จบ ม. 3 แล้ว เรียนต่อไหนดีน้า สายไหนใช่เรา โดยเฉพาะทางหลักที่มีแค่ 2 สายให้เลือก สายแรก สายสามัญ ปลายทางมหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู และทักษะเฉพาะด้านที่สามารถนำไปประกอบอาชีพ และเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อ กับ สายที่สอง สายอาชีพ ปลายทางสู่อาชีพ เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนไดพัฒนาการเรียนรูและทักษะวิชาชีพ รวมทั้งมีความสามารถริเริ่มประกอบการและเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อ สายไหนที่ไปส่งเรายังจุดหมายปลายทางที่เราฝัน แล้วถ้าต้องเลือกระหว่างสายสามัญกับสายอาชีพ ข้อดีข้อเสียของแต่ละสายเป็นอย่างไร ไปติดตามกันเลย
จัดการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก และสาระเพิ่มเติม เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถให้ครบทุกด้าน ตามลำดับขั้น ประกอบด้วย ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ, สังคม ศาสนา วัฒนธรรม, สุขศึกษาและพละศึกษา, การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ
แผนการเรียน
แต่ละโรงเรียนมีแบ่งแผนการเรียน หลัก ๆ มีดังนี้
- วิทย์- คณิต
- ศิลป์ - คำนวณ
- ศิลป์ - ภาษา
- ไทย - สังคม
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพสาขาต่าง ๆ ซึ่งผู้ทีเรียนจบสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้
- หลักสูตรประกาศนียบตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. โดยเน้นความรู้เฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น
ทั้งนี้ทั้ง 2 สาย น้อง ๆ สามารถศึกษาต่อถึงระดับสูงสุดได้เหมือนกัน คือ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งเป็นการพัฒนาการศึกษาตามลำดับขั้น สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไป เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ โดยน้อง ๆ ที่เรียนจบชั้น ม. 3 สามารถเลือกเรียนได้ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
- ได้ความรู้พื้นฐานทั่วไปมากกว่าสายอาชีพ (เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติจริง)
- สามารถเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ทั่วประเทศ หลากหลายโครงการ คณะ และสาขา
- มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนได้ในต่างประเทศ หรือกิจกรรมอื่นๆ ได้มากกว่าสายอาชีพ
- สังคมการเรียน สังคมเพื่อนจะกว้างและสามารถเชื่อมต่อกันได้หลากหลายสาขา
- มีความรู้เฉพาะด้านค่อนข้างแน่น ถ้าคนที่เลือกเรียนต่อในสาขาที่เรียนมาจะได้เปรียบกว่าสายสามัญ เมื่อเข้าไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
- ถ้าไม่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ก็สามารถทำงานได้เลย ทั้งภาครัฐที่มีเปิดสอบราชการหรือภาคเอกชน และสามารถทำงานไปด้วย เรียนต่อไปด้วยควบคู่กันได้
- ความรู้เฉพาะด้านอาจไม่แน่นเท่าสายอาชีพ (ในบางกรณี)
- เรียนจบ ม.6 ถ้าไม่ต่อปริญญาตรี จะไม่มีความหมาย เพราะวุฒิ ม.6 หางานทำค่อนข้างยาก และเงินเดือนน้อยกว่า ทั้งที่ใช้เวลาเรียนเท่ากัน
- สายสามัญส่วนใหญ่จะไม่เจอวิชาชีวิต เจอแต่บทเรียนและตำรา
- มีข้อจำกัดในการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย เพราะมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง ไม่ค่อยมีคณะ/สาขาวิชาที่เปิดรับเด็กสายอาชีพ
- วิชาการพื้นฐานและทฤษฎีอาจไม่แน่นและละเอียดเท่าสายสามัญ
- ชอบเรียนภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี
- เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน จบออกมามีงานทำทันที
- การเรียนไม่ยาก การแข่งขันไม่สูง
- ได้รับอิทธิพลจากผู้ปกครอง ญาติ เพื่อน
- ค่าใช้จ่ายในการศึกษาไม่สูงมากนัก
- สถานศึกษามีหลักสูตรให้เลือกหลากหลาย
- เรียนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
- โอกาสก้าวหน้าในอนาคตจำกัด เพราะวุฒิไม่สูง ทำงานระดับแรงงาน
- ปัญหาความรุนแรง ยกพวกตีกัน โดนลูกหลง
- หางานทำยาก เพราะหลาย ๆ บริษัทรับปริญญาตรีขึ้นไป
- ค่านิยมของสังคม ทำให้เด็กรู้สึกว่าสังคมไม่ยอมรับ / รู้สึกไม่น่าภาคภูมิใจ
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
ประเภทวิชาศิลปกรรม
ประเภทวิชาคหกรรม
ประเภทวิชาเกษตรกรรม
ประเภทวิชาประมง
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี
ช่องทางศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ของสายสามัญและสายอาชีพ
ที่ | รูปแบบการศึกษา | สายอาชีพ | สายสามัญ |
1 | มหาวิทยาลัยสังกัด ทปอ. | ตรวจคุณสมบัติเป็นรายโครงการ | / |
2 | มหาวิทยาลัยราชภัฏ | / | / |
3 | มหาวิทยาลัยราชมงคล | / | / |
4 | มหาวิทยาลัยเอกชน | / | / |
5 | มหาวิทยาลัยเปิด | / | / |
6 | ปวส. | / | / |
7 | ศึกษาต่อต่างประเทศ | ตรวจคุณสมบัติเป็นรายโครงการ | / |
8 | ปริญญาโท – ปริญญาเอก | ตรวจคุณสมบัติเป็นรายโครงการ | / |
การตัดสินใจเลือกสายการศึกษาต่อไม่ใช่อยู่ดี ๆ ก็เลือกได้ โดยไม่มีข้อมูลประกอบ ครอบครัว ครูอาจารย์ เพื่อน และที่สำคัญที่สุดคือตัวเราเอง ต้องรู้จักหาข้อมูล ตัวเอง และความต้องการในอนาคต เพื่อวางแผนออกแบบเส้นทางการศึกษาต่อให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด
พี่นัท นัททยา