บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง สรรหางานอาชีพ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 35.2K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



การหางานหรือตำแหน่งที่ว่าง
การหางานหรือตำแหน่งที่ว่างจากสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง
สิ่งที่พิมพ์ขึ้นบนแผ่นกระดาษ เพื่อใช้เป็นสื่อในการติดต่อหรือทำให้บุคคลได้รับทราบข้อความต่าง ๆ
แหล่งงานที่อยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์มีดังนี้
1. หนังสือพิมพ์ โดยประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ว่างและคุณสมบัติที่ต้องการ
2. วารสาร นิตยสาร แหล่งงาน งานทั่วไทย
3. จุลสาร ในวาระพิเศษ ซึ่งลงโฆษณาพร้อมกับประกาศรับสมัครงานไว้ท้ายเล่ม
4. สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์หรือสมุดหน้าเหลือง เช่น ประเภทของธุรกิจ รูปแบบธุรกิจ

 


การหางานหรือตำแหน่งที่ว่างจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งความรู้สำคัญในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ผู้สมัครงานสามารถเข้าไปค้นหาตำแหน่งงานที่ต้องการได้จากเว็บไซต์หางาน
นอกจากนี้ยังมีแหล่งงานอื่น ๆ อีก เช่น

1. สำนักงานจัดหางาน โดยมีวิธีการรับสมัครงาน 2 แบบ คือ
1) แบบตั้งรับอยู่ที่สำนักงาน
2) แบบเชิงรุกนอกสถานที่
2. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หน่วยงานราชการที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ประสงค์จะรับราชการ
3. หน่วยจัดหางานของมหาวิทยาลัย โดยมีหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกองกิจการนิสิต
4. การเข้าไปสมัครงานในองค์กรที่สนใจโดยตรง
5. ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่รู้จัก
6. อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
7. ศิษย์เก่าจากสถาบันการศึกษา

ความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
ความมั่นคงในการประกอบอาชีพ คือ สภาพการทำงานที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจว่าตนเองจะสามารถประกอบอาชีพนั้นได้ตามระยะเวลาที่กำหนดพร้อมกับได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่ตนเองพึงพอใจ

 


ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ คือการที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น หรือได้เลื่อนขั้นเงินเดือนเพิ่มขึ้น
1. ความมั่นคงในการประกอบอาชีพรับจ้าง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่แน่นอน ทำงานภายใต้คำสั่งของเจ้านาย
2. ความมั่นคงในการประกอบอาชีพอิสระ ความมั่นคงของอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของผู้ประกอบการในช่วงระยะต่าง ๆ ของวงจรชีวิตธุรกิจที่ดำเนินการอยู่

การประเมินทางเลือกอาชีพ
การประเมินทางเลือกอาชีพโดยสำรวจความพร้อมของตนเอง
1. การค้นหาทักษะ การค้นหาทักษะในตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรนำมาพิจารณาเลือกอาชีพ
2. การสำรวจจุดเด่นของตนเอง จุดเด่นเป็นลักษณะทางบุคลิกภาพที่ทุกคนมี
3. การสำรวจความสัมฤทธิผลทั่วไป โดยย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่มีความหมายสำหรับตนเองในอดีต ซึ่งเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งของชีวิต
4. การสำรวจความชอบหรือไม่ชอบ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการประเมินทางเลือกอาชีพ
5. การสำรวจขีดจำกัด เป็นการสำรวจข้อบกพร่องของตนเองว่ามีจุดอ่อนอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรค แล้วหาวิธีการปรับปรุงแก้ไข
6. การสำรวจค่านิยม สิ่งที่ยึดถือว่าดีงามสมควรปฏิบัติ ซึ่งแต่ละคนมีค่านิยมที่แตกต่างกัน
7. การสำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน สิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศการทำงาน
8. การสำรวจความต้องการเกี่ยวกับรายได้ ควรพิจารณาว่าตนเองมีความต้องการอย่างไร

การประเมินทางเลือกอาชีพโดยศึกษางานอาชีพ
1. หน่วยงานหรือบริษัท ควรรู้ว่าบริษัทดำเนินธุรกิจอะไร
2. ตำแหน่งงาน ควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงาน หน้าที่ที่รับผิดชอบ
3. ค่าตอบแทน พิจารณาค่าจ้างหรือค่าตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ ของบริษัทที่รับสมัคร
4. ความก้าวหน้าเป็นอย่างไร ตำแหน่งงานที่ตนเองทำมีโอกาสก้าวหน้าหรือพัฒนาได้ถึงขั้นใด


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th