ภาษาไทย ม. ต้น การพูดโน้มน้าวใจ โดยครูเกี๊ยวซ่า
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 27.4K views



ภาษาไทย ม. ต้น การพูดโน้มน้าวใจ โดยครูเกี๊ยวซ่า

การพูดโน้มน้าวใจ

ประเภทของการพูดโน้มน้าวใจ

1. การโฆษณาสินค้า ซึ่งเป็นการสื่อสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ ที่มีผลให้เป้าหมายคือผู้บริโภคคิดคล้อยตามกระทำตามหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามที่ผู้โฆษณาต้องการ

2. โฆษณาชวนเชื่อ   เป็นการพยายามโดยเจตนาที่จะเปลี่ยนความเชื่อและการกระทำของบุคคลจำนวนมาก ให้เป็นไปในทางที่ฝ่ายตนต้องการ ด้วยกลวิธีต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามเหตุผลและข้อเท็จจริง

3. คำเชิญชวน เป็นการแนะให้ช่วยกันกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น แผ่นปลิว  ประกาศ  โปสเตอร์

 

กลวิธีเพื่อการพูดโน้มน้าวใจ

- การแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ
- การแสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล
- การแสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
- การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย
- การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า
- การสร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร