1. ถ้าเขียนค่าของพาย (¶) คือ 3.14 ลงบนกระดาษ คุณก็จะได้คำว่าพาย (PIE) อยู่อีกด้านหนึ่งของกระดาษด้วย
2. พิซซ่าหรือ Pizza ที่มีรัศมีเท่ากับ z และความสูงเท่ากับ a จะมีปริมาตรเท่ากับ Pi × z × z × a (มาจาก ¶r2h ซึ่งเป็นสูตรปริมาตรทรงกระบอก)
3. ความมหัศจรรย์ของเลข 9 นั้นอยู่ที่การคูณตัวเลขใด ๆ ด้วย 9 ในแต่ละครั้ง จะได้ผลลัพธ์ที่บวกกันแล้วได้ 9 เสมอ เช่น
9x5 = 45 ---> 4+5 = 9
9x44 = 396 ---> 3+9+6 = 18 ---> 1+8 = 9
9x367 = 3,303 ---> 3+3+0+3 = 9
9x2,891 = 26,019 ---> 2+6+0+1+9 = 18 ---> 1+8 =9
4. ความมหัศจรรย์ของเลข 1 คือ การนำมาเลข 1 ที่มีจำนวนหลักเท่ากันมาคูณกัน จะได้คำตอบที่มีการเรียงลำดับตัวเลขที่สวยงาม เช่น
111x111 = 12,321
11,111x11,111 = 123,454,321
11,111,111x11,111,111 = 12,345,678,987,654,321
5. เลข 0 เป็นตัวเลขเดียวที่ไม่มีอยู่ในตัวเลขภาษาโรมัน
6. 10! วินาที เท่ากับเวลา 6 สัปดาห์ เนื่องจาก 10! = 10×9×8×7×6×5×4×3×2×1 = 3,628,800 วินาที ซึ่งเท่ากับ 42 วัน หรือประมาณ 6 สัปดาห์นั่นเอง
7. 6174 คือ ค่าคงที่ของคาปริการ์ ซึ่งเป็นค่าคงที่ที่มาจากการนำตัวเลขโดดจำนวน 4 ตัวเลข โดยซ้ำกันได้อย่างมาก 2 ตัวเลข มาเรียงกันตามจำนวนจากมากไปน้อย แล้วลบด้วยการเรียงจากจำนวนน้อยไปมาก และทำซ้ำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จะได้คำตอบสุดท้ายเป็น 6174 เสมอ เช่น
8731-1378 = 7353
7533-3357 = 4176
7641-1467 = 6174
9652-2569 = 7083
8730-0378 = 8352
8532-2358 = 6174
และหากนำ 6174 มาทำตามกระบวนการข้างต้นต่อ ก็จะได้ตัวเลข 6174 เช่นเดิม
7641-1467 = 6174
8. ในหลาย ๆ วัฒนธรรมเชื่อว่า ตัวเลข 13 หมายถึงความโชคร้าย โดยมีหลายตำนานที่กล่าวถึงเรื่องนี้ หนึ่งในนั้นคือ ตำนานของศาสนาของยุโรปโบราณที่เชื่อว่ามีพระเจ้าแห่งความดี 12 องค์ และพระเจ้าแห่งความชั่วร้าย 1 องค์ ซึ่งพระเจ้าแห่งความชั่วร้ายเรียกว่า พระเจ้าองค์ที่ 13 (13th god) ส่วนความเชื่ออื่น ๆ เช่น ในภาพ The Last Supper หรืออาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู ที่ภายในภาพมีคนอยู่ทั้งสิ้น 13 คน รวมถึงพระเยซูและจูดาสด้วย
9. ถ้านำเลข 1-100 มาบวกต่อกันไปเรื่อย ๆ (1+2+3+4+5+...) จะได้ผลลัพธ์เป็น 5050
10. ตัวเลข 108 นับเป็นเลขมงคล และยังมีนัยสำคัญสำคัญในพิธีกรรมหลาย ๆ อย่างของชาวอินเดีย ตลอดจนศาสนาฮินดู ซิกซ์ พุทธ และเชน เช่น การสร้างประคำที่มี 108 เม็ด ส่วนตัวอย่างของความน่าสนใจของเลข 108 เช่น
108 = 11 x 22 x 32 ซึ่งเป็นเลขที่เรียงกัน
108 เป็นจำนวนน้อยที่สุดที่หารด้วยตัวหารซึ่งเป็นจำนวนที่ประกอบด้วยเลขโดดครบทุกตัว ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 6, 9, 12, 18, 27, 36, 54 และ 108