บทเรียนออนไลน์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ตัวเรา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 56.2K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

 

 

 

ปัจจัยสำหรับการดำรงชีวิต
   อาหาร
   คือ สิ่งที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แบ่งออกเป็น 5 หมู่ ดังนี้
       หมู่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ถ้าขาดร่างกายจะหยุดเจริญเติบโต

 

 

 

 

 

       หมู่ 2 ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ถ้าขาดร่างกายจะเจ็บป่วยง่าย

 

 

 

 

 

 

 

       หมู่ 3 ได้แก่ ผักต่าง ๆ ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ตามปกติ ต้านทานโรค ทำให้กระดูกและฟันให้แข็งแรง

 

 

 

 

 

 

       หมู่ 4 ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ ควบคุมการทำงานของร่างกาย ต้านทานโรค ถ้าขาดร่างกายจะเกิดโรคง่าย

 

 

 

 

 

 

         หมู่ 5 ได้แก่ ไขมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่เรา ถ้าเราใช้พลังงานน้อย จะสะสมตามร่างกาย เกิดโรคอ้วน

 

 

 

 

 

 

   หลักการรับประทานอาหารให้มีสุขภาพดีควรปฏิบัติ ดังนี้
      1. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบ 5 หมู่
      2. รับประทานอาหารที่สะอาด
      3. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารหมักดอง และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

 


   น้ำ

 

 

 

 

 

 

       เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย และยังนำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การย่อยอาหาร การลำเลียงอาหาร การปรับอุณหภูมิของร่างกาย และทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น
       ร่างกายจะสูญเสียน้ำประมาณวันละ 2.7 – 3.2ลิตร เราจึงควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอจากการดื่มน้ำสะอาดประมาณ 7–8 แก้วต่อวัน และจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ

 


   อากาศ
       แก๊สที่หายใจเข้าไปคือออกซิเจน และแก๊สที่หายใจออกมาคือคาร์บอนไดออกไซด์
       แก๊สออกซิเจนจะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดและไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้เกิดพลังงาน จากนั้นเลือดจะรับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากของเสียในกระบวนการดังกล่าวกลับมายังปอด และปล่อยออกนอกร่างกายขณะที่เราหายใจออก

 

 

 

 

 

 

การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
   การตอบสนองต่อแสง
     
 เราจะหรี่ตาให้แสงเข้าตาน้อยลง ถ้าผิวหนังถูกแสงมาก ร่างกายของเราจะสร้างเม็ดสีมากขึ้นทำให้ผิวคล้ำมากกว่าปกติ

 

 

 

 

 

 

   การตอบสนองต่ออุณหภูมิ
       เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติจะขับเหงื่อออกมา เพื่อทำให้อุณหภูมิในร่างกายเย็นลง และเมื่ออากาศหนาว ร่างกายจะปรับตัวให้อบอุ่นขึ้นด้วยการทำให้ขนตั้งชี้ขึ้น เรียกว่า ขนลุก

 

 

 

 

 

 

   การตอบสนองต่อการสัมผัส

 

 

 

 

 

 

       เราจะชักเท้าหนีทันทีเมื่อเหยียบตะปู หรือชักมือหนีเมื่อจับวัตถุที่ร้อน หรือเราจะเอามือปิดหูเมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้อง หรือเอามือปิดจมูกเมื่อได้กลิ่นเหม็น

 

 


แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th