โรคหลงตัวเอง Narcisisitic (นาซิซีติส)
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 152K views



       โรค Narcissistic Personality Disorder  หรือ โรคคลั่งตัวเอง (เรียกย่อๆ ว่า NPD หรือ ภาวะ Narcissism) เป็นภาวะบกพร่องด้านบุคลิกภาพอันเนื่องมาจากอาการหลงตัวเองมากเกินไป ชื่อโรคนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากเทพนิยายกรีก

 

 าพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock   
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด

 

ประวัติเทพนาซิสซัส

           Narcissus (นาซิสซัส) เป็นเทพที่มาจากสายเลือดของเทพทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ เป็นบุตรของวีนัสเทพีแห่งความงาม กับอพอลโล เทพแห่งการทำนายและการรักษาโรค

          และด้วยเพราะเทพีวีนัสนี้มีรูปโฉมงดงามเป็นที่ต้องตาต้องใจเทพหลากหลายองค์ บนสรวงสวรรค์ ซึ่งเมื่อให้กำเนิดนาซิสซัส ก็ส่งผลให้นาซิสซัสกลายเป็นบุรุษที่มีรูปโฉมงดงามหาใครเทียบเทียม และประจวบกับเทพอพอลโล ที่ถือได้ว่า เป็นเทพที่มีความลุ่มหลงและความมั่นใจในตัวเองสูง ก็ทำให้นาซิสซัสกลายเป็นเทพที่มีนิสัยเช่นนั้นตามไปด้วย

นาซิสซัสก้มลงเห็นหน้าตนเองในสระน้ำและตกหลุมรักตนเอง โดยมีเอคโค่ที่ตกหลุมรักนาซิสซัสมองอยู่ข้าง ๆ 

ภาพ : John William Waterhouse (วิกิมีเดีย)

 

          นาซิสซัสจึงได้ชื่อว่าเป็นเทพที่มีความงดงามแต่ก็หลงตัวเองเป็นที่สุด เขาไม่สนใจสิ่งอื่นเลยนอกจากตัวเอง  แต่เขาก็มิได้หมายปองใครจริงจัง จนหักอกเอคโค่  

 

 Narcissus โดย Caravaggio
(ภาพ : วิกิพีเดีย) 

 

           เขาจึงโดนสาปโดยเทพีอโฟรไดท์ว่า  ให้นาซิสซัสได้รักกับคนที่ไม่อาจรักตอบเขาได้ตลอดกาล  วาระสุดท้ายของเขามาถึง เมื่อเขาก้มลงดื่มน้ำในทะเลสาบแล้วเห็นใบหน้าของตัวเองในน้ำ เขาจึงตกหลุมรักตัวเองทันที 

         ผลจากคำสาปทำให้นาร์ซิสซัสไม่รู้ว่าเป็นเงาของตน เขาไม่ยอมกินยอมนอนและคอยจะโอบกอดชายรูปงามที่เขาแสนรักอีก แต่ผลก็เป็นเหมือนเดิม จนสิ้นใจลงข้างลำธาร กลายเป็นดอกไม้ที่งดงามริมน้ำ ราวกับว่าคอยชะโงกดูเงาของตน ชื่อ นาร์ซิสซัส (Narcissus , ดอกจะมีขนาดใหญ่ ลำต้นแข็งตั้งตรง ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า”จุ๊ยเซียน” 

 

ดอกนาร์ซิสซัส (Narcissus )

าพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock   
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น 
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด

 

 

โรคนาซิซีติส โรคหลงตัวเอง

             Narcisisitic (นาซิซีติส) คือ โรคทางจิตชนิดหนึ่ง ที่น่าจะแปลเป็นไทยได้ว่า “โรคหลงตัวเอง” ซึ่งก็มาจากนิสัยของนาซิสซัสที่เป็นคนหลงตัวเอง 

 

ลักษณะของโรค            

           อาการของผู้ป่วยโรคนี้จะคล้ายคลึงกับนาร์ซีซัสตามเทพนิยายทุก ประการ กล่าวคือ เขาคลั่งไคล้ตัวเองมากเกินกว่าปกติ จนก่อให้เกิดความบกพร่องทางบุคลิกภาพขึ้นมาได้ จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการ 9 อย่างดังต่อไปนี้
(เรียบเรียงบางส่วนจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Narcissistic_personality_disorder)

            1. ฉันเป็นมือหนึ่งในปฐพี: สำคัญตัวเองผิด ผู้ป่วยมักเข้าใจไปเองว่าตัวเองเป็นบุคคลที่มีความสามารถโดดเด่นเหนือคนอื่นทั้งปวงในโลกนี้
            2. ฉันทำอะไรก็เทพหมด: คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จในทุกด้านอย่างไม่มีขีดจำกัด เลิศเลอ perfect ไปทุกอย่าง
            3. ไม่มีใครเข้าใจฉันนอกจากขั้นเทพด้วยกัน: เข้าใจว่าตัวเองเป็นบุคคลพิเศษ ซึ่งก็จะมีแต่บุคคลพิเศษด้วยกันเท่านั้นที่จะเข้าใจตัวเขาได้
            4. ฉันเท่ห์ที่สุดในโลก: ต้องการการชื่นชมสนใจจากคนอื่นมากเกินไป
            5. ก็ฉันยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ใครจะทำอะไรฉันได้: มีความรู้สึกว่าไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ถูกต้องไปหมดทุกอย่าง จึงไม่มีความรู้สึกผิดเวลาที่ทำอะไรผิดพลาด
           6. ทำโน่นทำนี่ให้ฉันที: ชอบใช้คนอื่นเป็นเครื่องมือเพื่อทำประโยชน์บางอย่างแก่ตัวเองอยู่เสมอ
           7. คนอื่นจะเป็นยังไงฉันไม่สน: จิตใจกระด้างเย็นชา ไม่มีความเห็นอกเห็นใจคนรอบข้าง 
           8. นี่ทำอะไรก็เทพหมด / คนอื่นๆ อิจฉาฉันเพราะฉันเก่งกว่าพวกนั้นทุกคน: อิจฉาริษยาคนรอบข้าง และ/หรือ มีความเชื่อว่าคนอื่นๆ รอบตัวกำลังอิจฉาตัวเขาอยู่
          9. อะไร ๆ ที่ไม่ถูกใจถือว่างี่เง่าหมดสำหรับฉัน: แสดงความหยิ่ง ยะโส โอหัง ออกมาทั้งทางพฤติกรรม คำพูด และทัศนคติ

 

 าพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock   
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น 
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด



             ภายในบุคลิกภาพของแต่ละคนนั้นมีส่วนผสมกันระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมใน การเลี้ยงดู ซึ่งทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในบุคลิกภาพของแต่ละคนขึ้นมา ซึ่งอาการของโรคหลงตัวเองนั้น ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันมาด้วยจากรุ่นสู่รุ่น

            คนที่เป็นโรคหลงตัวเอง ถ้าเป็นคนที่มีอำนาจก็จะแสดงกิริยากดขี่ผู้น้อย

            แต่ถ้าไม่ใช่ผู้มีอำนาจ ก็มักที่จะแสดงออกให้คนอื่นเห็นถึงความเก่งกาจของตัวเอง ซึ่งสำหรับพวกที่มีอาการรุนแรง ก็จะพยายามแสดงออกโดยไม่สนว่าจะต้องใช้วิธีการเช่นไร 

           ซึ่งเคยมีข่าวที่เกิดในสหรัฐเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับเด็กวัยรุ่นที่ใช้เงินพ่อแม่จองตั๋วเครื่องบินไปเที่ยว ตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับแฟนสาว ก่อนที่จะถูกพ่อแม่จับได้ ซึ่งภายหลังก็ได้ทำร้ายพ่อแม่จนเสียชีวิต ก่อนที่จะนำเงินของพ่อแม่ออกไปเที่ยวกับเพื่อนสาวในทันทีโดนไม่สนใจที่จะ จัดการกับเหตุการณ์ที่ตนได้ก่อขึ้น ราวกับว่ามันไม่ได้เกิดอะไรขึ้นเลย     

 

 าพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock   
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น 
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด

 

           อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคนี้อาจไม่แสดงอาการครบทั้ง 9 อย่างนี้ก็ได้ การแสดงออกอาการเพียง 4-5 อย่างก็ถือว่าเข้าข่ายการเป็นโรคนี้แล้ว

            โรคนี้จะเกิดขึ้นกับน้อยกว่า 1% ของประชากรโดยรวม และพบเพียง 2-16% ของผู้ป่วยจิตเภทด้วยซ้ำ ผู้ป่วยโรคนี้จึงพบได้ยากในสังคมทั่วไป ผู้ป่วยมักทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนร่วมงานและบุคคลรอบข้างเสียไป เพราะสังคมไม่ยอมรับในตัวของเขา

 

อาการของโรค
             โรคนี้พัฒนาขึ้นในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น

             ต้นตอของโรคเกิดจากปมด้อยอันน่าอับอายของผู้ป่วยที่คิดว่าสังคมทั่วไปไม่ยอม รับ ทำให้เขาสร้างเกราะขึ้นมาปกป้องจิตใจอันบอบบางจากการปฏิเสธและการโดดเดี่ยว จากสังคม ผู้ป่วยจึงสร้างความคลั่งไคล้ในตัวเองขึ้นมาเพื่อชดเชยกับการขาดการยอมรับ เหล่านั้น ความเชื่อดังกล่าวจะฝังอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกทำให้ยากต่อการรักษาด้วย จิตแพทย์ เพราะแม้แต่ผู้ป่วยเองก็ยังกลัวที่จะเปิดเผยความลับในระดับจิตใต้สำนึกเช่น เดียวกัน

           ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการซาดิสต์ร่วมด้วย

           โดยผู้ป่วยมักจะทำร้ายจิตใจของผู้อื่นด้วยการดูถูกถากถางอย่างจงใจ (intentional insult) เพื่อทำให้เหยื่อเกิดความบาดเจ็บทางจิตใจ เป็นการชดเชยกับประสบการณ์ร้ายที่ตนเคยประสบมาในอดีต

           ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ยังเกลียดการเสียหน้าเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการทำให้เขาเสียหน้า เพราะจะเป็นการกระแทกเข้าที่ปมด้อยในด้านสังคมของผู้ป่วยอย่างรุนแรง

           ผู้ป่วยอาจสร้างเกราะในจิตใจเพิ่มขึ้นทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้ หรือหากเป็นการละเมิดหน้าอย่างร้ายแรง ผู้ป่วยอาจขาดความยับยั้งชั่งใจและกระทำการต่างๆ เพื่อปกป้องหน้าของเขาได้ เช่น การทำร้ายร่างกาย หรือแม้แต่การฆ่า 

         ความจริง อาการของการหลงตัวเองนี้ เราทุกคนต่างก็ล้วนมีอาการเหล่านี้อยู่กับตัว ซึ่งข้อดีของมันก็คือสร้างให้เรามีความมั่นใจในตัวเอง และมีความทะเยอทะยาน แต่ถ้ามันมีมากจนเกินกว่าที่จะควบคุม มันก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่

 

 

 าพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock   
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น 
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด


สาเหตุการเกิดโรคหลงตัวเอง

การเกิดอาการหลงตัวเองนี้ นอกจากพันธุกรรมแล้ว การเลี้ยงดูก็มีส่วนอย่างมากที่ก่อให้เกิดอาการหลงตัวเอง
 

เพราะในครอบครัวที่มักจะถือดีถือเด่น ก็จะส่งผลให้เด็กมีอาการเช่นนั้นตามไปด้วย ซึ่งเราสามารถเห็นการแสดงออกของการหลงตัวเองได้ง่าย ๆ ตามละครหลังข่าวต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรมการชอบดูแคลนคนอื่น การแสดงออกให้เห็นว่าตัวเองอยู่สูงกว่า รวมไปถึงการอิจฉาผู้อื่นที่ดีกว่าตน และพร้อมที่จะทำลายคนนั้นให้เสียหาย สิ่งเหล่านี้คืออาการของโรคหลงตัวเองแทบทั้งสิ้น
 

 คนที่เป็นโรคหลงตัวเอง มักที่จะมีความเครียดตลอดเวลา และเกรงกลัวที่ตนเองต้องขายหน้า จึงพยายามทำให้ตัวเองดูเด่นและมีความมั่นใจในตนเองในระดับที่สูงมาก ซึ่งถ้าได้รับการตอบสนองที่ดีก็จะเป็นการกระตุ้นให้อาการหนักขึ้น


 แต่ในทางตรงข้ามกัน ถ้าไม่ได้การตอบสนอง ก็จะเกิดความผิดพลาดอย่างหนักจนอาจจะทำให้เกิดการซึมเศร้า หรืออาจเกิดเหตุร้ายแรงตามข่าวที่ได้ยกมาขั้นต้นได้

 

วิธีบำบัด

            การบำบัดคนที่มีอาการของการหลงตัวเองนี้จำเป็นที่จะต้องใช้เวลา เพื่อเยียวยาและลดพฤติกรรมในอาการหลงตัวเองลง แต่ก็ต้องดูด้วยว่าคน ๆ นั้นมีอาการหลงตัวเองที่มากเกินไปหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่กลวิธานป้องกันตัวเองของเขา ซึ่งความจริงการอวดอ้างตัวเองถือเป็นกลวิธานป้องกันตัวเองอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่มีขึ้นเพื่อควบคุมสภาวะจิตให้อยู่ในระดับที่สมดุล หลายคนใช้การอวดอ้างเพื่อลดปมด้อยหรือความผิดพลาดให้กับตัวเอง ซึ่งบางทีเราอาจต้องแบ่งแยกระหว่างคนหลงตัวเองกับคนที่กำลังใช้กลวิธานป้องกันตัวเองรูปแบบนี้

             และนอกจากนี้คนที่อยู่ใกล้ชิดก็ต้องมีความเข้าใจว่า โรคหลงตัวเองนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนเห็นว่า เป็นนิสัยติดตัว บางครั้งคนที่เป็นก็อาจจะควบคุมตัวเองไม่ได้ จึงควรที่จะเห็นใจและพยายามปรับตัวให้ใช้ชีวิตร่วมกับคนเช่นนี้ได้อย่าง เหมาะสม

           และสำหรับการเลี้ยงดูเด็กให้ห่างไกลจากอาการหลงตัวเองนั้น คือ

           การให้เด็กรู้จักกับการใช้ชีวิตในสังคมเพื่อนฝูงในหลากหลายระดับ ซึ่งมีพ่อแม่หลายคนมองว่าการแยกเด็กออกมาจากเพื่อน ๆ นั้น จะเป็นการดี แต่ถ้ามองในเรื่องของพัฒนาการในสังคมแล้ว นับเป็นเรื่องไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการยอมรับในระดับเพื่อนฝูงเท่านั้นที่ช่วยสร้างความมั่นใจของวัยเด็กที่ต้องการเพื่อน ซึ่งการยอมรับนั้นก็ทำให้ปัญหาทางพฤติกรรมหลาย ๆ ปัญหาจางหายไปจากตัวเด็กได้ไม่ยาก ซึ่งพ่อแม่ก็อาจช่วยลูกได้ในการสอนให้เด็กรู้จักเลือกคบเพื่อนอย่างเหมาะสม

 

              สังเกตได้ว่า  ในสังคมปัจจุบัน มีปัญหาแบบนี้เยอะแต่สังคมไทยเรายังไม่ให้ความสำคัญจริงจังในแง่มุมของจิตวิทยา เนื่องจากดูใหม่สำหรับสังคมไทย  ถ้าเราเข้าใจและรู้จักที่จะดูแลป้องกัน ปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดทอนลงไปได้มาก เรื่องแบบว่า “รู้ไหมว่า…ลูกใคร” ก็คงจะน้อยลงไปด้วยก็เป็นได้

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงจาก

-- บทความโดยนายนรรัชต์ ฝันเชียร

https://thaipsychiatry.wordpress.com/2010/05/18/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87/

-- https://forum.asura.in.th/index.php?topic=10580.0