|
||||
![]() |
||||
|
![]() |
||
|
||
|
||
|
||
|
||
|
![]() |
![]()
Log in
| วันอังคารที่ 19 ก.พ. 2562 | 19:42 น.
|
![]() |
ธรรมะใกล้มือ | บันทึกความดี | ธรรมะวิดีโอ | |
ธรรมะใกล้ตัว | บทความธรรมะ | วันสำคัญต่าง ๆ | ศาสนพิธี | ปุจฉา-วิสัชนา | |
ธรรมะใกล้ใจ | ฟังเสียงสวดมนต์ | ธรรมเทศนา | เพลงธรรม | นิทานธรรม | ไฮไลท์สามเณร | |
ธรรมะใกล้บ้าน | สถานที่ปฏิบัติธรรม | ทำเนียบวัด | ข่าวและกิจกรรมธรรมะ |
![]() |
|
![]() |
|||
วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา มุ่งมั่นทำความดีโพส : วันที่ 18 ก.ค. 2556 เวลา : 14:01 น.
โหวต :
![]()
วันอาสาฬหบูชา สำคัญอย่างไร ? วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือ วันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ เป็นวันสำคัญที่มีผลต่อการสืบทอดพระพุทธศาสนาถึงปัจจุบัน เพราะไม่ง่ายที่จะเกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้พร้อมกันในวันเดียว - "ปฐมเทศนา" เป็นวันแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา วันเข้าพรรษา สำคัญอย่างไร ? วันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี (หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา เป็นโอกาสดีที่ชาวพุทธจะถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน ทำทาน ถือศีล ภาวนา รวมถึงมุ่งมั่นทำดีแบบเข้มข้น เลือกทำดีที่ทำได้ทุกวันอย่างต่อเนื่องเพื่อขัดเกลากิเลสตนเอง ตลอดช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ทรูปลูกปัญญาขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมบำเพ็ญความดี ลด ละ เลิกอบายมุขเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาพาครอบครัวเข้าวัด ร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัวกันค่ะ - ทำบุญตักบาตร ปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลได้ประกาศกำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” ของทุกปี เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ”ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยให้เริ่มต้นใช้บังคับในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551(วันเข้าพรรษาของปีนั้น)
|
|||||
![]() |
![]() |