วิทยาศาสตร์ ม. ปลาย เทคโนโลยีชีวภาพ โดยครูวา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 5K views



เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพเป็นการนําความรู้ด้านชีววิทยา ในสาขาพันธุศาสตร์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ เช่น การทําพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) การโคลน (Cloning) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) 

การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA Fingerprint)

    1) พันธุ์วิศวกรรม (Genetic Engineering) : เป็นเทคนิคการสร้างสิ่งมีชีวิตมีลักษณะตาม ที่ต้องการ คือ เชื่อม DNA จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งกับ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เกิดเป็น DNA สายผสม (Recombinant DNA) โดยการถ่ายยืนที่ต้องการลงไปแบคทีเรีย เพื่อให้เป็นตัวพายืนเหล่านั้นเข้าไปในสิ่งมีชีวิตที่ต้องการสร้างพันธุกรรมใหม่เรียกสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นว่า สิ่งมีชิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMOs (Genetically Modified Organisms) สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมต่างๆ เช่น

- ฝ้ายปีที่และข้าวโพดบีที เป็นพืช GMO ที่ได้จากการถ่ายยืนจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถสร้างโปรตีนที่เป็นพิษต่อแมลง พืชที่มียีนนี้จึงต้านทานแมลงได้

- พริก มะละกอ ต้านทานไวรัส เป็นการนํายืนที่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคไวรัส ทําให้ไวรัสไม่สามารถทําอันตรายให้แก่พืชได้

- การผลิตอินซูลินโดยแบคทีเรีย ทําโดยตัดยืนอินซูลินจากคนปกติถ่ายลงไปในพลาสมิดของแบคทีเรีย (Plasmid เป็น DNA ที่เป็นวงกลมขนาดเล็กของแบคทีเรีย) เมื่อแบคทีเรียแบ่งเซลล์จะทําให้ ได้แบคทีเรียที่มียืน อินซูลินเป็นจํานวนมาก  และแบคทีเรียนี้จะสามารถสังเคราะห์อินซูลินได้

 

    2) การโคลน (Cloning) : หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ เป็นการสืบพันธุ์แบบ ไม่อาศัยเพศ โดยการนํานิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย ใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ที่ถูกดูด เอานิวเคลียสออก ทําให้เซลล์ไข่ พัฒนาไปเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากสารพันธุกรรมของนิวเคลียสที่ใส่เข้าไปในประเทศไทยมีการโคลนวัวเนื้อตัวแรกของโลกชื่อ นิโคล และการโคลนวัวนมตัวแรกของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชื่อ อิง ซึ่งเกิดจากการโคลนเชลล์ใบหูของตัวต้นแบบ 

    3) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture)เป็นการโคลนในพืช โดยการนําเอาส่วนของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ที่พืชต้องการในสภาพปลอดเชื้อ ควบคุม แสงอุณหภูมิความชื้น และกระตุ้นการเจริญด้วยฮอร์โมนพืชเช่นไซโทไคนิน ออกซิน ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

    1. ได้พืชจํานวนมากที่มีลักษณะเหมือนเดิม 
    2. ใช้เวลาสั้นในการผลิตต้นพันธุ์ดี 
    3. ใช้ผลิตต้นพันธุ์ที่ผสมกันเองในธรรมชาติยาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์