Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
วิธีแก้ปัญหา ฉบับไอน์สไตน์

  Favorite

           ใครอยากเก่งแบบ “ไอน์สไตน์” มาลองศึกษาวิธีแก้ปัญหาแค่ 4 วิธีสั้น ๆ ที่สามารถนำกลับไปใช้ได้กับทุกสถานการณ์ในชีวิต ทั้งวัยเรียน, วัยทำงาน สามารถใช้เทคนิคสุดเจ๋งของไอน์สไตน์ กลับไปแก้ปัญหาและพัฒนาตัวเองได้เลย

 

4 วิธีแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์ ฉบับไอน์สไตน์

 

1. ระบุปัญหาให้ถูก

           เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม ตั้งเพื่ออะไร ตั้งเพื่อนำทักษะจากการสังเกต ความใส่ใจ และสติ มาวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหาให้เจอ ตั้งคำถามว่าเรามีปัญหาอะไรอยู่ ? การตั้งคำถามที่ดีควรเป็นคำถามปลายเปิด เพื่อเปิดกว้างให้กับวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลาย

 

2. พับรูปแบบการคิดแบบเดิม ๆ เอาไว้ก่อน

           วิธีการคิดแบบไอน์สไตน์ คือ การเปิดกว้างให้กับทุกไอเดีย โดยไม่จำกัดตัวเองให้คิดอะไรอยู่ในกรอบหรือรูปแบบเดิม ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดข้อสงสัย และได้คิดหลายมุมมอง เป็นอีกหนึ่งการเปิดรับไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา เพราะทุกอย่างไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากสิ่งที่เกี่ยวข้องกันไปหมด วิธีคิดในขั้นตอนนี้ของไอน์สไตน์ ต้องปล่อยให้สมองได้คิด โดยไม่จำเป็นต้องใช้เหตุผลมากเกินไป พอก่อน เก็บกรอบความคิดเดิม ๆ เอาไว้ก่อน เพราะการยึดหลักการและเหตุผลที่มีมากไป ก็ปิดกั้นเรา จากไอเดียใหม่ที่จะเข้ามา

 

3. ลองแหกกฎ ออกนอกกรอบ

          อะไรที่อยู่ในกรอบ ในความจำเจหรือวิธีการเดิม อาจำใช้ไม่ได้ผลทุกครั้ง ลองปรับวิธีคิดมองนอกกรอบดูบ้าง อาจจะเจอเทคนิคดี ๆ ในการเรียน การทำงาน และการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้คือ ให้เราลิสต์ข้อจำกัดของตัวเองออกมาเป็นข้อ ๆ อะไรบ้างที่ดูเหมือนเราจะทำไม่ได้ สิ่งที่รู้สึกว่าทำไม่ได้ อาจเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก

          ตัวอย่างเช่น หากมีปัญหาเรื่องงบ ในการทำงาน หรือการเรียนที่จำกัด วิธีคิดของไอน์สไตน์ในข้อนี้คือ ให้เราหยุดโฟกัสเรื่อง งบไม่พอกับความต้องการ แต่ให้กลับความคิดใหม่เป็น เรามีงบอยู่ในมือแล้ว จะทำอะไรได้บ้าง เช่น งบในจำนวนเท่านี้ ใช้ลุงทุนทำงาน หรือเลือกเรียนอะไรได้บ้าง จากปัญหาที่ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็จะเริ่มมองเห็นแนวทางได้

          นอกจากนี้ยังสามารถ เอาปัญหามาตั้งคำถามได้ ดังตัวอย่างในขั้นตอนที่ 1 คือ ระบุปัญหาให้ถูก หากมีงบจำกัด อยากเรียนหรือทำงานที่ตั้งเป้าไว้ ต้องทำอย่างไร อะไรที่จะเป็นช่องทางให้ได้งบมาเสริมบ้าง เช่น ขาดงบ แต่อยากเรียนต่อมหาวิทยาลัยจะทำอย่างไร วิธีคิดนี้จะส่งผลให้เรา มองหาช่องทางที่จะได้เงินมาเรียนต่อ อย่างทุนสนับสนุนการศึกษาต่าง ๆ ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาที่เราเจออยู่ได้ เป็นต้น

          ความสำคัญในขั้นตอนนี้คือ อย่าถอดใจไปก่อนที่จะลองทำหรือหาทางออก หากถอดใจไปก่อนความสำเร็จอาจเท่ากับศูนย์ ซึ่งวิธีนี้ใช้ได้ทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ใคร ๆ ก็ใช้วิธีนี้ได้หมด

 

4. ค่อย ๆ ทำให้เป็นรูปเป็นร่าง

         กว่าไอน์สไตน์จะค้นพบอะไรสักอย่างได้ กว่าทฤษฎีของเขาจะยอมรับก็ต้องใช้เวลาหลายปี หากยังแก้ปัญหาไม่สำเร็จ ลองขอความช่วยเหลือ คำแนะนำกับคนที่มีประสบการณ์ พยายามลองผิดลองถูกก่อน ถ้าไม่สำเร็จก็ทดลองใหม่ หัดเรียนรู้จากความผิดพลาด ทำใหสิ่งท่คิดไว้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาก่อนสักนิดก็ยังดี อย่าเพิ่งหยุดพัฒนา อย่าท้อที่จะทำจนกว่าจะสำเร็จ อาจจะช้าไปบ้าง แต่ให้ลองอดทนไปก่อน

          วิธีนี้นอกจากการทำงานแล้ว การเรียนก็สามารถเอาไปปรับใช้ได้ วิชาไหนที่ไม่ถนัด รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง อย่าเพิ่งปิดกั้นว่า เราคงไม่มีทางทำได้ดีกว่านี้แน่ ให้ลองขอคำแนะนำ ความช่วยเหลือ แล้วลองตั้งใจฝึกฝน จากปัญหาที่เกิดกับการเรียน พยายามไปเรื่อย ๆ อย่าเพิ่งหยุดพัฒนาไปเสียก่อน สุดท้ายต้องทำได้ดีกว่าเดิมแน่ คนจะติดมหาวิทยาลัยได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ส่วนใหญ่ก็เริ่มจากการมีกำลังใจ ฝึกฝน อดทน ไม่ท้อหรือถอดใจไปก่อน ถ้าทำได้ คณะในฝันอยู่ไม่ไกลแน่นอน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง  

 

เทคนิคแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยวิธีคิดแบบไอน์สไตน์ สืบค้นเมื่อ 20 พ.ค. 63 https://adecco.co.th/th/knowledge-center/detail/problem-solving-einstein

 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us