Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
[รีวิว] วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ พระจอมเกล้าธนบุรี เรียนอะไร ทำงานสายไหน

  Favorite
วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ มจธ.

 

                ในยุคที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มีอยู่รอบตัว มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา และจะเป็นอย่างไรถ้าศาสตร์ด้านเทคโนโลยี มารวมกับศาสตร์ด้านการแพทย์ และสุขภาพ ใครที่สงสัยหรือสนใจอยากรู้คำตอบ ฟลุ๊ค-ธนัชชา ทองจิตติพงศ์ ปี 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมตอบแล้ว

 

 

วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ

เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยเป็นการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ สถิติ ควบคู่ไปกับด้านสุขภาพ ชีวภาพต่าง ๆ ทางการแพทย์ เพื่อประยุกต์รวมกันและจัดการให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งผู้เรียนก็จะมีศักยภาพทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ และทางการแพทย์ สุขภาพ สาธารณสุข

 

แรงบันดาลใจในการเรียน

มองว่าในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ น่าจะมีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ถ้าเราได้ศึกษาและก้าวให้ทันเทคโนโลยี ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และคิดว่าในอนาคตถ้าจบไป ตลาดงานน่าจะต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านนี้พอสมควร
 


การเรียนแต่ละชั้นปี

แบ่งการเรียนเป็น 2 ที่คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรียนด้านคอมพิวเตอร์ และที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  เรียนด้านการแพทย์

ปี 1 เรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีวิทยา อังกฤษ การเขียนโปรแกรมด้วยโครงสร้างข้อมูล กายวิภาคศาสตร์ ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การวิจัยทางการแพทย์และข้อมูลสุขภาพ

ปี 2 เรียนลึกมากขึ้น เรียนเรื่องโรคต่าง ๆ หลักการวินิจฉัยทางคลินิกและการรักษา ชีววิทยาเชิงคำนวณ ชีวสถิติ

ปี 3 เรียนการออกแบบการทดลอง การจัดการการบริการสุขภาพ มีสัมนาหัวข้อวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ มีวิชาเลือกคอมพิวเตอร์ และฝึกงาน ส่วนปี 4 จะทำวิจัย
 


เรียนแบบ Hybrid

เราจะได้เรียนร่วมภายใต้ผู้เชี่ยวชาญจริง ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้เชียวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล ส่วนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้เชียวชาญทางด้านการแพทย์ การได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญถึงสองด้านจะทำให้ได้รับความรู้ที่แน่น และประสบการณ์ที่ดีแน่นอน

 

คุณสมบัติที่ต้องมี

เป็นคนชอบคิดค้น ศึกษาเรื่องใหม่ ๆ เสมอ ชอบการวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ กล้าคิด กล้าแสดงออก และสนใจด้านเทคโนโลยี และด้านสุขภาพ การเตรียมตัวเน้นอ่านวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ น้อง ๆ ต้องศึกษาในแผนการเรียนวิทย์-คณิต GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 และใช้คะแนน GAT, PAT 1, PAT 2
 


ตลาดงาน

ตลาดการทำงานเปิดกว้างมากขึ้น เนื่องจากมีการผลิตข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน ที่มาจากเทคโนโลยีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สาขาอาชีพ ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งรัฐและเอกชน, หน่วยงานด้านสาธารณสุข, นักระบาดวิทยา, นักวิเคราะห์ข้อมูล, นักพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบข้อมูล, ผู้จัดการซอฟต์แวร์และข้อมูล, นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
 

 

ข้อมูลการสอบเข้า

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
http://admission.kmutt.ac.th

 

TCAS

รอบที่ 1 Portfolio
รอบที่ 2 โควตา
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน
รอบที่ 4 Admission
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
 

เกณฑ์รอบ 3 และรอบ 4

ใช้คะแนน GAT, PAT 1, PAT 2

 

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us