คำถามเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ ที่พี่นอตโดนถามบ่อย ๆ ก็คือ “ข้อสอบคณิตจะยากไปไหนเนี่ย ?” วันนี้พี่นอตเลยอยากมาอธิบายว่า “ข้อสอบก็ไม่ได้ยากอย่างที่น้อง ๆ คิดกัน” จริง ๆ แล้ว มันยากกว่าที่คิดไปอีกต่างหาก ! (ล้อเล่นน้าาา) แต่เพราะข้อสอบถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่ต่างกันครับ จึงมีความยากง่ายผสมกันไปครับ เราไปดูกันเลยว่า ข้อสอบคณิตศาสตร์ แต่ละสนามสอบ ทั้ง O-NET / PAT 1 / วิชาสามัญ แตกต่างกันอย่างไร
ข้อสอบ O-NET นั้น O ตัวแรกนั้นย่อมาจาก Ordinary ซึ่งแปลว่า พื้นฐาน ดังนั้นข้อสอบชุดนี้จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัดความเข้าใจพื้นฐาน ของน้อง ๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ จึงจัดเป็นข้อสอบคณิตฯ ที่ง่ายที่สุด สังเกตได้จากการที่ในแต่ละปี จะมีน้อง ๆ ที่สอบได้ 100 คะแนนเต็มจำนวนมาก
ข้อสอบ PAT 1 นั้น ตัว P ตัวแรกนั้นย่อมาจากคำว่า Professional ซึ่งแปลว่า ผู้เชี่ยวชาญ นั่นคือข้อสอบชุดนี้ต้องการวัดความเป็นมืออาชีพ ความโปรฯ ในสาขาวิชาคณิตของน้อง ๆ มันเลยเป็นข้อสอบที่พลิกแพลง และมีความยากสูงสุด ตัวอย่างเมื่อปี 61 คะแนนเฉลี่ยจากผู้เข้าสอบทั้งประเทศอยู่ที่ 48.45 จากเต็ม 300 และมีผู้ทีี่ทำคะแนนได้ 270-300 เพียงแค่ 36 คน (เขาเหล่านั้นไม่ใช่คนครับน้อง ๆ)
จึงเกิดข้อสอบทางสายกลาง คือ วิชาสามัญ ที่มีความยากในระดับ กลาง ๆ (แต่บางข้อก็ยากพีคนะครับ) ซึ่งหัวใจของวิชาสามัญคือเวลาครับ เนื่องจากมีเวลาต่อข้อเพียง 3 นาที ต้องทำไวกาไว ตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง น้อง ๆ จึงต้องฝึกโจทย์จนชำนาญมาก ๆ
ดังนั้นเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จึงนิยม ถ่วงน้ำหนัก O-NET กับ PAT เพื่อวัดพื้นฐาน กับ ความโปร ไว้ด้วยกัน หรือไม่ก็จะเรียกแต่คะแนนวิชาสามัญอย่างเดียว
เพื่อให้น้อง ๆ เห็นภาพความยากง่ายได้ดีขึ้น พี่นอตจะยกตัวอย่างข้อสอบบางเรื่องให้เห็นความแตกต่างความยากง่าย
จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นว่าข้อสอบ ชอบ เรื่อง แผนภาพจำนวนของเวนน์-ออยเลอร์ และการดำเนินการของเซตแต่ระดับความซับซ้อนนั้นต่างกันค่อนข้างมาก
ความน่าจะเป็นนี่แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลเลยครับน้อง ๆ บางคนจะรู้สึกว่าง่าย บางคนจะรู้สึกว่ายากมาก งง สับสนไม่รู้ว่าจะเริ่มจากไหน ดังนั้นบทนี้จะเก็บคะแนน หรือเก็บไว้ก่อน ก็ตามใจน้อง ๆ ได้เลยนะครับ (แต่ออกค่อนข้างเยอะอยู่นะครับ)
บทนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นบทโหดในตำนาน แต่ถ้าน้อง ๆ เห็นในส่วนของ O-NET แล้วจะเห็นว่าพอสู้ไหว โจทย์จะถามเรื่อง การประยุกต์ใช้ตรีโกณแบบนี้เกือบทุกปี ส่วน อีก 2 สนามมักชอบถามเรื่อง ฟังก์ชั่น arc ที่ต้องใช้สูตรแบบเต็ม พิกัดลักษณะที่พี่ยกตัวอย่างมา
บทนี้น้อง ๆ แค่จำหลักการของ ลำดับเลขคณิต และลำดับเรขาคณิตนิดหน่อยก็สามารถเก็บสนาม O-NET ได้แล้วครับ แต่ถ้าเป็นใน วิชาสามัญ และ PAT ต้องมีปนกับบทอื่น ๆ และพลิกแผลงมากขึ้น
เป็นบทที่ส่วนใหญ่จะออกง่ายถึงปานกลางในทุกสนาม พี่แนะนำให้น้อง ๆ เก็บบทนี้นะครับ จะเป็นบทที่นำพาคะแนนมาสู่เราแบบจริงจัง สูตรในการหาค่าต่าง ๆ เยอะหน่อยแต่พี่ว่าคุ้มมาก ๆ ครับ
พี่นอต โสมนัส จันทรสอาด
และ ติวเตอร์ซัมมิกซ์ เขตโสภณ สุริโยรัตนโนภาส