Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
เลือกอะไรดี ? สถาปนิก VS วิศวกร สองอาชีพนี้ ต่างกันอย่างไร

  Favorite

          คิดวนไปคิดวนมาก็ยังเลือกไม่ได้ระหว่าง “สถาปัตยกรรม” กับ “วิศวกรรม” สองคณะในดวงใจ เราต้องเลือกคณะไหนถึงจะตอบคำถามในใจได้ ไม่แปลกหรอกถ้าเกิดจะมีความสับสนระหว่างสองคณะนี้ เพราะการทำงานจริงของทั้งสองอาชีพนี้ ถ้าดูกันแบบผิวเผินแล้วก็แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้เลยว่าต่างกันตรงไหน แต่เอาเข้าจริงสองอาชีพนี้ต่างกันอยู่มาก ตั้งแต่การเรียนไปจนถึงการทำงานจริง เลือกอะไรดี ? สถาปนิก VS วิศวกร สองอาชีพนี้ ต่างกันอย่างไร

 

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

          คณะนี้มีคนเคยบอกว่า ถ้าจะเรียนจะต้องได้ทั้งศิลป์และวิทย์ เพราะการเรียนของคณะนี้นั้นต้องออกแบบด้วยศิลป์และคำนวณความเป็นไปได้ด้วยวิทยาศาสตร์ ซึ่งในคณะนี้ยังแยกสาขาออกไปอีกเพื่อให้เราได้เจาะจงในความชอบ ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมโดยตรง, Interior architecter, Landscape architecter, สถาปัตยกรรมไทย, Urban planning เป็นต้น

 

ทักษะของสถาปนิก 

          การเป็นสถาปนิกนั้นคือการผสมผสานความรู้ความสามารถหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งเรื่องศิลปะการออกแบบที่ใช้เป็นหลักในงาน และความรู้ในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ด้วย สถาปนิกต้องเข้าใจเรื่องของการสร้างอาคารให้สอดคล้องไปกับการใช้ชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน มีรสนิยมที่ดี เสพงานศิลปะอยู่เสมอ สามารถ Sketch ภาพออกมาให้เข้าใจได้ง่าย ทั้งยังต้องมี Soft Skill ในการวางแผนการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย เพราะสถาปนิกเป็นคนเริ่มต้นที่จะอธิบายสิ่งที่คิดเอาไว้ให้กับทีมงานส่วนอื่น ๆ 

 

การทำงานจริงของสถาปนิก

          อย่าคิดเชียวว่าเป็นสถาปนิกงานหนักก็แค่นั่งเขียนแบบในห้องแอร์แบบอดหลับอดนอน ก็เท่านั้น เพราะความจริงแล้วสถาปนิกจะต้องไปที่หน้างานด้วยตัวเอง ต้องคลุกฝุ่น ลุยดิน ลุยโคลน ขึ้นนั่งร้าน เพื่อตรวจหน้างานให้เป็นไปตามไอเดียที่ออกแบบไว้ ถ้ามีอะไรที่ผิดพลาดก็ต้องคุยกับวิศวกรเพื่อหาทางออก มีประโยคสุดขลังของสถานิกชื่อดัง Zaha Hadid เคยบอกเอาไว้ว่า “If You Want an Easy Life, Don’t Be an Architect” ถ้าอยากมีชีวิตที่สบายอย่าเป็นสถาปนิก...

 

 

คณะวิศวกรรรมศาสตร์

          ในทางตรงแล้วคณะวิศวกรรมโยธา เป็นคณะที่จบออกมาแล้วเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างโดยตรง ตรงจุดมากกว่าวิศกรรมด้านอื่น ๆ และถ้าจะเจาะไปยังสาขาแต่ละสาขานั้นก็มีให้เลือกอีก ไม่ว่าจะเป็น วิศกรรมโครงสร้าง, วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ, วิศวกรรมขนส่ง, วิศกรรมเทคนิคธรณี, วิศกรรมสำรวจ เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาสำหรับสายนี้บอกเลยว่า คำนวณล้วน ๆ เป็นคณะที่ต้องมองให้เห็นความเป็นไปได้ บทเรียนคร่าว ๆ ที่นักศึกษาในคณะนี้จะได้เรียนก็จะมีเรื่องของการเขียนแบบวิศวกรรม กลศาสตร์ของไหล โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร ธรณีวิทยาวิศวกรรม วิศวกรรมชลประทานการระบายน้ำ เป็นต้น

 

ทักษะของวิศกรรม (สาขาที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง)

          สำหรับตัวงานของวิศกรรมโยธานั้น จะเกี่ยวข้องในรายละเอียดของโครงสร้างอาคารเป็นหลัก คนที่ตั้งใจจบมาทำงานในอาชีพนี้นั้น จะต้องแม่นยำในเรื่องของตัวเลขมาก เพราะจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการสร้างหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน อาคาร สะพาน ถนน สนามบิน เรียกว่าสายงานนี้หนักไปทางคำนวณ

 

การทำงานจริงของวิศวกร (สาขาที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง)

          “นายช่าง” ชื่อนี้เดินเข้าไปที่หน้างานก็รู้เลยว่าหมายถึงวิศกรที่กำลังรับผิดชอบงานก่อสร้างนี้อยู่ บทบาทของวิศวกรโยธานั้นเป็นการวางแผนและจัดระบบรวมไปถึงการควบคุมงานก่อสร้างนั้นมาจากวิศกรทั้งสิ้น จะต้องมีการเริ่มสำรวจตั้งแต่ที่ตั้งว่ามีความเป็นไปได้ไหม เรียกว่าพิจารณาโครงการเพื่อให้เหมาะสมกับแบบ ดูสภาพแวดล้อมทั้งผิวดิน ใต้ผิวดิน ต้องมีการประสานงานกับวิศวกรในด้านอื่น ๆ เช่น วิศวกรไฟฟ้า ช่างกล การวางแผนรากฐาน เรียกว่าเป็นบทบาทที่ทำให้ความฝันเป็นจริงได้บนความปลอดภัยที่มากที่สุดนั่นเอง

 

 

การทำงานร่วมกัน

          สุดท้ายแล้วในงานก่อสร้าง ให้ออกมาสมบูรณ์แบบทั้งรูปลักษณ์ที่งดงามและโครงสร้างที่ดี จำเป็นต้องมีทั้งวิศวกรและสถาปนิก ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ ทั้งสองอาชีพนี้ถึงแม้ตอนเรียน ตอนสอบ จะแตกต่างกันมากแค่ไหน ฝั่งหนึ่งต้องใช้การดีไซน์แก้ปัญหา อีกฝั่งต้องรักษาความแข็งแรงและความเป็นไปได้ให้ได้มากที่สุด แต่ในตอนทำงานจริงก็ต้องใช้ทักษะที่มีมาเอื้อประโยชน์กัน จนทำให้งานออกมาสมบูรณ์แบบ ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้คงพอจะนึกออกแล้วว่า จริง ๆ เราชอบและมีแพชชั่นกับทักษะแบบไหน อยากเห็นตัวเองนั่งเขียนแบบ ตัดโมเดล ออกแบบบ้านในฝัน สร้างอาคารที่สวยที่สุดให้กับลูกค้า หรือว่าชอบที่จะเป็นคนลงมือทำ ทำให้ความฝันนั้นเป็นจริงอย่างปลอดภัย เลือกได้แล้วบอกกันบ้างนะ 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมค่าเทอมหลักสูตรสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
ค่าเทอมคณะวิศวกรรมศาสตร์
เงินเดือนวิศวกรจบใหม่ สาขาไหนรายได้ดี
รวมข้อมูลการเรียนต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์
สาขาวิชายอดฮิต “คณะวิศวกรรมศาสตร์” ที่คนนิยมเรียน

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us