โครงการ "ผ้าไหม" บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 23.4K views



โครงการ "ผ้าไหม" บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น 1/2
โครงการ "ผ้าไหม" บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น 2/2
การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นข้ามกลุ่มสาระการ เรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ เรื่อง ผ้าไหม


ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล

โรงเรียน ชัยภูมิภักดีชุมพล ตั้งอยู่เลที่ 19 ถนนบรรณาการ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 มีนายวงษ์ชย ชนะชัย เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จัดการศึกษาในระดับช่วงชั้นที่ 3-4 โดยเน้นการบูรณาการภูมิปํญญาท้องถิ่นข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ เรื่อง ผ้าไหม จนประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างที่ดีของการนำภูมิปัญญาเข้าสู่การศึกษาของ ชาติอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิพล


ข้อค้นพบ : ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา

โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล เป็นโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2545 โดยได้ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาอีกครั้งในการศึกษา 2546 ซึ่งได้กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางในสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 70 และกำหนดสถานภาพปัญหาชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ประมาณ ร้อยละ 3๐ ในคำอธิบายทุกรายวิชา โดยเน้นลักษณะที่โดดเด่นของจังหวัดชัยภูมิ อาทิ ผ้าไหม การท่องเที่ว พืชสมุนไพร และอื่น ๆ


โรงเรียนได้ประเมินผลการใช้หลักสูตรหลังจากทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษาแล้ว 1 ปี พบว่าในการจัดากรเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนโรงเรียนยังขาดการจัดกระบวนการเรียน รู้แบบการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เท่าที่ควร นอกจากนี้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระยังกำหนดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมโครงงานในทุกกลุ่มสาระ ซึ่งเป็นภาระหนักเกินไปสำหรับผู้เรียนทุกคน


การพัฒนาวัตกรรม

จากข้อค้นพบในสอง ประเด็นหลักของการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ได้แก่

    - ขาดการบูรณาการ ข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

    - ทุกกลุ่มสาระมอบหมายให้ผู้เรียนทำกิจกรรมโครงการในทุกกลุ่มสาระ โดยขาดการวางแผนการจัดทำกิจกรรมโครงงานร่วมกันทำหเป็นภาระหนักของผู้เรียน

ด้วยเหตุผลสำคัญในสองประการข้างต้น โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรและพัฒนาสิ่งแวดล้อมซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการเรียนรู้แบบองค์รวมโดย เฉพาะการบูรณาการแบบสหวิทยาการเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน จัดบรรยากาศส่งเสริมให้ผู้เรียน กล้าคิด กล้าทำ ได้ร่วมกันทำงานกลุ่ม และปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยมและจริยธรรมที่ถูก้อง และเป็นการลดภาระงานของนักเรียนที่มากเกินไป ครูทุกคนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จึงได้ร่วมกันวางแผนการจัดกระบวนการเรียน รู้แบบบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยวิธีโครงงาน ด้วยการกำหนดหัวข้อเรื่องและผลการเรียนรู้ร่วมกัน คือ ระดับ ม.1 และ ม. 5 เรื่อง การท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ ระดับ ม.2 และ ม.4เรื่อง ผ้าไหม ระดับ ม. 3 และ ม.6 เรื่อง สมุนไพรในจังหวัดชัยภูมิ แต่ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะเรื่องผ้าไหมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ในการดำเนินการได้กำหนดขั้นตอนการเตรียมการไว้ ดังนี้

    1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2544 โดยประชุมครูผู้สอนทุกคน ปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้แล้วในปีการศึกษา 2546 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดรายละเอียดการเรียนรู้แกนกลางตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ณ วันที่ ๒๗ มกราคม 2546 นำรายละเอียดสาระการเรียนรู้แกนกลางเป็นแนวในการเทียบเคียง ประมาณร้อยละ 7๐ และสาระท้องถิ่น ประมาณร้อยละ 3๐ ทุกรายวิชา

    2. กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นได้หัวข้อเรื่อง 3 เรื่อง คือ 1. ผ้าไหม 2.การท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ 3.พืชสมุนไพรในจังหวัดชัยภูมิ

    3. ครูแต่ละระดับชั้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ร่วมกัน กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวั ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะเรื่องผ้าไหม ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

    4. จัดทำผังมโนทัศน์เรื่อง ผ้าไหม

    5. กำหนดหน้าที่ครูผู้รับผิดชอบ โดยมีคำสั่งโรงเรียนในการจัดทำสื่อ ให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษา ในขณะที่นักเรียนทำโครงการ นำเสนอผลงานและการประเมินผล


บทสรุปของความสำเร็จ

การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผ้าไหม ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของผู้เรียนชั้นมัธยาศึกษาปีที่ 4 ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ ดังนี้

ด้านผู้เรียน:   
มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการผลิตผ้าไหม มีทักษะในการออกแบบการเขียน  ลวดลายผ้าไหม รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์พัฒนาผ้าไหมและรู้จักใช้ผ้าไหมในการแต่งกายอย่างเหมาะสม มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้จากกิจกรรมโครงการ

ด้านผู้สอน :  
ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้พัฒนาวิธีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตามความต้องการของท้อง ถิ่น

ด้านผู้บริหาร :  
มีนวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นจากความรู้ ความชำนาญการ ความเชี่ยวชาญของครูผู้สอนเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ทั้งด้านการศึกษาและอาชีพ

ด้านชุมชน :   
มีส่วนร่วมในการเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาให้แก่ผู้เรียน


ความสำเร็จดังกล่าวนี้ เป็นความสำเร็จที่สำคัญสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในอนาคต