ดาวเคราะห์น้อย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 9K views



ดาวเคราะห์น้อยเป็นก้อนหินที่มีลักษณะแข็ง ขรุขระ และมีขนาดต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1,000 กิโลเมตรขึ้นไป โคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี

ภาพ : shutterstock.com

ดาวเคราะห์น้อย (Planetoid) เป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว และไม่ใช่ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะคล้ายดวงดาว และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าว ๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ

ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีเรส (Ceres) ถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย และดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่รองลงมา 3 ดวง ได้แก่ เวสตา (Vesta) พัลลัส (Pallas) และไฮเจีย (Hygiea) มีวงโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี

เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ เป็นซากที่หลงเหลือในอวกาศก่อนเกิดดาวเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่จะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปรีมาก และไม่อยู่ในระนาบสุริยวิถี ขณะนี้มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยแล้วประมาณ 3 แสนดวง

 

เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร