ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เด็กแสดงออกมาเพราะเกิดความคับข้องใจจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้พบเจอ ซึ่งอาจมีสาเหตุดังนี้
• ความเจ็บป่วยทางกาย เมื่อเด็กไม่สบาย ร่างกายอ่อนแอ ทำให้ส่งผลต่อสภาพจิตใจ สิ่งที่เคยทำได้ก็จะไม่ทำเพราะรู้สึกไม่มั่นใจ ต้องให้พ่อแม่มาดูแล ทำโน่นทำนี่ให้ เอาใจใส่มากกว่าปกติ
• ปัญหาด้านจิตใจ (Traumatic Event, Stress, Frustation) เมื่อมีน้องคนใหม่ ลูกคนแรกมักแสดงอาการต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนเห็นว่าเขายังมีตัวตนและต้องเป็นที่หนึ่งอยู่เสมอ เช่น จากที่เคยเชื่อฟังกลายเป็นไม่ยอมฟัง ช่วยเหลือตัวเองได้ก็กลายเป็นไม่ทำ หรือทำไม่ได้เนื่องจากเด็กขาดความมั่นใจ กลัวว่าจะไม่ได้รับความรักจากพ่อแม่เหมือนเดิม
• เกิดจากโรคบางชนิด เช่น Rett Syndrome โดยเด็กจะมีพัฒนาการปกติในช่วงขวบปีแรก ต่อมาจะเริ่มพบความถดถอยทางภาษา การใช้มือและการเคลื่อนไหว เช่น จากที่พูดหรือสื่อสารได้ก็จะทำไม่ได้ มือที่เคยหยิบจับของเล่นได้ก็จะทำไม่ได้ และชอบสะบัดมือโบกไปมาอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย เคยทรงตัวและเดินได้ก็จะเริ่มเดินเซจนเดินไม่ได้ในที่สุด ซึ่งอาการเหล่านี้รวมเรียกว่า ALS: Amyotrophic Lateral Sclerosis, Duchenne Muscular Dystrophy, MPS
แม้เด็กวัย 1-3 ปี จะสามารถเริ่มทำความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้บ้างแล้ว แต่บางครั้งอาจมีเหตุการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจ ซึ่งเด็กยังระบายความเครียดออกมาไม่เป็น อาจทำให้เก็บกด เกิดความเครียดแบบสะสม จนนำไปสู่พฤติกรรมถดถอยได้ในที่สุด และอาจส่งผลต่อบุคลิกภาพของเด็กเมื่อโตขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรีบแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของลูกโดยเร็วที่สุด
• กระตุ้นให้พูดระบายความคิดและอารมณ์
• เป็นที่พึ่งพิงทางใจ รับฟังปัญหา แสดงออกด้วยท่าทีเข้าใจ
• ช่วยคิดหาทางออก หรือชมเชยเมื่อเด็กแก้ปัญหาได้อย่างชาญฉลาด
• หากิจกรรมผ่อนคลายทำร่วมกัน
ด้วยการแสดงให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่รักเขาทั้งคำพูดและการกระทำ เช่น การโอบกอด หอมแก้มก่อนนอน การบอกรัก ให้คำชื่นชมเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ดี
อย่าบังคับให้พี่ยอมน้อง ด้วยเหตุผลเพราะเขาเป็นน้อง แต่ควรมีคำพูดอื่นด้วย เช่น "น้องยังทำเองไม่เป็น ถ้าลูกช่วยน้อง อีกหน่อยน้องก็จะทำเองเป็น" และไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ไม่ว่าจะเรื่องหน้าตา ความฉลาด หรือพัฒนาการการเรียนรู้ เพราะเขาสามารถรับรู้ถึงการปฎิบัติที่แตกต่างกันได้ ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ และขาดความมั่นใจในตัวเองได้
เช่น ล้อเลียนปมด้อย หรือพูดถึงความผิด/เรื่องน่าอายของลูกต่อหน้าคนอื่น เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวดทางจิตใจ ซึ่งอาจกลายเป็นปมฝังอยู่ในใจลูกไปตลอดได้
เช่น ปกติเด็กสามารถกินข้าวเองได้ แต่พอมีน้อง เห็นพ่อแม่ป้อนข้าวน้องก็อยากให้มาทำให้ตัวเองบ้าง พ่อแม่ก็ไม่ควรไปดุหรือว่า แต่ส่งเสริมให้เด็กพยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยพ่อแม่คอยแนะนำและช่วยเหลืออยู่ใกล้ ๆ พร้อมให้คำชมเชยเวลาที่เขาสามารถทำอะไรได้เอง
ควรพาเด็กไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง และได้รับแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป