ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
แนวทางการเลือกอาชีพ
เริ่มจากการสำรวจตนเอง ดังนี้
1. ด้านความรู้ ความสามารถ และความถนัด
2. ด้านความชอบและความต้องการ
3. ด้านลักษณะนิสัย
4. ด้านทักษะในการทำงาน
ความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพกับการประกอบอาชีพ
จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ผู้คิดทฤษฎีการเลือกประกอบอาชีพ แบ่งประเภทอาชีพตามบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
1. บุคลิกภาพแบบจริงจัง นิยมความจริง (Realistic) เช่น ช่างเทคนิคเครื่องบิน นักบิน
2. บุคลิกภาพแบบที่ต้องการใช้เชาวน์ปัญญา (Investigative) เช่น นักวิจัย แพทย์ ผู้จัดการ
3. บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ (Artistic) เช่น นักออกแบบแฟชั่น ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา มัณฑนากร
4. บุคลิกภาพที่ชอบสมาคมกับบุคคลอื่น (Social) เช่น ครูอาจารย์ พยาบาล ช่างเสริมสวย
5. บุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ (Enterprising) เช่น ผู้พิพากษา ผู้จัดการฝ่ายบุคคล
6. บุคลิกภาพที่ทำตามระเบียบแบบแผน (Conventional) เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ
การประกอบอาชีพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. อาชีพอิสระ การทำกิจกรรมด้วยตนเอง เพื่อให้มีรายได้และผลกำไรที่ไม่ใช่การรับจ้างผู้อื่น สามารถกำหนด ลักษณะ รูปแบบ และวิธีการดำเนินกิจการได้อย่างอิสระ ไม่มีรายได้ที่แน่นอน
2. อาชีพรับจ้าง ผู้ประกอบอาชีพที่มีรายได้ในรูปของเงินเดือนหรือค่าจ้างที่แน่นอน ประกอบอาชีพในฐานะลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง ต้องทำงานอยู่ภายใต้คำสั่ง ขาดความอิสระ
อาชีพสุจริต
อาชีพสุจริต หมายถึง การทำงานที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ทำลายสังคม
ประเภทของอาชีพสุจริต จำแนกตามลักษณะงานสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
1. อาชีพการผลิต เป็นอาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพนำวัตถุดิบและปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มาผ่านกระบวนการแปรสภาพจนกลายเป็นผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
2. อาชีพการจำหน่าย เป็นอาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพทำหน้าที่เป็นคนกลางในการจัดจำหน่ายผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์หรือเรียกว่า ซื้อมาขายไป
3. อาชีพการบริการ เป็นอาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพทำหน้าที่ในการบริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
คำสำคัญ
การเลือกอาชีพ จอห์น แอล ฮอลแลนด์ บุคลิกภาพ
การประกอบอาชีพ อาชีพอิสระ
อาชีรับจ้าง อาชีพสุจริต
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th