การนับช่วงเวลาตามแบบไทยและแบบสากล
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 365.5K views



การนับช่วงเวลาตามแบบไทยและแบบสากล

การนับเวลาและการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

  การนับช่วงเวลาที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นการนับช่วงเวลาแบบกว้าง ๆ ไม่ได้มีการระบุเจาะจงเวลาที่แน่นอน ต่อมาสามารถแบ่งการนับช่วงเวลาออกเป็น 2 แบบ คือ การรนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ และแบบสุริยคติ เป็นการนับช่วงเวลาที่มีการระบุเจาะจงเวลา

1. การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ซึ่งเมื่อดวงจันทร์รอบโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม วันทางจันทรคติจึงเรียกว่า วันขึ้น วันแรม โดยดูจากลักษณะของดวงจันทร์

2. การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ซึ่งกินเวลาทั้งสิ้นประมาณ 365 วัน หรือ 1 ปี และใน 1 ปี มี 12 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคม การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ เป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการนับเวลาที่นักเรียนใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน

การนับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตโดยมีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความง่ายต่อการทำความเข้าใจในเหตุการณ์ ต่างๆ โดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการศึกษาเรื่องราวการนับเวลาและการเปรียบเทียบศักราชในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การนับเวลาแบบไทย และการนับเวลาแบบสากลการนับเวลาแบบไทยในประวัติศาสตร์ไทย จะมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยมีการอ้างอิงถึงการนับช่วงเวลาแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้

 1.พุทธศักราช (พ.ศ.) 
เป็นการนับเวลาทางศักราชในกลุ่มผู้นับถือพระพุทธศาสนา โดยเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้นับเป็นพุทธศักราชที่ทั้ง นี้ประเทศไทยจะนิยมใช้การนับเวลาแบบนี้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนมาเป็นที่แพร่หลายและระบุใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ในปีพุทธศักราช 2455

 2. มหาศักราช (ม.ศ.) การ นับศักราชนี้จะพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย และอยุธยาตอนต้นโดยคิดขึ้นจากกษัตริย์ของอินเดีย (พระเจ้ากนิษกะ) ซึ่งพ่อค้าอินเดียและพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในเวลาติดต่อการค้ากับไทยใน สมัยโบราณ จะมีปรากฎในศิลาจาลึกเพื่อบันทึกเรื่องราวเหตุกาณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าปีมหาศักราชที่ จะตรงกับปีพุทธศักราช 621

 3.จุลศักราช (จ.ศ.)
จัดตั้งขึ้นโดยสังฆราชมนุโสรหัน แห่งอาณาจักรพุกาม เมื่อปีพุทธศักราช 1181 โดย ไทยรับเอาวิธ๊การนับเวลานี้มาใช้ในสมัยอยุธยา เพื่อการคำนวณทาง โหราศาสตร์ ใช้บอกเวลาในจารึก ตำนาน พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ต่างๆ จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่5) จึงเลิกใช้

4.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ) การนับเวลาแบบนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5) ทรงตั้งขึ้น
ในปีพุทธศักราช 2432 โดยกำหนดให้กำหนดให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในทางราชการตั้งแต่วันที่เมษายน ร.ศ.108            (พ.ศ.2432) เป็นต้นมา

การนับเวลาแบบสากล

1. คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยคริสต์ศักราชที่ เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูต (ตรงกับ พ.ศ.543) และถือระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไป จะเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสต์กาล 

2. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาอิสลามโดยอาศัยปีที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดินา เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลามซึ่งตรงกับวันที่ กรกฏาคม ค.ศ. 622 อย่างไรก็ตาม การนับศักราชแบบต่างๆ ในบางครั้งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้ แต่อาจกล่าวการนับเวลาอย่างกว้างๆ ไว้ ซึ่งนิยมเรียกกันใน 3 รูปแบบ ดังนี้

   -  ทศวรรษ (decade) คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000

   - ศตวรรษ (century) คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย ไปจนครบ 100ปีในศักราชที่ลงท้สยด้วย 00 เช่น พุทธศตวรรษที่ 26 คือ พ.ศ.2501-2600

    - สหัสวรรษ(millenium) คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษจะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัสวรรษที่ นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000

หลักเกณฑ์การเรียบเทียบศักราชในระบบต่างๆ

การนับศักราชที่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น การเปรียบเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งทำให้ทราบว่าในช่วงศักราช หรือช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละภาคของโลก เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ อะไรบ้าง ซึ่งการเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่าง ของอายุศักราชแต่ศักราชมาบวกหรือลบกับศักราชที่เราต้องการตามหลักเกณฑ์ดังนี้

 ม.ศ. + 621 = พ.ศ

จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.

ร.ศ. + 2325 = พ.ศ.

ค.ศ. + 543 = พ.ศ.

ฮ.ศ. + 621 = ค.ศ

ฮ.ศ. + 1164 = พ.ศ.

พ.ศ. - 621 = ม.ศ.

พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.

พ.ศ. - 2325 = ร.ศ.

พ.ศ. - 543 = ค.ศ.

ค.ศ. - 621 = ฮ.ศ.

พ.ศ. - 1164 = ฮ.ศ.

   การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ การนับเวลาเป็นศักราชจะมีประโยชน์เพื่อทำให้ทราบเรื่องราวในประวัติศาสตร์ แต่ในบางครั้งเราอาจจะนำเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมาระบุเป็นการแบ่งช่วงเวลาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์จะสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ตามระบบสากล และตามแบบไทย    

การแบ่งช่วงเวลาตามแบบสากล

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์   ตีความจากหลักฐานที่มีการค้นพบ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ โครงกระดูก งานศิลปะต่างๆ โดยรวมจะเห็นว่าในช่วงสมัยก่อน      ประวัติศาสตร์นี้ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มักทำด้วยหิน และโลหะ จึงเรียกว่า ยุคหิน และยุคโลหะ

     แสดงการแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในระบบสากล

     1. ยุคหินเก่า  1,700,000-10,000 ปีก่อนปัจจุบัน มีการล่าสัตว์เป็นอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำใช้เครื่องมือหินแบบหยาบๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้ำ

     2. ยุคหินกลาง  10,000-5,000 ปี ก่อนปัจจุบัน มีการดำรงชีวิตเหมือนยุคหินเก่า รู้จักทำเครื่องมือหินให้มีความปราณีตยิ่งขึ้น รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาให้มีผิวเรียบ

     3. ยุคหินใหม่  5,000-2,000 ปีก่อนปัจจุบัน เริ่มรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งที่ถาวร รู้จักทำเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องประดับ

    4. ยุคสำริด (ทองแดงผสมดีบุก)  3,500-2,500 ปีก่อนปัจจุบัน  อาศัย อยู่เป็นชุมชน ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เช่น ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับด้วยสำริด

    5. ยุคเหล็ก  2,500-1,500 ปีก่อนปัจจุบัน  มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่น เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเหล็ก

2. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มต้นเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น เพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรม จึงทำให้รับรู้เรื่องราวทางประวัติสาสตร์ให้มากขึ้น การบันทึกในระยะแรกจะปรากฎอยู่ในกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นหิน ใบลาน เป็นต้น สมัยประวัติศาสตร์นิยมแบ่งเป็นช่วงเวลาต่างๆ ดังนี้

     1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แต่ละประเทศจะเริ่มไม่พร้อมกัน ในสมัยประวัติศาสตร์สากลเริ่มตั้งแต่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยธรรมกรีก-โรมันและสิ้นสุดใน ค.ศ.476 เมื่อกรุงโรมแตก

     2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังที่กรุงโรมแตกในค.ศ. 476 จนกระทั่ง ค.ศ. 1453 เมื่อพวกที่นับถือศาสนาอิสลามตีกรุงคอนสเตนติโนเปิลของโรมันตะวันออกแตกจนกระทั่งสิ้น สุดสงครามโลกครั้งที่ 2

     3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มหลังจากที่กรุงคอนสเตนติโนเปิลแตกจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

     4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยดังกล่าว นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เข้าใจช่วงเวลาต่างๆ ได้ง่าย เพราะไม่ได้มีการกล่าวถึงศักราช แต่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยนิยมใช้ มักจะใช้อาณาจักรหรือราชธานีเป็นตัวกำหนดแทน

    การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทยการ แบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทย จะมีความสอดคล้องและความแตกต่างจากแบบสากล กล่าวคือในส่วนที่สอดคล้อง คือ ในสมัยก่อนประวัติสาสตร์จะมีการแบ่งยุคหินและยุคโลหะ แต่ในความแตกต่าง เมื่อมาถึงสมัยประวัติศาสตร์จะจัดแบ่งตามความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ดังรูปแบบต่อไปนี้  

 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็น ช่วงที่ยังไม่มีการใช้ตัวอักษรในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ จะอาศัยหลักฐานที่มีการขุดค้นพบเพื่อการวิเคราะห์ตีความ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัตศาสตร์ในประเทศไทยออก เป็นดังนี้ 

     1). ยุคหิน เป็นยุคสมัยเริ่มแรกที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ไม่มีอยู่อาศัยแน่นอน เคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ อาศัยเครื่องมือหินกะเทาะเพื่อการล่าสัตว์ และป้องกันตัว ซึ่งในยุคหินนี้จะสามารถแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้

       ยุคหินเก่า จะเป็นพวกแร่ร่อน อาศัยตามถ้ำ ใช้เครื่องมือหินกรวดกะเทาะด้านเดียวที่ไม่มีความประณีต เช่น ขวานหินกำปั้น หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านแม่ทะ และบ้านดอลมูล จ. ลำปาง รวมถึงที่บ้านเก่า ต. จระเข้เผือก อ. เมือง จ.กาญจนบุรี

       ยุคหินกลาง จะ เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยเครื่องมือหินจะมีความประณีตยังอาศัยอยู่ในถ้ำ และนำเอาวัสดุธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นยอุปกรณ์ในการดำรงชีวิต ซึ่งพบได้จากเครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณถ้ำผี จ.แม่ฮ่องสอน

       ยุคหินใหม่ มนุษย์ในยุคนี้จะเริ่มรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และตั้งหลักแหล่งที่อยูอาศัย มีการสร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า ขวานหิานขัด หรือขวานฟ้า รวมทั้งการสร้างภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และการนำกระดูกสัตว์มาประยุกต์ดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านโนนกทา ต.บ้านนาดี อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น และที่ถ้ำผาแต้ม อ.โขงเจียน จ. อุบลราชธานี

     2.) ยุคโลหะ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักใช้แร่ธาตุมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ยุคย่อย ได้แก่ 

      - ยุคสำริด โดย มนุษย์ในยุคนี้มีพัฒนาการความคิดในการประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ โดยเอาสำริด คือ แร่ทองแดงผสมกับดีบุก มาหล่อหลอมเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ใช้ในการดำรงชีวิต รวมถึงมีการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามเป็น เอกลักษณ์เด่นหลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

      - ยุคโลหะ มนุษย์ในยุคนี้จะเป็นชุมชนเกษรที่มีการขยายตัวใหญ่ขึ้น มีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จะนำเอาแร่เหล็กมาหลอมสร้างเป็นอุปกรณ์ เนื่องจากจะมีความทนแข็งแรงมากกว่า รวมถึงรู้จักการสร้างพิธีกรรมโดยอาศัยภาชนะดินเผาต่างๆ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านดอนตาเพรช    อ.พนมทวน จ.กาญจบุรี รวมถึงหมู่บ้านใหม่ชัยมงคล จ. นครสวรรค์

2สมัยประวัติศาสตร์ไทย การเข้าสู่ช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ไทย นักวิชาการได้กำหนดจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไทย คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ.1826 สำหรับ การแบ่งยุคสมัยของไทย นิยมแบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หรือแบ่งตามลักษณะทางการเมืองการปกครองเป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช สมัยประชาธิปไตย เป็นต้น

    กล่าวโดยสรุป การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาตร์ไทย สามารถจัดแบ่งอย่างกว้างๆ ได้เป็น ช่วง ดังนี้
       1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย เป็น สมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการคิดตังอักษรขึ้นใช้สำหรับบันทึกเรื่องราวต่างๆ การศึกษาทางประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐาน ชั้นต้นที่ได้จากาารค้นพบตามท้องที่ต่างๆในประเทสไทย เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะสำริด เหล็ก เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา โครงการะดูก ภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ เป้นต้น โดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ ตามพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้
 

       2) สมัยประวัติศาสตร์ไทย เป็น ช่วงเวลาที่มนุษย์ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นใช้แล้ว นักวิชาการจึงอาศัยหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่น จารึก จดหมายเหตุบันทึกการเดินทาง พงศาวดาร เป็นต้น และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งที่เป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ปราสาทหิน วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เงินเหรียญ เครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งงานศิลปะต่างๆ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ตีความ เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


ที่มา: https://sites.google.com/site/pannipa31055/kar-nab-sakrach-laea-kar-baeng-yukh-smay-2