กัมมันตภาพรังสี
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 7.2K views



กัมมันตภาพรังสี (radioactive) เกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร ปลดปล่อยอนุภาคแอลฟา (alpha) อนุภาคบีตา (beta) และรังสีแกมมา (gamma)

อนุภาคแอลฟา เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม ประกอบด้วยโปรตอน 2 และนิวตรอน 2 มีประจุบวกเป็น 2 เท่าของประจุอิเล็กตรอน

ภาพ : shutterstock.com

 

การสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่ เกิดจากนิวเคลียสที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนโปรตอนมากกว่า 83 โปรตอน ทำให้ไม่เสถียร เมื่อเกิดการสลายให้อนุภาคแอลฟา ธาตุใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีเลขมวลลดลง 4 เลขอะตอมลดลง 2 อนุภาคแอลฟาเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กเข้าหาขั้วลบ

อนุภาคบีตา มีประจุเป็นลบ เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก เกิดจากนิวตรอนเปลี่ยนเป็นโปรตอน การสลายตัวให้อนุภาคบีตา ไม่ทำให้เลขมวลเปลี่ยน เมื่อเกิดการสลายตัวให้อนุภาคบีตา ธาตุใหม่จะมีเลขอะตอม (โปรตอน) เพิ่มขึ้น

รังสีแกมมา เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และพลังงานสูง เป็นกลางทางไฟฟ้า เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานของนิวเคลียส ที่อยู่ในสถานะถูกกระตุ้นเพื่อกลับสู่สถานะพื้น การสลายตัวของธาตุให้รังสีแกมมา ไม่ทำให้เลขมวล และเลขอะตอมเปลี่ยนแปลง

เราสามารถเรียงลำดับพลังงานจากมากไปน้อยได้ดังนี้ รังสีแกมมา > อนุภาคบีตา > อนุภาคแอลฟา

 

เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร