Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
สำรวจเส้นทาง สายวิทย์ สายศิลป์ เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง

  Favorite

เคยสังสัยกันไหมว่าทุกวันนี้เราเลือกแผนการเรียนจากอะไร เลือกจากความชอบ ความถนัด หรือเลือกเพราะเก็บไว้เป็นทางเลือกที่หลายหลายในอนาคต ซึ่งทุกอย่างก็เป็นเหตุผลที่มีผลกับชีวิตทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องรู้ให้ดีว่าแผนการเรียนที่เรากำลังเรียนอยู่ หรือจะเลือกเรียน ส่งผลกับชีวิตในอนาคตยังไงบ้าง เพราะแผนการเรียนที่เลือกมีผลกับการเข้ามหาวิทยาลัย และคณะที่เรียนในมหาวิทยาลัยก็มีผลกับอาชีพในอนาคต ใครกำลังสับสนเราไปดูข้อมูลเพื่อวางแผนกันดีกว่า

 

คุณสมบัติทั่วไปของเด็กสายวิทย์

มีทักษะในการอธิบายเหตุผล คิดและวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ละเอียด รอบคอบ คิดอย่างเป็นระบบ ช่างสังเกต หมั่นตั้งคำถาม และอดทน

วิชาที่เรียน
แผนการเรียนวิทย์ - คณิต จะมุ่งเน้นในวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ซึ่งแต่เดิมใน ม.ต้น น้อง ๆ จะเรียนรวมกันอยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อขึ้น ม.ปลาย จะแยกออกมาเป็นวิชาเฉพาะ ซึ่งแต่ละวิชานั้นก็จะเรียนละเอียดลึกซึ้งขึ้นมากเลย และอีกหนึ่งวิชาคือ คณิตศาสตร์ ที่เพิ่มดีกรีความเข้มข้นของเนื้อหามากขึ้นตามระดับชั้น ส่วนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม และวิชาอื่น ๆ ยังคงเรียนอยู่ตามปกติ แต่สัดส่วนจะไม่มาก
 

ตัวอย่างคณะสำหรับสายวิทย์

คณะแพทยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์

คณะสัตวแพทยศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะอุตสาหกรรมเกษตร

คณะเกษตรศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์

คณะสหเวชศาสตร์

 

อาชีพในอนาคต

แพทย์

ทันตแพทย์

สัตวแพทย์

เภสัชกร

นักโภชนาการ

นักกายภาพบำบัด

วิศวกร

นักวิจัยทางการแพทย์

นักรังสีเทคนิค

นักวิจัยด้านอาหารและยา
 

การสอบ
เด็กวิทย์มีโอกาสเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้หลายคณะ และสามารถสอบเข้าบางคณะของเด็กสายศิลป์ได้ มีโอกาสทำคะแนนสอบจากกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้มากกว่าในสนามสอบแข่งขันใหญ่ ๆ และได้ฝึกการเป็นผู้ที่ทนต่อภาวะความกดดันได้ดี

ข้อดีของการเรียนสายวิทย์
สำหรับเส้นทางสายนี้ อาจจะดูเหนื่อย ดูหนัก แต่ถ้าน้อง ๆ มีความขยัน อดทน หมั่นฝึกฝนสิ่งต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ พี่เชื่อว่า น้อง ๆ จะเรียนอย่างมีความสุขแน่นอน
 

ตัวอย่างเกณฑ์การสอบแต่ละคณะ

คณะแพทยศาสตร์
ยกตัวอย่างการสอบผ่านระบบ กสพท
วิชาที่ต้องเตรียมตัวสอบ
- วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท
- 9 วิชาสามัญ (ใช้ 7 วิชา) ไทย สังคม อังกฤษ คณิต 1 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แต่ละวิชาต้องได้ 30 %
- O-NET ทุกวิชารวมกันต้องผ่าน 60%

คณะวิศวกรรมศาสตร์
ยกตัวอย่างการสอบเข้า จุฬาลงกรณ์
วิชาที่ต้องเตรียมสอบ
- รอบที่ 3 ใช้ GAT + PAT 1 คณิตศาสตร์ + PAT 3 วิศวะ
- รอบที่ 4 แอดมิชชั่น จะใช้ PAT 2 + PAT 3
เฉพาะฉะนั้นน้องที่จะเข้า วิศวะ จุฬา ก็สอบ GAT PAT 1 PAT 2 PAT 3 เตรียมไว้เลย เราไม่รู้ว่าจะเราจะติดรอบไหน ไม่รู้ว่าเราจะทำคะแนน คณิต หรือ วิทย์ อันไหนดีกว่ากัน ก็สอบทั้งคู่ไว้เลย และหากเป็น ม. อื่น ๆ จะใช้คะแนน 9 วิชาสามัญด้วย ในวิชา อังกฤษ คณิต 1 ฟิกส์ เคมี

คณะสัตวแพทยศาสตร์
ยกตัวอย่างการสอบเข้า ม.เกษตร
วิชาที่ต้องเตรียมตัวสอบ
- รอบที่ 3 ใช้ 9 วิชาสามัญ (ใช้ 5 วิชา) อังกฤษ คณิต 1 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
- รอบที่ 4 แอดมิชชั่น จะใช้ GAT + PAT 2
เห็นมั้ยว่า TCAS มีหลายรอบ แต่ละรอบ แต่ละ ม. ใช้เกณฑ์ไม่เหมือนกัน ต้องสอบให้ครอบคลุมพอประมาณ
 

คุณสมบัติทั่วไปของเด็กสายศิลป์

อย่างแรกที่เด็กสายศิลป์ควรมีคือความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักเหตุและผลไปพร้อม ๆ กัน ต้องกล้าที่จะแสดงออก ช่างสังเกต อัธยาศัยดี ที่สำคัญคือต้องอดทนเพราะเรามาสายทำกิจกรรม รวมทั้งต้องมีระเบียบและความรับผิดชอบระหว่างกิจกรรมและการเรียนให้ดี

วิชาที่เรียน
แผนการเรียนศิลป์- ภาษา ศิลป์-คำนวณ ถ้าเรียนศิลป์-คำนวณ ก็จะเน้นวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถ้าเรียนศิลป์- ภาษา ก็จะเน้นเนื้อหาภาษาที่เราเลือกเรียนเป็นหลักควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษและสังคม และสายศิลป์วิชาวิทยาศาสตร์แบบรวม ๆ จะไม่เน้นเจาะลึกแยกเรียนแบบสายวิทย์
 

ตัวอย่างคณะสำหรับสายศิลป์

คณะอักษรศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์

คณะสถาปัตกรรมศาสตร์

คณะศิลปกรรมศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์

คณะบริหารธุรกิจ

คณะศิลปศาสตร์

คณะนิเทศศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ

คณะวารสารศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

คณะนิติศาสตร์

คณะรัฐศาสตร์

 

อาชีพในอนาคต

คุณครู อาจารย์

นักแปล ล่าม

นักกฎหมาย ทหารความ

สถาปนิก

นักธุรกิจ

นักบัญชี

นักข่าว

นักแสดง

ผู้กำกับ

นักโฆษณา

ครีเอทีฟ

นักลงทุน

นักเศรษฐศาสตร์

กราฟฟิก นักออกแบบ

 

การสอบ

สายศิลป์ก็สามารถสอบวิชาของสายวิทย์ได้ แต่ความเชี่ยวชาญในวิชานั้นเราอาจจะสู้เค้าตัวจริงเค้าไม่ได้ แต่ทางเลือกในสายตัวเองก็เยอะอยู่พอสมควร และสำหรับพวกวิชาในสายภาษาเราก็ได้เปรียบเค้าเต็ม ๆ

ข้อดีของการเรียนสายศิลป์

มีการเรียนที่ผ่อนคลายกว่าสายวิทย์ ใครที่สนใจด้านศิลป์แล้ว เมื่อเรียนสายศิลป์ก็จะได้ความรู้ด้านศิลป์แบบละเอียด รวมทั้งได้เรียนด้านภาษาที่หลากหลายตามความสนใจของเรา ที่สำคัญใครชอบกิจกรรมก็จะมีโอกาสทำกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งด้านภาษา ศิลปะ การสื่อสาร ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ และอีกมากมายที่เราจะได้เจอในคณะสายศิลป์

 

ตัวอย่างเกณฑ์การสอบแต่ละคณะ

คณะนิเทศศาสตร์
ยกตัวอย่างการสอบเข้า จุฬาลงกรณ์
- รอบที่ 3 ใช้ GAT + PAT 1
- รอบที่ 4 แอดมิชชั่น ใช้ GAT ล้วน หรือ GAT + PAT 7

คณะสถาปัตยกรรม
ยกตัวอย่างการสอบเข้า ลาดกระบัง
- รอบที่ 3 ใช้ GAT + PAT 4
- รอบที่ 4 ใช้ GAT + PAT 4
จะเห็นว่า รอบไหน ๆ ก็ใช้คะแนนเหมือนกัน น้อง ๆ ที่จะเข้าสถาปัตยก็ไม่ต้องสอบเยอะ
 

คณะนิติศาสตร์
ยกตัวอย่างการสอบเข้า ม.ธรรมศาสตร์
- รอบที่ 3 สอบข้อเขียน + คะแนน GAT
- รอบที่ 4 GAT + PAT 7


น้อง ๆ จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี้คือแนวทางที่แตกออกมาให้เห็นกันว่า แต่ละแผนการเรียนมีเส้นทางการเรียนต่อที่ต่างกันออกไป สำหรับน้อง ๆ ที่จะขึ้นม.ปลายหรือเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย จะเห็นแล้วว่าเส้นทางไหนคือทางที่เราไปต่อได้ หรืออะไรที่เหมาะกับเรา สิ่งที่เราสนใจกับแผนการเรียนของเราสามารถไปต่อด้วยกันได้ไหม คณะไหนที่เราสามารถเข้าได้บ้าง มีข้อมูลตรงนี้แล้วก็เตรียมพร้อมแล้ววางแผนกันต่อได้เลย

Tags
Posted by
Plook TCAS
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us