คำสรรพนาม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 126.6K views



คำสรรพนาม

ความหมายของคำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามในประโยคสื่อสารโดยที่ผู้พูดหรือผู้เขียนได้กล่าวมาแล้ว และไม่ต้องการกล่าวคำนามนั้นซ้ำ แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

1. บุรุษสรรพนาม  หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ถูกกล่าวถึง แบ่งออกได้ 3 ชนิด คือ
1.1 สรรพนามบุรุษที่ 1 คือ สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด ได้แก่ ฉัน ผม เรา ข้าพเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า กระผม ดินฉัน อาตมา
ตัวอย่างประโยค
- มีอะไรให้ อาตมา ช่วย
- มีอะไรให้ กระผม ช่วย
1.2 สรรพนามบุรุษที่ 2 สรรพนามที่ใช้แทนผู้ฟัง ที่เราสนทนาด้วย ได้แก่ เขา มัน ท่าน เธอ แก
ตัวอย่างประโยค
- มาลี เธอ ช่วยนำผลไม้ไปให้คุณป้าด้วยนะ
- ได้ค่ะ ท่าน
1.3 สรรพนามบุรุษที่ 3 สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่ถูกกล่าวถึง ได้แก่ เขา ท่าน พระองค์
ตัวอย่างประโยค
- คุณแม่ของฉัน ท่าน ชอบรับประทานผลไม้สด
- เรานำของขวัญไปให้ เขา เถอะ
ข้อสังเกต บุรุษสรรพนามบางคำ เป็นทั้งคำสรรพนามบุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 เช่นคำว่า “ท่าน”
ตัวอย่าง    
ลัดดา : “แจ๋ว...เธอนำกระเช้ากุหลาบไปให้คุณแม่ของฉันด้วย ท่าน ชอบดอกกุหลาบ”
(ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3)
แจ๋ว   : “ได้ค่ะ ท่าน”
(ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2)

2. ปฤจฉาสรรพนาม  หมายถึง คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนาม แต่มีเนื้อความเป็นคำถาม คือ มีคำว่า ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด
ตัวอย่างประโยค
-ใคร ขาดเรียนวันนี้
-ไหน คือไม้บรรทัดของฉัน
- อะไร อยู่ในกระเป๋า
ข้อสังเกต ปฤจฉาสรรพนาม (สรรพนามใช้ถาม) เป็นประโยคที่ต้องการคำตอบ และคำสรรพนามนั้นต้องกล่าวลอย ๆ โดยไม่ประกอบคำอื่น ๆ เช่น
- ใคร ทิ้งขยะบนพื้นห้อง
- ไหน คือดินสอของฉัน

3. อนิยมสรรพนาม  คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนาม ไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจงใช้ในประโยคบอกเล่า ได้แก่ คำว่า ใคร อะไร ไหน ผู้ใด
ตัวอย่างประโยค
- ไหน ๆ คุณก็มาเที่ยวไร่ของผมแล้ว ขอเชิญชิมเงาะของสวนผมก่อน
- อะไร ก็ไม่สำคัญเท่าความกตัญญู ต่อพ่อแม่
ข้อสังเกต อนิยมสรรพนาม (สรรพนามบอกความไม่เจาะจง) เป็นประโยคที่กล่าวลอย ๆ โดยไม่ต้องการคำตอบ เช่น
- ผู้ใด  ทำดีย่อมได้รับผลดีตอบแทน
- ใคร ๆ  ก็ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

4. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม ที่อยู่ข้างหน้าเพื่อจำแนกนามนั้นออกเป็นส่วน ๆ เป็นพวก ๆ ได้แก่ คำว่า กัน ต่าง บ้าง
ตัวอย่างประโยค
- เรา ต่าง ก็เป็นพลเมืองของประเทศไทย
- นักมวยชก กัน บนเวที
- นกเป็ดน้ำฝูงนั้น บ้าง ก็ว่ายน้ำ บ้าง ก็ขึ้นมาเดินบนตลิ่ง
ข้อสังเกต วิภาคสรรพนาม (สรรพนามเชื่อมประโยค) จะอยู่หลังคำนาม หรือ สรรพนามเท่านั้น เช่น
- นักเรียน ที่ ได้รับเกียรติบัตรยืนอยู่แถวหน้า
(นักเรียน เป็นคำนาม)
(ที่ เป็นวิภาคสรรพนาม ซึ่งอยู่หลังคำนาม)
- เธอ ซึ่ง ได้รับภัยพิบัติจากสึนามิ
(เธอ เป็นคำสรรพนาม)
(ซึ่ง เป็นวิภาคสรรพนาม ที่อยู่หลังคำสรรพนาม)

5. ประพันธสรรพนาม หมายถึง คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนาม เพื่อเชื่อมประโยค ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ดัง ผู้ที่ ผู้ซึ่ง คำเหล่านี้จะวางอยู่หลังคำนาม หรือ คำสรรพนาม
ตัวอย่างประโยค
- ครูยกย่องนักเรียน ผู้ ขยันและตั้งใจเรียน
- คน ที่ ยืนอยู่นั้นเป็นทหาร
- ของ ซึ่ง วางอยู่ในห้องหายไป
- ฉันนับถือ ผู้ที่ เสียสละ