บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง วิกฤตการณ์ธรรมชาติ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 20.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้




1.ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
          วาตภัย เป็นพายุ ในไทยมี 2 ลักษณะ คือ
                    พายฤดูร้อน ทำให้ภาคเหนือมีอากาศร้อนอบอ้าวและชื้น ถ้ามีลมเหนือซึ่งพัดพาความเย็นพัดลงมา อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้อากาศจะเริ่มแปรปรวนรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บตก
                    พายุหมุนเขตร้อน เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัสได้ก่อตัวหนาขึ้นทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง การหมุนเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ




                    - พายุดีเปรสชัน
                    - พายุโซนร้อน
                    - พายุไต้ฝุ่น

          อุทกภัย เกิดจากน้ำ แบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่
                    - น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดขึ้นจากฝนที่ตกหนักนานบนภูเขา ดินดูดซับน้ำไม่ทัน น้ำฝนจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว
                    - น้ำท่วมขัง เกิดจากน้ำฝนสะสมในปริมาณที่มาก ทำให้ที่ราบน้ำท่วมถึง หรือน้ำทะเลหนุนจนแม่น้ำในลำคลองเอ่อท่วม




          แผ่นดินถล่ม เกิดจากการเคลื่อนตัวของชั้นดิน
                   - ปัจจัยที่ส่งผลให้แผ่นดินถล่มมีความรุนแรงขึ้น ได้แก่ ปริมาณฝนที่ตกลงมา ลักษณะทางธรณีวิทยาของภูเขา
                   - จึงควรหลีกเลี่ยงการสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัย
                   - เมื่อสงสัยว่าจะเกิดแผ่นดินถล่มควรรีบอพยพออกจากพื้นที่




2. ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
          เอลนีโญ
                    - เกิดจากการไหลกลับของน้ำอุ่นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
                    - ทำให้บริเวณที่เคยมีฝนตกเป็นบริเวณที่มีอากาศแห้งแล้ง ทำให้เกิดไฟป่าและ บริเวณที่อากาศแห้งแล้งกลับมีฝนตกหนัก ทำให้เกิดอุทกภัย
                   - ทำลายระบบนิเวศในทะเล ส่งผลให้การเกิดพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรเขตร้อน ทำให้ระดับความรุนแรงและทิศทางมีการเปลี่ยนแปลง



 

          ลานีญา
                   - เกิดจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนมีกำลังแรงมากกว่าปกติพัดน้ำอุ่นจากแปซิฟิกตะวันออกสะสมบริเวณแปซิฟิกตะวันตกมากขึ้น
                   - ทำให้อุณหภูมิของน้ำบริเวณนี้ลดต่ำลง อากาศบริเวณนี้แห้งแล้งสูง
                   - ทำให้บางบริเวณมีฝนมากกว่าปกติและเกิดน้ำท่วม และบางบริเวณมีฝนน้อยกว่าปกติและแห้งแล้ง




          ภัยแล้ง
                   - เกิดจากความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศ ซึ่งมีทั้งเกิดจากมนุษย์ และ เกิดจากธรรมชาติ




          แผ่นดินไหว เกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นเปลือกโลก เกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
                    เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
                            - เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
                            - การระเบิดของภูเขาไฟ
                            - ชั้นหินหลอมละลายได้รับพลังงานความร้อนจากแก่นโลก
                            - เกิดการดันตัวขึ้นและผลักดันเปลือกโลกตลอดเวลา




                    เกิดจากการกระทำของมนุษย์
                            - กิจกรรมของมนุษย์บางอย่างที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว

          สึนามิ
                    - เกิดจากมวลของน้ำในทะเลและมหาสมุทรได้รับการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง
                    - แผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างกะทันหัน ทำให้น้ำทะเลเกิดการเคลื่อนตัว
                    - เมื่อสงสัยว่าจะเกิดคลื่นสึนามิให้อพยพออกจากพื้นที่ไปอยู่บริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง





3. ความร่วมมือทางด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
          - อนุสัญญาไซเตส เกิดขึ้นจากการตระหนักถึงความเสียหายจากการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า เพื่อควบคุมการค้าระหว่างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้จะสูญพันธุ์
          - อนุสัญญาแรมซาร์ วัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก
          - อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารมอนทรีออล เกิดจากความวิตกกังวลของนานาชาติจากการที่โอโซนถูกทำลายลง เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศของโลก
          - อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพิธีสารเกียวโต เกิดขึ้นจากความวิตกกังวลของนานาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลกที่ร้อนขึ้น เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศของโลก




 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th