สัตว์ป่า
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 16.3K views



สัตว์ป่าถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ สัตว์ป่ามี 3 ประเภท ได้แก่ สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ประโยชน์ของสัตว์ป่ามีมากมาย การทำลายสัตว์ป่าทำให้ระบบนิเวศป่าขาดสมดุล เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การอนุรักษ์สัตว์ป่า

ภาพ : shutterstock.com

 

สัตว์ป่า คือ สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง ซึ่งโดยธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่า หรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นด้วย

“สัตว์ป่าสงวน” หมายถึง สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวด ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 กำหนดให้สัตว์ป่า 19 ชนิดต่อไปนี้ เป็นสัตว์ป่าสงวน

 

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

 

ภาพ : shutterstock.com

- กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
- กวางผา (Naemorhedus griseus)
- กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
- เก้งหม้อ (Muntiacus feae)
- ควายป่า (Bubalus arnee)
- พะยูนหรือหมูน้ำ (Dugong dugon)
- แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
- แรด (Rhinoceros sondaicus)
- ละองหรือละมั่ง (Rucervus eldi)
- เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ (Capricornis sumatraensis)
- วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni)
- วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai)
- สมเสร็จ (Tapirus indicus)
- สมันหรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburgki)

 

สัตว์ป่าจำพวกนก

ภาพ : shutterstock.com

 

- นกกระเรียน (Grus antigone)
- นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
- นกแต้วแล้วท้องดำ หรือ นกแต้วแร้วท้องดำ (Pitta gurneyi)

 

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน

ภาพ : shutterstock.com

 

- เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)

 

สัตว์ป่าจำพวกปลา

ภาพ : shutterstock.com

 

- ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)

 

ในอดีต “เนื้อทราย” เคยเป็นสัตว์ป่าสงวนของไทยด้วย แต่ในปัจจุบันถูกคัดชื่อออกจากบัญชีสัตว์ป่าสงวน เพราะมีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มากขึ้น

การอนุรักษ์สัตว์ป่า มีวิธีการดังนี้

1. อนุรักษ์แหล่งอาศัย ทำได้โดย

- ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานสัตว์ป่า และพื้นที่มรดกโลก
- หลีกเลี่ยงการรบกวนหรือทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า
- ป้องกันและควบคุมไฟป่า
- สร้างแหล่งอาศัยจำลอง

2. ดำรงและเพิ่มปริมาณสัตว์

- ออกกฏหมายควบคุม
- จัดตั้งสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจ
- จัดตั้งหน่วยงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์และให้ความรู้

3. สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สัตว์ป่าแก่ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ