การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญา 1/2
การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญา 2/2
การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนตามรูปแบบพหุปัญญา
ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย
โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับอนุบาลและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ เป็นโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
นอกจากจะมุ่งมั่นในการปฏิบัติรูปแบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ แล้ว ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ไปพร้อม ๆ กัน
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ตามแนวคิดดังกล่าวทำให้ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ต้องเริ่มสำรวจสถานภาพปัจจุบันของผู้บริหาร ครู ผู้เรียน และผู้ปกครองอย่างรอบด้านว่าสถานการณ์การจัดการศึกษาในปัจจุบันมีจุดเด่น จุดด้อย จุดอ่อน จุดแข็งอยู่ตรงไหน อย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางใหม่ของการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงที่สุดตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
นี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนที่จะเริ่มต้นค้นหานวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อคัดสรรให้เป็นหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อค้นพบ : ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา
ข้อค้นพบที่สำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย มีรายละเอียดปลีกย่อยในหลายมิติสรุปเป็นมิติใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้
มิติด้านพฤติกรรมของครู
1. ขาดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลายหลาย
2. ขาดการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
3. ขาดเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
4. การจัดการเรียนรู้เน้นการบรรยาย การสาธิต โดยยึดครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ฯลฯ
มิติด้านพฤติกรรมของผู้เรียน
1. ผู้เรียนขาดการมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนรู้
2. ผู้เรียนส่วนน้อยได้ลงมือปฏิบัติจริงกับสื่อที่เป็นรูปแบบ
3. ผู้เรียนมีโอกาสน้อย ฯลฯ
มิติด้านพฤติกรรมของผู้ปกครอง
1. ไม่มีเวลาร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเพราะต้องประกอบอาชีพ
2. ผู้ปกครองขาดการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
3. ผู้ปกครองติดยึดกับรูปแบบการสอนที่เน้นการท่องจำ ฯลฯ
การพัฒนานวัตกรรม
ปัญหาที่โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาเผชิญอยู่เป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความขัดแย้งกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ทำให้ผู้บริหารและครูร่วมกันถอดบทเรียนจากทฤษฎีที่เกี่ยวเนื่องกับเชาว์ปัญญาที่หลากหลายมาวิเคราะห์ เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในโรงเรียน ซึ่งก็ได้ทฤษฏีที่หลากหลาย อาทิ
- ทฤษฏีปัญญาของสเปียร์แมน
- ทฤษฏีโครงสร้างปัญญา ๑๕๐ ชนิดของกิลฟอร์ด
- ทฤษฏีพหุปัญญา ฯลฯ
หลังการวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้ว คณะผู้บริหารและครูก็ได้เลือกทฤษฏีพหุปัญญามาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะทฤษฏีดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่งทฤษฏีดังกล่าวจะมีส่วนอย่างสำคัญในการพัฒนาปัญญาทั้ง ๙ ด้าน ได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ศิลปะ ด้านความถนัดทางกาย ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
๕ ขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้พหุปัญญา
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบของพหุปัญญา คณะผู้บริหารและครูได้จัดลำดับการพัฒนาในส่วนของครูและผู้เรียนไว้ ดังนี้
๑. ครูผู้สอนดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร โดยเลือกสาระกาเรียนรู้ที่จะสอน
๒. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ในรูปของหน่วยบูรณาการ
๓. จัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียนทั้ง ๙ ด้าน โดยมีการจัดกิจกรรมตามหลักการ ๕ ขั้น ที่ใช้อักษรย่อว่า ACACA ได้แก่
- ขั้นที่ ๑ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active Learning)
- ขั้นที่ ๒ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (Cooperative)
- ขั้นที่ ๓ ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์การเรียนรู้ (Analysis)
- ขั้นที่ ๔ ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism)
- ขั้นที่ ๕ ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (Application) จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
เพื่อให้เห็นกระบวนการและตัวอย่างของการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติขอนำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
บทสรุปของความสำเร็จ
การดำเนินการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย นับเป็นต้นแบบความสำเร็จของการร่วมคิดร่วมพัฒนา หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในโรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัยนั้นมีมากมาย ทั้งในส่วนของผู้บริหาร ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ที่ล้วนแต่มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการรวมพลังปัญญาพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่มิใช่เฉพาะผู้เรียนเท่านั้น หากแต่เป็นการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาศักยภาพของคนไทย
สื่อการเรียนรู้
๑. หนังสือพิมพ์
๒. กาว
๓. กระดาษแผ่นใหญ่
๔. กรรไกร
๔.๑ ใบงานให้นักเรียนทำใบงานคัดชื่อของตนเองคนละ ๕ ชื่อ
๔.๒ ใบงานให้นักเรียนคัดชื่อคุณพ่อ คุณแม่ ชื่อคุณครูประจำชั้น คนละ ๑ ชื่อพร้อมกับใบงานเติมตัวพยัญชนะ ก-ฮ ที่หาย ๆ ไป
ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย
โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับอนุบาลและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ เป็นโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
นอกจากจะมุ่งมั่นในการปฏิบัติรูปแบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ แล้ว ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ไปพร้อม ๆ กัน
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ตามแนวคิดดังกล่าวทำให้ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ต้องเริ่มสำรวจสถานภาพปัจจุบันของผู้บริหาร ครู ผู้เรียน และผู้ปกครองอย่างรอบด้านว่าสถานการณ์การจัดการศึกษาในปัจจุบันมีจุดเด่น จุดด้อย จุดอ่อน จุดแข็งอยู่ตรงไหน อย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางใหม่ของการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงที่สุดตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
นี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนที่จะเริ่มต้นค้นหานวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อคัดสรรให้เป็นหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อค้นพบ : ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา
ข้อค้นพบที่สำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย มีรายละเอียดปลีกย่อยในหลายมิติสรุปเป็นมิติใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้
มิติด้านพฤติกรรมของครู
1. ขาดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลายหลาย
2. ขาดการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
3. ขาดเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
4. การจัดการเรียนรู้เน้นการบรรยาย การสาธิต โดยยึดครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ฯลฯ
มิติด้านพฤติกรรมของผู้เรียน
1. ผู้เรียนขาดการมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนรู้
2. ผู้เรียนส่วนน้อยได้ลงมือปฏิบัติจริงกับสื่อที่เป็นรูปแบบ
3. ผู้เรียนมีโอกาสน้อย ฯลฯ
มิติด้านพฤติกรรมของผู้ปกครอง
1. ไม่มีเวลาร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเพราะต้องประกอบอาชีพ
2. ผู้ปกครองขาดการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
3. ผู้ปกครองติดยึดกับรูปแบบการสอนที่เน้นการท่องจำ ฯลฯ
การพัฒนานวัตกรรม
ปัญหาที่โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาเผชิญอยู่เป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความขัดแย้งกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ทำให้ผู้บริหารและครูร่วมกันถอดบทเรียนจากทฤษฎีที่เกี่ยวเนื่องกับเชาว์ปัญญาที่หลากหลายมาวิเคราะห์ เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในโรงเรียน ซึ่งก็ได้ทฤษฏีที่หลากหลาย อาทิ
- ทฤษฏีปัญญาของสเปียร์แมน
- ทฤษฏีโครงสร้างปัญญา ๑๕๐ ชนิดของกิลฟอร์ด
- ทฤษฏีพหุปัญญา ฯลฯ
หลังการวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้ว คณะผู้บริหารและครูก็ได้เลือกทฤษฏีพหุปัญญามาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะทฤษฏีดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่งทฤษฏีดังกล่าวจะมีส่วนอย่างสำคัญในการพัฒนาปัญญาทั้ง ๙ ด้าน ได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ศิลปะ ด้านความถนัดทางกาย ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
๕ ขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้พหุปัญญา
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบของพหุปัญญา คณะผู้บริหารและครูได้จัดลำดับการพัฒนาในส่วนของครูและผู้เรียนไว้ ดังนี้
๑. ครูผู้สอนดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร โดยเลือกสาระกาเรียนรู้ที่จะสอน
๒. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ในรูปของหน่วยบูรณาการ
๓. จัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียนทั้ง ๙ ด้าน โดยมีการจัดกิจกรรมตามหลักการ ๕ ขั้น ที่ใช้อักษรย่อว่า ACACA ได้แก่
- ขั้นที่ ๑ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active Learning)
- ขั้นที่ ๒ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (Cooperative)
- ขั้นที่ ๓ ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์การเรียนรู้ (Analysis)
- ขั้นที่ ๔ ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism)
- ขั้นที่ ๕ ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (Application) จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
เพื่อให้เห็นกระบวนการและตัวอย่างของการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติขอนำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
บทสรุปของความสำเร็จ
การดำเนินการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย นับเป็นต้นแบบความสำเร็จของการร่วมคิดร่วมพัฒนา หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในโรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัยนั้นมีมากมาย ทั้งในส่วนของผู้บริหาร ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ที่ล้วนแต่มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการรวมพลังปัญญาพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่มิใช่เฉพาะผู้เรียนเท่านั้น หากแต่เป็นการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาศักยภาพของคนไทย
สื่อการเรียนรู้
๑. หนังสือพิมพ์
๒. กาว
๓. กระดาษแผ่นใหญ่
๔. กรรไกร
๔.๑ ใบงานให้นักเรียนทำใบงานคัดชื่อของตนเองคนละ ๕ ชื่อ
๔.๒ ใบงานให้นักเรียนคัดชื่อคุณพ่อ คุณแม่ ชื่อคุณครูประจำชั้น คนละ ๑ ชื่อพร้อมกับใบงานเติมตัวพยัญชนะ ก-ฮ ที่หาย ๆ ไป