ภาษาไทย ป. 5 เรื่อง ชนิดของคำ กลอนบทละคร
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 21K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

ผังมโนทัศน์การเรียนรู้ สังข์ทอง

 

ชนิดของคำ

            คำบุพบท ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือกลุ่มคำแบ่งออกเป็นหลายชนิด ได้แก่คำบุพบทบอกสถานที่   คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ  บุพบทบอกความเกี่ยวข้อง  บุพบทบอกเวลา  และบุพบทบอกความประสงค์

            คำสันธาน คือ คำที่เชื่อมข้อความ ๒ ข้อความเข้าด้วยกัน มีหลายลักษณะ ได้แก่ คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน  คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน  และคำสันธานเชื่อมประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

            คำคล้องจอง คือ คำที่มีเสียงสระเดียวกัน หรือคำที่มีเสียงสระและตัวสะกดมาตราเดียวกัน เช่น มีสระเดียวกัน  มีสระเดียวกันและมีตัวสะกดมาตราเดียวกัน            

            คำคล้องจอง ๔ พยางค์ เป็นการเขียนคำคล้องจองที่พยางค์ท้ายของคำหน้าคล้องจองกับพยางค์แรกหรือพยางค์ที่สองของคำหลัง

            คำคล้องจองที่เป็นกลุ่มคำ ๔ คำ เป็นพื้นฐานในการแต่งกลอนสี่ ซึ่งเป็นกลอนที่มีจำนวนคำวรรคละ ๔ คำ บทหนึ่งมี ๒ บาท แต่ละบาทมี ๒ วรรค 

 

กลอนบทละคร เป็นกลอนที่มีจำนวนคำในแต่ละวรรค ๖—๘ คำ มักมีคำขึ้นต้นบทดังนี้

            เมื่อนั้น                        กล่าวถึงตัวละครที่มีตำแหน่งสูง หรือเป็นผู้ใหญ่

            บัดนั้น                         กล่าวถึงตัวละครที่มีตำแหน่งต่ำกว่าหรือผู้น้อย

            มาจะกล่าวบทไป            กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนใหม่

การอ่านกลอนบทละคร แบ่งจังหวะการอ่านในแต่ละวรรค ดังนี้

                        ถ้าวรรคหนึ่งมี ๖ คำ แบ่งคำอ่านเป็นจังหวะ ดังนี้

                        ๐๐ / ๐๐ / ๐๐               คิดถึง / ลูกน้อย / หอยปู

                        ถ้าวรรคหนึ่งมี ๗ คำ แบ่งคำอ่านเป็นจังหวะ ดังนี้

                        ๐๐๐ / ๐๐ / ๐๐                 หรือ           ๐๐ / ๐๐ / ๐๐๐

                        จึงบันดาล / ให้เป็น / ไก่ป่า                   เดินไป / สักครู่ / แล้วจู่มา

                        ถ้าวรรคหนึ่งมี ๘ คำ แบ่งคำอ่านเป็นจังหวะ ดังนี้

                        ๐๐๐ / ๐๐ / ๐๐๐         พระมารดา / นึกใน / พระทัยอยู่

 

 

แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th