ดาวหาง
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 11K views



ดาวหางไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนแกนกลาง และส่วนหาง

ดาวหาง (Comet) เป็นกลุ่มมวลสารที่เหลือจากการกำเนิดของระบบสุริยะ ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เป็นวัตถุในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีวงโคจรเป็นวงรี รูปร่างและความสว่างของดาวหางแต่ละดวงจะแตกต่างกันไป ตามระยะทางที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ขณะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะไม่มีหาง ไม่มีแสงสว่าง เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวหางจะสว่างมากขึ้น 

ภาพ : shutterstock.com

การที่เห็นดาวหางมีแสง เนื่องจากเมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แสงจากดวงอาทิตย์ทำให้แก๊สที่เป็นองค์ประกอบเกิดการวาวแสง เห็นเป็นดาวหางที่สุกสว่างในท้องฟ้า โดยนิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็นก้อนหิมะสกปรก ประกอบด้วยน้ำแข็ง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทน แก๊สแอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน 

 

ดาวหางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ

1. ส่วนหัว เป็นกลุ่มไอน้ำ ฝุ่น และแก๊สที่ระเหยจากส่วนแกนกลาง
2. ส่วนแกนกลาง เป็นอนุภาคน้ำแข็ง ไอน้ำ และแก๊สที่เย็นจัด
3. ส่วนหาง แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ หางฝุ่นและหางแก๊ส

 

เรียบเรียงโดย : ​ปิตุพร พิมพาเพชร