Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
อยากเรียนคณะจิตวิทยาควรรู้ ! แนวคิดเบื้องต้นทางจิตวิทยา

  Favorite

สำหรับน้อง ๆ ม.ปลายคนไหนที่แอบเล็งไว้ว่าจะเข้าเรียนคณะจิตวิทยา ควรมีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาติดตัวไว้บ้างก็ดีนะ ความรู้เบสิค ๆ ที่คนเรียนจิตวิทยาควรรู้คงหนีไม่พ้นแนวคิดหลักทางจิตวิทยา พร้อมกับหน้าตา ประวัติของเจ้าของแนวคิดนั้น ๆ วันนั้นพี่จะมาแชร์ 5 แนวคิดทางจิตวิทยา ที่จะช่วยทำให้น้อง ๆ ได้เปรียบคนอื่น ๆ อย่างแน่นอน และเพื่อเอาไปใช้ตอบในข้อสอบเพิ่มคะแนนได้อีกด้วย

 

1. แนวคิดประสาทวิทยา (Neurobiology Approach)

นักจิตวิทยากลุ่มนี้กล่าวว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลจากการทำงานของสมอง ระบบประสาท สารเคมีภายในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จนแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เราสามารถพบเห็นกันได้ในชีวิตประจำวัน นักจิตวิทยา นักสรรีวิทยาจะทำการศึกษาสมองแต่ละส่วนว่าควบคุมอวัยวะส่วนไหน และดูว่าสารเคมีต่าง ๆ ในระบบประสาทและระบบไร้ท่อเกี่ยวข้องกับจิตใจ ร่างกาย อารมณ์อย่างไรบ้าง จนสรุปได้ว่าพฤติกรรมเกิดจากการส่งสารเคมีผ่านเส้นประสาททั่วร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว เกิดการรับรู้ความรู้สึก สัมผัสจากสิ่งเร้าภายนอก

 

2. แนวคิดพฤติกรรมนิยม (Behavioral Approach)

กลุ่มนี้ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์จากการสังเกต เชื่อในสิ่งที่เห็นด้วยตามากกว่า ไม่ใช่เรื่องภายในที่มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรม คือ สิ่งแวดล้อมที่มีเงื่อนไขนั้นเอง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยได้รู้มาบ้างเกี่ยวกับการทดลองวางเงื่อนไขกับหมา เกิดจากความช่างคิดช่างสังเกตของนักสรรีวิทยาและพบว่า สุนัขน้ำลายไหล ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้อาหาร จึงเริ่มทำการทดลองหาสาเหตุ ด้วยการสั่นกระดิ่ง ก่อนจะให้อาหารสุนัข และวัดปริมาณน้ำลายของเจ้าสุนัข หลังจากนั้นเริ่มแค่สั่นกระดิ่งอย่างเดียว พบว่าน้ำลายสุนัขมีปริมาณพอ ๆ กับสั่นกระดิ่งและให้อาหารด้วย นี่แหละคือสาเหตุที่ทำให้สุนัขน้ำลายไหล นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ได้แก่ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) วัตสัน (J.B.Watson) พาฟลอฟ (Ivan Pavlov)
 

ภาพ : Wikimedia

นักจิตวิทยากลุ่มแนวคิดพฤติกรรมนิยม ภาพซ้ายแรกคือ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) วัตสัน (J.B.Watson) พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ตามลำดับ

 

3. แนวคิดจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytical Approach)

วิธีจำแนวคิดนี้ง่าย ๆ เลยให้นึกถึงเจ้าตัวหนอนสีเขียวชิเมโจได๋ ชิเมโจได๋ เพราะการสะกดจิตเป็นวิธีการสำคัญของแนวความคิดจิตวิเคราะห์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ เจ้าของความคิดนี้ เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากสัญชาติญาณตั้งแต่กำเนิด ซึ่งเป็นสัญชาติญาณจากส่วนลึกของจิตใจ มนุษย์จะเก็บกดสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ สิ่งที่ตัวเราเองไม่ชอบ ไว้ภายในจิตใจ จนสะท้อนออกกลายเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การพูดคำหยาบ พลั้งปากด่าว่าคนอื่น ความฝัน อาการเจ็บป่วยทางจิต เป็นต้น
 

ภาพ : Wikimedia

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์

 

4. แนวคิดกลุ่มนักจิตวิทยารู้คิด (Cognitive Approach)

จากแนวคิดพฤติกรรมนิยม (Behavioral Approach) มีแนวคิดย่อย ๆ อยู่ว่า เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น จะเกิดการแสดงพฤติกรรมทันที แต่สำหรับนักจิตวิทยากลุ่มรู้คิดกลับคิดว่า มนุษย์จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทันที แต่จะมีกระบวนการคิดก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม ตรงนี้นี่เองทำให้มนุษย์กับสัตว์แตกต่างกัน เพราะมนุษย์จะรู้จักกาลเทศะ รู้ว่าอะไรควรไม่ควรที่จะแสดงออก ส่วนสัตว์เมื่อมีสิ่งเร้า จะตอบโต้กับสิ่งเร้าทันที ยกตัวอย่างไปสักหน่อยก็แล้วกัน ส่วนนักจิตวิทยาที่อยู่กลุ่มนี้จะมี วุนดท์ (Wilhelm Wundt) และเจมส์ (William James)
 

ภาพ : Wikimedia

นักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิทยารู้คิด ภาพซ้าย คือ วุนดท์ (Wilhelm Wundt) และภาพขวา คือ เจมส์ (William James)

 

5. แนวคิดกลุ่มปรากฎการณ์/มนุษยนิยม (Phenomenological/Humanistic Approach)

เรียกว่าเป็นกลุ่มแหกคอก แหวกแนว ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจากสิ่งเร้า สัญชาติญาณต่าง ๆ อย่างที่กลุ่มแนวคิดก่อนหน้านี้ได้กล่าวไว้ แต่เชื่อว่าพฤติกรรมของคนจะเป็นอย่างไร อยู่ที่การรับรู้ ประสบการณ์ส่วนตัว และความสามารถในการตีความต่อเหตุการณ์ และยังเน้นย้ำว่ามนุษย์มีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่าง ๆ กำหนดชีวิตของตัวเอง อนาคตตัวเอง และเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาให้ตนเป็นมนุษย์ที่ดี นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้แก่ มาสโลว์ (Abraham Maslow) และรอเจอส์ (Carl Rogers)
 

ภาพ : Wikimedia

นักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิทยารู้คิด ภาพซ้าย คือ มาสโลว์ (Abraham Maslow) และภาพขวา คือ รอเจอส์ (Carl Rogers)

 

เรื่อง : พิชญา เตระจิตร

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us