บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 87.3K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



 

 

ผู้แต่ง
   คณะกรรมการแพทย์หลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



ลักษณะคำประพันธ์
   ร่ายและกาพย์



เรื่องย่อ
   ต้นเรื่องจะเริ่มด้วยบทไหว้ครูและขอพรให้ตนเอง ถัดมาจะบอกวัตถุประสงค์การแต่ง แล้วจึงเข้าสู่เนื้อเรื่องว่าด้วยโรคเจ็บไข้ต่าง ๆ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมของคนไข้ที่รักษาโรคไม่หาย ตลอดจนจรรยาของแพทย์ในการรักษาคนไข้



สาระน่ารู้
จรรยาแพทย์แผนโบราณ
   แพทย์ที่มีจรรยาควรมีความเมตตาต่อคนไข้ ละอายต่อการทำความชั่ว มีเหตุและผล ไม่เห็นแก่ลาภ ไม่โอ้อวด ไม่รักษาคนไข้อย่างไม่เข้าใจ ไม่ปิดบังความดีของผู้อื่น ไม่กันลู่ทางรักษาคนไข้ที่เป็นลาภแก่ผู้อื่น ไม่เกียจคร้านและมักง่าย ไม่เป็นคนหลงระเริงมัวเมา ไม่ลุอำนาจแก่อคติทั้ง ๔ คือ ความรักใคร่พอใจ ความโกรธ ความกลัว และความหลง และไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม คือ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้รับสรรเสริญ ถูกความนินทา ได้ยศศักดิ์ เสื่อมยศศักดิ์ ได้รับความสุข ได้รับความทุกข์



ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
   ๑. ผู้ที่เป็นแพทย์ควรชำนาญในเรื่องโรคและรู้วิธีการรักษาโรคต่าง ๆ อีกทั้งควรประกอบด้วยคุณธรรม อาทิเช่น การมุ่งรักษาคนไข้ให้หายจากโรคโดยไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นต้น
   ๒. ผู้ที่เป็นคนไข้ไม่ควรเชื่อเรื่องกรรมอย่างงมงาย เพราะการรักษาโรคไม่หายอาจเป็นผิดพลาดของแพทย์ และขณะเดียวกันแพทย์ที่ดีก็ไม่ควรปกปิดความผิดโดยอ้าง “กรรม”

 


คำสำคัญ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ จรรยาแพทย์ 

 



แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th