Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
โค้งสุดท้าย! ติว TCAS จัดตารางอ่านหนังสือ A-Level TCAS 66

  Favorite

ใกล้เข้ามาแล้วววว สำหรับสมนามสอบ A-Level เหลืออีก 1-2 เดือนก่อนสอบ ใครเตรียมตัวมาพร้อมก็มาทบทวนโค้งสุดท้าย หรือใครที่ไม่ได้อ่านหนังสือเลยช่วงที่ผ่าน อย่าเพิ่งเท อย่าเพิ่งท้อ มาฟิตช่วงเดือนสุดท้าย ก็ยังทันนะ ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย น้อง ๆ เคยได้ยินคำว่า One Night Miracle กันไหม? วันนี้เราลองมาวางแผนการอ่านหนังสือก่อนสอบ 2 เดือนสุดท้ายก่อนสอบ ถึงเวลาจะน้อย แต่สามารถทำให้การติวมีคุณภาพได้ มาวางแผนกันเลย โค้งสุดท้าย! ติว TCAS จัดตารางอ่านหนังสือ A-Level TCAS 66

 

ตารางสอบ A-Level ปีการศึกษา 2566
เลือกสอบด้วยกระดาษเท่านั้น

• 1 - 10 ก.พ. 66 : รับสมัครสอบ

• 24 ก.พ. - 20 มี.ค. 66 : พิมพ์บัตรที่นั่งสอบ

• 18 - 20 มี.ค. 66 : สอบ A-Level

• 17 เม.ย. 66 ประกาศผลสอบ 

• 18 - 25 เม.ย. 66 ยื่นคำร้องทบทวนผลสอบออนไลน์

 

วิชาที่ต้องสอบโดยรวม

• A-Level สำหรับคนที่สอบ 7 วิชา - ไทย, สังคม, อังกฤษ, คณิต 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา 

• A-Level สำหรับคนที่สอบ 5 วิชา - ไทย, สังคม, อังกฤษ, คณิต 1 หรือ 2, วิทยศาสตร์ประยุกต์ 

• A-Level สำหรับคนที่สอบ 4 วิชา - ไทย, สังคม, อังกฤษ, คณิต 2

• A-Level สำหรับคนที่สอบ 3 วิชา - ไทย, สังคม, อังกฤษ,

 

จัดตารางติว

จัดตารางอ่านหนังสือ วันไหนอ่านอะไรบ้าง เลือกช่วงเวลาที่ตัวสะดวก บางคนชอบอ่านตอนเช้า บางคนชอบอ่านกลางคืน ติววันละ 1 วิชา ใช้เวลาติววิชาละ 2 - 3 ชั่วโมง 

 

ตัวอย่างการจัดตารางติว จัดตามที่ตัวเองถนัดและคิดว่าทำได้จริง วางแพลนเลย เหลือเวลาอีกเท่าไหร่ ในการเก็บทุกวิชาที่ต้องสอบ

แจก Monthly Planner เด็ก TCAS ต้องมีไว้ ! >>CLick

 

เนื้อหาที่ออกสอบ

รูปแบบข้อสอบ จํานวนข้อสอบ และเนื้อหาการสอบ จากทาง สทศ. 

เนื้อหาข้อสอบ A-Level แต่ละวิชาออกอะไรบ้าง >>Click 

 

เทคนิคการอ่านหนังสือ ทำวนไปให้ครบ

ตีโจทย์วิชาต่าง ๆ ให้แตกละเอียด ท่องสูตร ท่องศัพท์ จับเรื่องสำคัญทำโน้ตย่อ พร้อมที่จะลงสนามจริง

อ่านรอบที่ 1 Scan 

อ่านอย่างสำรวจ ตรวจรายละเอียด เป็นขั้นตอนแรกของการอ่านหนังสือ อ่านแบบกวาดสายตา เพื่อโกยเนื้อหาให้เป็นก้อนข้อความ ไฮไลท์  Key Word สูตร ชื่อเฉพาะ ออกสอบบ่อย

อ่านรอบที่ 2 Screen

อ่านอย่างกลั่นกรอง คัดเลือกประเด็นสำคัญ แล้วทำ “โน้ตย่อ” ดึงสาระสำคัญมาเขียนด้วยภาษาของเรา การอ่านหนังสือที่มีประสิทธิภาพต้องผ่านการจดด้วยมือ เพราะในขณะจด สมองต้องควบคุมสั่งการว่าต้องเขียนอะไร สะกดอย่างไร เรียบเรียงแบบไหนให้เข้าใจง่ายที่สุด กระบวนการทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการอ่านอย่างหนึ่ง เป็นการทบทวนที่ดีมาก ความรู้จะค่อย ๆ แทรกตัวผ่านการเขียนเข้าไปในสมองโดยที่ไม่ทันตั้งตัว มารู้สึกตัวอีกทีก็จดจำเนื้อหาที่เขียนได้เกือบหมดแล้ว

ปิดด้วยการทำโจทย์ จับเวลา

การฝึกทำข้อสอบบ่อย ๆ เปรียบเสมือนการทบทวนเนื้อหาไปในตัว แม้ว่าเราจะอ่านและสรุปเนื้อหาที่ออกสอบมาอย่างดีแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าเนื้อหาทั้งหมดจะมีในข้อสอบ การฝึกทำข้อสอบจะทำให้เห็นชัดมากขึ้นว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ออกลักษณะไหน ข้อสอบถามอย่างไร มีตัวเลือกอย่างไร แนวข้อสอบเป็นแบบไหน การฝึกบ่อย ๆ และรู้แนวคำตอบ ทำให้สามารถทำข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มโอกาสได้คะแนนสูงขึ้น

หากมีเวลา.. ติวกับกลุ่มเพื่อน

ใครติวคนเดียวจำแม่นกว่าก็ลุยคนเดียวไปโลด แต่ใครมีเพื่อนช่วยกันติว ก็บอกเลยว่าเป็นอีกวิธีที่ได้ผลสุด ๆ การช่วยกันติวนั้นมีประโยชน์มาก ติวให้เพื่อน เราจะจำได้แม่นยิ่งขึ้น และเพื่อนอาจจะช่วยเสริมในส่วนที่เราอ่อน 

 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us