Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
ม. 6 ทำอย่างไร ให้สอบติด TCAS

  Favorite

          เข้าสู่ปีสุดท้ายของม.ปลาย ต้องมุ่งมั่นในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ขึ้น ม. 6 ทำอย่างไรให้สอบติด TCAS ทุกคนต้องมีเป้าหมาย มีคณะที่ต้องการ วันนี้พี่ ๆ จะพาน้อง ม. 6 มาปูเส้นทางสู่ความสำเร็จ พิชิตคณะในฝันไปด้วยกัน ความรู้ต้องแน่น ความมั่นใจต้องมา เตรียมตัวให้พร้อม ยังไงก็ไม่พลาด 

          TruePlookpanya อยู่กับน้อง ๆ ในทุกช่วงเวลา Update ทุกเรื่องที่ต้องรู้ แนะนำทุกเรื่องที่ควรเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเตรียมตัวสอบ แนะแนวค้นหาตัวเอง ศึกษาอาชีพในฝัน ค้นหาคณะที่ใช่ มหาวิทยาลัยที่ชอบ การอ่านหนังสือ ฝึกทำโจทย์ ติวเพิ่มเติม การสมัครสอบ ยื่นคะแนน พี่ ๆ มีตัวช่วยมาให้ทุกเรื่อง!! 
          ทั้งหมดเพื่อเตรียมความพร้อมให้น้อง ๆ พิชิต TCAS ก้าวสู่ความสำเร็จ สอบติดคณะในฝัน และมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ อีกมากมายทั่วประเทศ

ม. 6 ทำอย่างไร ให้สอบติด TCAS
พิชิตฝัน มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

 

 

1. เจอคณะเป้าหมาย

          คนมีเป้าหมาย คือคนที่มองเห็นอนาคต ก่อนจะออกลุย ต้องหาก่อนว่าจะลุยไปหาอะไร กำหนดเส้นชัยแห่งความสำเร็จไว้ก่อน ซึ่งสำหรับน้อง ม. 6 ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของช่วงเวลานี้คือ การสอบติด ได้เรียนในสาขาที่ชอบ ไม่มีความสำเร็จใด เกิดขึ้นโดยไม่มีการวางเป้าหมาย ดังนั้นเรามาปักหมุดกันก่อนว่าอะไรคือเป้าหมายแห่งความมุ่งมั่นของเรา ซึ่งต้องชัดเจน มีพลัง เวลานี้ต้องตัดสินใจได้แล้วว่า คณะไหนใช่เรา พร้อมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคณะนั้นมาอย่างดี มีข้อมูลประกอบเพียงพอต่อการตัดสินใจ

 

2. รู้จริง เข้าใจ และเท่าทันระบบ TCAS  

          อัปเดตระบบ TCAS ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เข้าใจรูปแบบและกฏเกณฑ์ เงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย เมื่อน้อง ๆ ชัดเจนแล้วว่าคณะเป้าหมายคืออะไร ก็ต้องรู้ต่อไปด้วยว่า สาขานั้นสอบเข้าด้วยรูปแบบใด สอบวิชาอะไร ใช้องค์ประกอบอะไร สัดส่วนเท่าไหร่ และที่สำคัญต้องติดตามข่าวอัปเดตอย่างใกล้ชิด ระบบ TCAS มีการ Renovate ระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยที่เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการข่าวต้องดี รู้ไว รู้ลึก รู้ชัด และรู้จริง

 

3. เน้นทำข้อสอบ ตีโจทย์ให้แตก 

          การเน้นทำข้อสอบและฝึกตีโจทย์ยังเป็นวิธีการที่คลาสิกที่สุดในทุกยุคสมัย ช่วยให้เราเชี่ยวชาญการสอบยิ่งขึ้น จึงควรหมั่นฝึกลงสนามซ้อมข้อสอบเก่า แบบจับเวลาจริง จะทำให้เราพบจุดอ่อนของตัวเอง ข้อไหนที่ทำไม่ได้ แปลว่ายังไม่เข้าใจหรือจำไม่ได้ น้องสามารถย้อนกลับไปอ่านเนื้อหาในส่วนนั้นเพิ่มเติมได้ ข้อสอบในแต่ละปีจะวนเวียนสลับไปมาภายใต้กรอบเนื้อหาเดิม (ยกเว้นเปลี่ยนหลักสูตรหรือเปลี่ยนแนวข้อสอบ) ดังนั้นการทำข้อสอบเก่าจะช่วยเพิ่มโอกาสได้คะแนนและได้ทบทวนความรู้ไปในคราวเดียวกัน

 

4. ซ่อมจุดอ่อน ซ้อมจุดแข็ง

          ปีสุดท้ายของชีวิต ม.ปลาย ต้องค้นพบแล้วว่าเรามีจุดอ่อนอะไร จุดแข็งอะไร แล้วมาลุยซ่อมและซ้อมให้พร้อมที่สุด เริ่มจากการ “ซ่อม” จุดอ่อนทั้งหมดที่มี (เท่าที่สภาพจะซ่อมได้) อ่อนวิชาไหน ไม่ถนัดทักษะด้านใด เสริมเติมอาวุธให้ครบ แก้ไขปรับปรุง ไม่ใช่ปล่อยไว้ให้กลายเป็นเนื้อร้ายในอนาคต  ส่วน “ซ้อม” คือการไม่ประมาท มีอาวุธครบ พร้อมรบ แต่ก็ต้องหมั่นฝึกซ้อม ถนัดวิชาไหนก็ห้ามชะล่าใจ หมั่นทบทวน ทำซ้ำจนเชี่ยวชาญ และพร้อมจะใช้จุดแข็งนั้นเป็นคะแนนหลักในการเข้ามหาวิทยาลัยของเรา

 

5. ทันทุกการสอบที่ต้องใช้  

          เกาะติดการสอบทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับความฝันของเรา แต่ไม่ใช่ต้องเกี่ยวข้องทุกการสอบ ข้อสอบไหน มั่นใจว่าไม่ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันของเรา ก็ไม่จำเป็นต้องสอบ สอบไปไม่ได้ใช่ นอกจากเปลืองเงินแล้ว ยังเปลืองสมองอีกด้วย เสียเวลาโดยไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร แต่ถ้าต้องใช้ แล้วไม่ได้สมัครสอบสิ อันนี้...เป็นเรื่อง! เพราะถ้าไม่มีคะแนนสอบ ก็เหมือนปิดประตูกั้นความฝันของเรา ดังนั้น ม. 6 จะพลาดการสมัครสอบวิชาที่ต้องใช้ ไม่ได้เด็ดขาด!

 

6. มี To-Do List รายวัน มี Planning พิชิตฝันรายเดือน  

          ชีวิต ม. 6 ถ้าขาดไอเทมนี้ไป มันไม่ใช่อ้ะ! สิ่งนั้นคือ การทำ Planning แผนพิชิตฝัน น้อง ๆ ต้องออกแบบวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย มี How to ที่จะต้องทำครบทุกเดือนไล่ตาม Time Line TCAS แค่นั้นยังไม่พอ น้อง ๆ ควรฝึกทำ To Do List ลงรายละเอียดสิ่งที่จะต้องทำในแต่ละวัน ไว้คอยกำกับควบคุมแผนนั้น ความฝันที่จะเป็นความจริงได้ ต้องมีดีเทล จะทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร เสร็จตอนไหน และผลลัพธ์เป็นอย่างไร และสามารถติดตามความก้าวหน้าได้ว่า ที่ฝันนั้นมันใกล้ความจริงแค่ไหนแล้ว    

 

7. เรียนรู้ทักษะชีวิต  

          ทักษะชีวิต หรือ Life Skill ไม่ใช่เรียนรู้เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่ต้องเรียนรู้เพื่อช่วยให้เราใช้ชีวิตเป็น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รู้จักปรับตัว รับมือกับปัญหา และความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ว่าจะเรียนคณะใด ทำงานอะไร ทักษะชีวิตเหล่านี้จะติดตัวเราไปตลอด เช่น ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การควบคุมอารมณ์ การเข้าสังคม การทำงานเป็นทีม การมีจิตสาธารณะ กิจกรรมที่ช่วยเปิดมุมคิด ปิดมุมลบให้ชีวิต เพื่อให้พร้อมในการรับมือกับทุกวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต 

 

8. รักษาสุขภาพอย่างจริงจัง ถ้าป่วย พัง ไม่ใช่ปัง!  

          ชีวิตช่วงส่งท้าย ม. 6 นั้น จะเป็นช่วงที่ร่างพังที่สุดของวิถี ม.ปลาย ที่สำคัญช่วงนี้ป่วยไม่ได้! เพราะสิ่งที่เตรียมตัวมาตลอด 3 ปี จะพังทันที ถ้ามาป่วยตอนใกล้สอบ! ขนลุกมากกกก ดังนั้นนอกเหนือจากความรู้ ความจำ และความเข้าใจที่ต้องรักษาไว้ให้ดีแล้ว สุขภาพคือสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ช่วงนี้น้องต้องใช้พลังชีวิตสูงมาก ทั้งอ่านหนังสือหนัก นอนดึก ความเครียด กดดัน วิตกกังวล ตื่นเต้น พัก ผ่อนคลายด้วยตัวเองดีกว่าพัก เพราะร่างกายไปต่อไม่ไหว

 

9. ค้นพบอาชีพในฝัน

          เด็ก 17 ปี กับภารกิจที่ยิ่งใหญ่ คือออกแบบอาชีพในอนาคต หลายคนอาจรู้สึกมันยากไปมั้ย แค่เด็ก ม. 6 เอง แต่อย่าลืมว่า หลายคนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานวันนี้ ก็เพราะเขาเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับเขาเมื่อตอนวัย 17 ปี ลองคุยกับตัวเองว่า อาชีพไหนที่เราสนใจ และคิดว่ามีความสามารถ ความถนัดสอดคล้องกับอาชีพนั้น และหาข้อมูลเชิงลึกว่า ต้องเรียนสาขาอะไร ทำงานลักษณะใด ตลาดแรงงาน และช่องทางการเติบโตในอาชีพเป็นอย่างไร และหาโอกาสฝึกงานหรือทำกิจกรรมที่ช่วยทดสอบว่าอาชีพในฝันนั้น พร้อมจะเป็นอาชีพในความเป็นจริงของเรา  แต่ต้องไม่ลืมว่า ปัจจุบันนี้โลกหมุนเร็วมาก อาชีพที่เคยเปรี้ยงปังอาจพังก็ได้ ดังนั้นต้องศึกษาทิศทางการเปลี่ยนแปลง และเตรียมการปรับตัวควบคู่ไว้ด้วย

 

10. อัปเดตเทรนด์อาชีพยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21

          ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคแห่งการไหลบ่าถาโถมของความรู้ใหม่ เป็นโลกแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล และเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง การล้มหาย ฟื้นคืน เกิดใหม่ เป็นวงจรที่ถือเป็นเรื่องปกติมากในยุคนี้ การเลือกคณะแบบเดิม ๆ เรียนแบบเดิม ๆ คิดแบบเดิม ๆ อาจจะไม่ใช่เทรนด์ของคน Gen นี้แล้ว ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกสาขา จึงควรเติมสมรรถนะและทักษะที่เหมาะสมกับยุค ติดตามเทรนด์อาชีพใหม่ และพร้อมรับมือให้ได้ ถ้าวันข้างหน้าสาขาที่เราเรียนมา อาจไม่มีอาชีพรองรับ แต่เราก็ยังสามารถสร้างความสำเร็จให้ชีวิตได้ ถ้าเรามีทักษะที่ดีพอสำหรับการอยู่รอดในยุคดิจิทัล 

 

ม. 4 เริ่มต้น TCAS อย่างไร กับชีวิต ม.ปลาย >> Click

ม. 5 แล้ว เตรียมตัว TCAS อย่างไร >> Click

 

TCAS Journey เส้นทางน้องสายนี้ พี่มีตัวช่วย 

เส้นทางการเข้ามหาวิทยาลัย ในทุก ๆ ช่วงเวลา เรามีตัวช่วยมาให้น้อง ๆ >>Click

 

คู่มือ คู่คิด คู่ชีวิต ม.ปลาย

รวบรวมข้อมูล ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ ที่จะเป็นตัวช่วยให้การตัดสินใจในช่วงเวลานี้ เป็นไปอย่างรอบคอบ >>Click

 

แนะแนวคณะในฝัน

รวมรีวิวการเรียนการสอน เจาะลึกหลักสูตรสาขาวิชา ทุกกลุ่มคณะ

คณะในฝัน สาขาที่ใช่ มหาวิทยาลัยที่ชอบ มีบรรยากาศการเรียนอย่างไร หลักสูตรตรงกับความต้องการของเราไหม รวบรีวิวการเรียนการสอนมาให้แล้ว แชร์ประสบการณ์ตรงจากเหล่าอาจารย์ ศิษย์เก่า และรุ่นพี่ เจาะลึกหลักสูตรสาขาวิชา ทุกกลุ่มคณะ ให้น้อง ๆ ได้ศึกษา เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเรียน >>คลิกที่นี่

 

คณะที่อยากเข้า สอบวิชาอะไรบ้าง >>คลิกที่นี่

เกณฑ์การใช้คะแนนในระบบ TCAS ที่มีการกำหนดใช้คะแนนสอบสนามต่าง ๆ น้อง ๆ ควรรู้ก่อนว่าคณะที่เราจะเข้า ใช้คะแนนอะไรบ้าง เพื่อเตรียมตัวอ่านหนังสือและสมัครสอบวิชาต่าง ๆ


ตัวช่วยการเรียนจาก Plookpanya Application

Plook Explorer

ระบบค้นหาตัวเองอัจฉริยะ Plook Explorer แพลตฟอร์มสำหรับการหาเป้าหมายให้ชีวิต มีระบบประมวลผลเพื่อสร้างการรู้จักตัวเอง เช็คอาชีพที่ใช่กับแบบทดสอบทักษะต่าง ๆ พร้อมส่องอาชีพในฝันแบบเจาะลึก รวบรวมข้อมูลจากคนวงในของสายอาชีพนั้น ๆ เพื่อแนะนำลักษณะการทำงาน ผลตอบแทน รวมถึงโอากาสความก้าวหน้าของอาชีพ

 

Skill Test

รวมแบบทดสอบความเข้าใจในบุคลิกภาพ และทักษะต่าง ๆ ของตนเอง เพื่อหาคำตอบว่า อาชีพที่ชอบนั้น จะเป็นสิ่งที่ "ใช่" หรือเปล่า ลองมาค้นหาตัวเองของเรามีทักษะอะไรที่โดดเด่น มีบุคลิกภาพ และความสนใจแบบไหน เพื่อปูทางสู่อาชีพในฝันกัน

 

การเงินมัธยม

เพราะการเงินเป็นเรื่องใหญ่ อย่ารอจนเป็นผู้ใหญ่ แล้วค่อยเรียนรู้ ความสมดุลระหว่างการให้ความหมายทางการเงิน กับการให้คุณค่าของชีวิตด้านอื่น ๆ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และได้รับการฝึกฝันพัฒนาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะการเงินเป็นเรื่องใหญ่ อย่ารอจนเป็นผู้ใหญ่ แล้วค่อยเรียนรู้ และถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจเรื่องการบริหารการเงิน เรามาเริ่มต้นเรียนรู้ไปด้วยกัน

 

คลังข้อสอบ

เมื่อติวและซ่อมสร้างเสริมความรู้กันมาพอสมควรแล้ว ก็คงถึงเวลาจำลองลงสนามจริง กับคลังข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบยกชุด Set Pack จัดรอไว้ให้น้อง ๆ ครบ จบในแอปเดียว เพื่อเตรียมรับและรุก บุกทุกสนามสอบ ทั้งอัปเกรดในห้องเรียน O-Net GAT PAT และวิชาสามัญ โหลดกันให้มันมือ แล้วหมั่นฝึกทำข้อสอบจนชำนาญ ไม่ว่าจะโยกซ้าย โยกขวา วนเวียนหนีไปออกซอกมุมไหน ก็หนีไม่พ้นคลังข้อสอบที่ทรูปลูกปัญญาสะสมรวบรวมไว้ให้ โหลดไว้ไม่เสียพื้นที่โทรศัพท์แบบไร้ประโยชน์แน่นอน

 

คลังบทเรียน

เรียนในห้องหรือเรียนออนไลน์ ยังเข้าใจไม่มากพอ มาทบทวนเพิ่มเติม หรือจะทบทวนล่วงหน้า เนื้อหาการเรียนสาระแน่น ๆ เน้น ๆ ทบทวนได้ตลอดเทอม มีครบทุกวิชา ทุกระดับชั้น

 

Plook Tutor

แค่เรียนอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ ต้องมาทบทวนเพิ่มเติม ติวสรุปเนื้อหาบทเรียนแต่ละเรื่อง เพื่อเสริมความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ทบทวนบทเรียน ไปกับ Plook Tutor ทุกวิชา ทุกระดับชั้น ติวดี ติวฟรีออนไลน์

 

ชีทสรุป ม.ปลาย

รวม Short Note ชีทสรุป ม.ปลาย สำหรับทบทวนเนื้อหา อ่านจับใจความ สรุปสาระสำคัญตามความเข้าใจก่อนเข้าห้องสอบ จะได้ไม่พลาดทุกเนื้อหาสำหรับการเรียน และการสอบ 

 

 

Teen's Guide

พอเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หลายคนอาจรู้สึกแล้วว่ามันไม่ง่ายและไม่สนุกอย่างที่คิด เพราะมีปัญหามากมายให้ต้องเหนื่อย ทั้งเรื่องเรียนและเรื่องอื่น ๆ Teen's Guide คู่มือชีวิตวัยรุ่นยุคใหม่ ที่รวบรวมบทความและคำตอบของปัญหาชีวิตหลากหลายด้านเพื่อให้วัยรุ่นได้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ สนุก แฮปปี้ และคุ้มค่าที่สุด

 

คู่มือ Portfolio

ช่วงเวลาแห่งการ เตรียม Portfolio ใครที่จะยื่นรอบแรก มาเตรียมไปพร้อม ๆ กันเลย แต่ก็ไม่ใช่เพียงแค่รอบเดียวเท่านั้น ที่มีการใช้ Portfolio เพราะในรอบอื่น ๆ เช่น รอบ 2, 3 หรือ 5 ซึ่งเป็นการรับตรง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สามารถขอดู Portfolio ได้ ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ Port เป๊ะ ติดปัง ดั่งใจ คลิกหาคำตอบกันได้เลย

 

Scholarship ทุนการศึกษา

การศึกษาคือการลงทุน และทุกการลงทุน มีความเสี่ยง เสี่ยงที่จะสมหวังบ้าง ผิดหวังบ้าง แต่อย่างน้อย การรู้จักแหล่งทุน วางแผนการลงทุน เลือกทุนที่เหมาะสม จึงเป็นเสมือนตัวช่วยให้ขีดจำกัดด้านงบประมาณ ไม่ใช่ข้อจำกัดด้านการศึกษา สิทธิและโอกาสด้านทุนการศึกษา จึงเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่น้อง ๆ ไม่ควรพลาด !

 

คำนวณ กสพท

สำหรับน้อง ๆ กลุ่ม กสพท เมื่อคะแนนออกแล้ว น้อง ๆ สามารถคำนวณคะแนนตัวเองได้โดยใช้ โปรแกรมคำนวณคะแนน กสพท เช็กสถิติ และเปรียบเทียบคะแนนตัวเองกับคะแนนปีก่อนเพื่อประเมินโอกาสติด หรือใช้โปรแกรมในการตั้งเป้าหมายคะแนนที่ควรได้ 

 

Plook Campus

คณะในฝัน สาขาที่ใช่ มหาวิทยาลัยที่ชอบ มีบรรกาศการเรียนอย่างไร หลักสูตรตรงกับความต้องการของเราไหม รวบรวมรีวิวการเรียนการสอนมาให้แล้ว แชร์ประสบการณ์ตรงจากเหล่าอาจารย์ ศิษย์เก่า และรุ่นพี่ เจาะลึกหลักสูตรสาขาวิชา ทุกกลุ่มคณะ ให้น้อง ๆ ได้ศึกษา เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกคณะ

 

Plook TCAS

ม. 6 ปีที่ต้องเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยระบบ TCAS ที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ แต่ไม่ต้องกังวัล Plook TCAS จะอยู่กับน้อง ๆ ทุกรุ่น พร้อมช่วยแนะทุกเรื่อง ค้นหาตัวเอง เลือกคณะ รู้จักอาชีพ จัดอันดับคะแนน อัปเดตข่าวสารต่าง ๆ รวมทุกเรื่องราวของการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย

 

 

ตัวช่วยทั้งหมด รวมอยู่ในนี้เแล้ว !

 

 

 

 

 

TruePlookpanya Application

ทรูปลูกปัญญา แอปพลิเคชั่น ช่วยเคลียร์ชีวิตวัยเรียนยาก ๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายได้สบาย

ใช้ฟรี ไม่เสียค่าเน็ต เมื่อใช้งานผ่านทรูมูฟ เอช

ใครยังไม่มี โหลดเลย!

www.trueplookpanya.com/go/app 

App Store: https://apple.co/2KCXYFT
Google Play: https://bit.ly/2UT0RDy

 

ติดตามข่าวสาร หรือมีคำถาม ข้อสงสัย พี่ ๆ พร้อมให้คำแนะนำ
Plook TCAS Mentor ทางการศึกษาของทุกคน

3 ช่องทางการติดตาม

Facebook Fanpage Plook TCAS

ชอบไลก์ ชอบแชร์ ชอบคอมเมนต์ เกาะทุกประเด็นของ TCAS รับตรง โควตา ข่าวค่าย เทคนิคการเรียน มาจอยกันใน เพจ Plook TCAS

Twitter @Plook TCAS

สายรีทวิต ชอบข่าวแบบเรียลไทม์ อัปเดตทุกข่าวสารของ TCAS ไม่อยากพลาด อย่ารอช้า Follow @PlookTCAS เลย

LINE @Plook TCAS

ช่องทางที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น อัพเดตข่าว TCAS รับตรง โควตา ไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสาร แอดเลย !! ID : @PlookTCAS

เพิ่มเพื่อน

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us