลั่วชนิดหนึ่ง) หางปลา, สัญญาณหางปลา (เครื่องหมายสัญญาณตั้งอยู่บนเสาให้รถไฟแล่นเข้าออกได้)
|
ใช้ลักษณนามว่า ตัว ใช้ลักษณนามว่า ด้าม, เล่ม, อัน ใช้ลักษณนามว่า ต้น
|
แหวน (เครื่องประดับสำหรับสวมนิ้ว) แหวน (โลหะหรือแผ่นหนังเป็นต้นที่ทำสำหรับรอง เพื่อกันสึกหรอหรือให้กระชับแน่น)
|
ใช้ลักษณนามว่า วง ใช้ลักษณนามว่า ตัว, อัน
|
ไหล่เขา ไหล่ถนน, ไหล่ทาง
|
ใช้ลักษณนามว่า แห่ง ใช้ลักษณนามว่า ข้าง
|
อัฒจันทร์, อรรธจันทร์ (ชั้นวางของ) อัฒจันทร์, อรรธจันทร์ (ที่ตั้งพระพุทธรูปสำหรับบูชา) อัฒจันทร์, อรรธจันทร์ (ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สำหรับดูการแสดง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม) อัฒจันทร์, อรรธจันทร์ (บันไดพระราชวังหรือปราสาทหิน)
|
ใช้ลักษณนามว่า อัน ใช้ลักษณนามว่า หลัง ใช้ลักษณนามว่า อัฒจันทร์, อรรธจันทร์
ใช้ลักษณนามว่า แห่ง; ด้าน
|
อินทรธนู (เครื่องประดับบ่า) อินทรธนู (ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก)
|
ใช้ลักษณนามว่า แผง, อัน ใช้ลักษณนามว่า ช่อ
|
ข้อมูลอ้างอิง: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา