Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
สายอาชีพดีไหม? เป็นที่ต้องการของตลาดหรือเปล่า

  Favorite

การเลือกเส้นทางการเรียนในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนั้นยากเสมอ จะไปทางไหนดี... สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสายอาชีพ แต่มียังคำถามคาใจ สายอาชีพดีไหม เป็นที่ต้องการของตลาดหรือเปล่า วันนี้จะยกข้อดีของสายอาชีพมาบอก เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือก หรือช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่คนที่ยังลังเลอยู่ ไปดูกันเลย

 

เหมาะกับคนที่รู้ตัวเองแล้ว

    สายอาชีพ คือการศึกษาเฉพาะทางโดยเน้นการทำงานลงมือจริง ลงลึกวิชาชีพที่เราชอบมากกว่าทฤษฎี เมื่อเรียนจบแล้วก็สามารถทำงานได้ทันที ถ้าเป็นคนรู้ตัวเองเร็ว มั่นใจในสิ่งที่ชอบ อยากทำงานเร็ว แน่นอนว่าสายอาชีพก็ตอบโจทย์

 

เน้นปฎิบัติงานจริง

    ไฮไลท์ของสายอาชีพเลยก็คือสิ่งนี้ เน้นปฎิบัติ การลงมือทำจริงคือข้อดีที่แข็งแรงที่สุดในการเลือกทางนี้ ซึ่งสร้างความแตกต่างชัดเจนกับสายสามัญ ในบางหลักสูตรของสายอาชีพต้องการประสบการณ์อย่างมาก เช่น ช่างต่าง ๆ ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ หรือแม้กระทั่งสายคหกรรมทำอาหาร น้อง ๆ ก็จะได้เริ่มทำและทำอยู่ตลอดหลักสูตรการเรียนเลย จบมาก็สามารถเริ่มงานได้ทันที

 

เลือกเวลาเรียนได้ ทำงานไปด้วยได้

    เรียนไป ทำงานไป ข้อนี้เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจในสายอาชีพ เพราะด้วยความที่เราสามารถเลือกเรียนในเวลาที่สะดวกได้ เช่น ภาคเช้า - ภาคบ่าย ช่วงเวลาที่ว่าง เราก็สามารถทำงานพาร์ทไทม์ไปด้วยได้ สร้างรายได้ตั้งแต่ตอนเรียน แต่แนะนำว่าให้ดูความเป็นไปได้ของตัวเองด้วยว่าสามารถจะควบคุมได้ทั้งสองอย่างไหม ถ้าปีไหนที่ต้องเรียนหนักก็เน้นเรียนก่อนเนอะ

 

ใช้เวลาเรียนสั้น 

    ถ้าเราอยากเรียนจบในเวลาที่ไม่ยาวมาก สายวิชาชีพนั้นเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเมื่อเทียบกับสายสามัญแล้ว นับจากเรียนมัธยมปลายจนจบมหาวิทยาลัยจะอยู่ที่ 7 - 8 ปี แต่ในสายอาชีพจะเรียนน้อยกว่าอย่างน้อยถึงสองปี ซึ่งหมายความว่าน้อง ๆ ก็จะเริ่มงานได้เร็วกว่าเพื่อนสายสามัญนั่นเอง แต่ต้องตั้งใจเรียนด้วยนะ

 

เป็นอาชีพที่มีความต้องการในตลาดแรงงาน 

    เพราะสายอาชีพเน้นเรียนเข้าถึงความถนัดในด้านนั้น ๆ มาอย่างโดยตรง ทำให้เมื่อจบมาเท่ากับว่าก็มีประสบการณ์บ้างแล้ว และเข้าใจในเนื้องานได้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้งานในสายนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็วทำให้เป็นที่ต้องการในตลาด

 

เลือกเรียนต่อได้ทั้ง ปวส. และ ปริญญาตรี

    เมื่อจบ ปวช. สามารถเลือกได้ว่าจะต่อหลักสูตร ปวส. หรือจะเข้ามหาวิทยาลัย แต่การเข้ามหาวิทยาลัยต้องตรวจสอบในแต่ละระบบ แต่ละรอบ แต่ละโครงการ ว่าเปิดรับหลักสูตรเทียบเท่าหรือไม่ แต่หลัก ๆ ที่เปิดรับแน่นอน คือ สามพระจอม ราชมงคล และราชภัฏ 

 

เมื่อความต้องการของตลาดสูง รัฐบาลและเอกชนก็สนับสนุน 

    ทุนการศึกษา และนโยบายสำหรับสายอาชีพมีมากพอสมควร เช่น ทุนการศึกษาระหว่างเรียน หรือการหางานพาร์ทไทม์ให้ทำระหว่างเรียน อาจจะไม่ทั่วถึง แต่ก็มีโอกาสดี ๆ เข้ามาถึงสายอาชีพเสมอ

 

หลักสูตรสายอาชีพ มีอะไรบ้าง

1. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม / บริหารธุรกิจ 
2. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม 
3. ประเภทวิชาคหกรรม 
4. ประเภทวิชาเกษตรกรรม
5. ประเภทวิชาประมง 
6. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 
8. ประเภทวิชาศิลปกรรม
9. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
10. หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคขั้นสูง

 

          สรุปได้ว่าการเลือกเรียนสายอาชีพอาจจะเป็นการเรียนที่เหมาะกับเฉพาะบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้อง ๆ ที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร เช่น ฉันชอบทำอาหาร ฉันชอบการโรงแรม เรียกว่ามีอาชีพที่อยากทำโดดเด่นตั้งแต่มัธยมต้นแล้ว สายอาชีพจึงเหมาะมาก เราจะมุ่งเน้นไปที่วิชานั้น ๆ โดยเฉพาะลงลึกถึงการทำงานจริง ถ้าคิดว่านี่แหละคือทางที่ใช่...ก็ลุยเลย !

 

 

ดูกันชัดๆ! ข้อดี-ข้อเสียของการเรียนสายวิชาชีพ (Vocational Degree) สืบเนื่องจาก https://www.hotcourses.in.th/study-abroad-info/applying-to-university/pros-and-cons-vocational-degrees/

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us