สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน อีกไม่กี่เดือนก็ใกล้จะเข้าเดือนสิงหาคม ที่น้อง ๆ ม. 6 จะก้าวเท้าเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยกันแล้ว วันนี้ “พี่พิงค์" เลยมีหนึ่งในบุคคลที่น่าจะสร้างแรงบันดาลใจดี ๆ ในการทำกิจกรรมสนุก ๆ ในรั้วมหาวิทยาลัยมาแนะนำให้น้อง ๆ ได้รู้จักกัน นั่นก็คือ “พี่บุ๋น” หรือ นายรักษ์พศิน กวินปฐมวงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ซึ่งเป็นประธานเชียร์ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 72 ถ้าอยากรู้จักพี่บุ๋นและงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ให้มากกว่านี้ มาอ่านบทสัมภาษณ์ของพี่บุ๋นเพิ่มเติมกันดีกว่าค่ะ
พี่บุ๋น: จุดประสงค์แรกคือเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างสองมหาวิทยาลัยเวลามาแข่งกีฬากัน แต่หลังจากนั้นพอมายุคหลัง ๆ นี้เราคิดว่าการแข่งกีฬาเป็นเหมือนกับความสุขเล็ก ๆ ชั่วขณะ เราอยากทำอะไรให้สังคมบ้าง จริง ๆ ก่อนเริ่มงานก็มีการทำบำเพ็ญประโยชน์ พวกปรับปรุงโรงเรียน มีเรื่องราวเกี่ยวกับการสะท้อนสังคมและการเมืองในพาเหรดด้วย ส่วนมากเรื่องการเมืองจะเป็นของธรรมศาสตร์ และสังคมจะเป็นของจุฬาฯ
ในความคิดของเรา คนที่เค้าเข้ามา อย่างแรกที่เค้าคิดคือ “ว้าว!” ก่อน แต่พอประธานเชียร์ได้พูดอธิบายพาเหรดเค้าน่าจะได้รู้เรื่องราวของสังคมเพิ่มขึ้นรวมถึงเป็นการสะท้อนให้ผู้ใหญ่เห็นด้วยว่าเยาวชนก็สนใจเรื่องของการเมืองเหมือนกันเพราะผู้ใหญ่หลาย ๆ คนก็บอกว่าเด็กไทยไม่ใส่ใจเรื่องของการเมืองเท่าไหร่นัก
พี่บุ๋น: มีการไปบำเพ็ญประโยชน์ก่อนที่จะถึงวันงานบอลแต่ไม่ค่อยมีคนรู้กันเพราะคนที่ทำส่วนมากเป็นบอร์ดบริหาร เชียร์ลีดเดอร์ อบจ. ตัวแทนทูตกิจกรรม จุฬาคฑากร อาจารย์ และประธานเชียร์ แต่เราทำจริงจังมาก มีไปบ้านรับเลี้ยงเด็ก ไปทำกิจกรรม สร้างความสุขและมอบของ การบำเพ็ญประโยชน์ที่ถือได้ว่าเป็นครั้งใหญ่มากคือที่อยุธยา ธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ เราได้ไปทำนุบำรุงโรงเรียน ทำความสะอาด ทาสีใหม่ ส่วนที่จุฬาฯเป็นเจ้าภาพก็มีที่สถานเลี้ยงเด็กอ่อน ใกล้ ๆ ราชาวดี แถว ๆ นั้นจะมีสถานสงเคราะห์เยอะ แต่งานบำเพ็ญประโยชน์ที่ใหญ่สุดที่จุฬาทำคือ “ค่ายมือบอล” เรียกได้ว่าเป็นงานที่หนักแต่สนุกมาก เกือบจะเรียกได้ว่าสร้างโรงเรียนเลย เราใช้เวลานานประมาณสามวันสองคืนเลยทีเดียว
นอกจากนั้นก็มี “บาก้าถล่มกรุง” ซึ่งบาก้าเป็นเพลงของเชียร์ของจุฬาฯ เราทำแคมเปญบาก้าที่ดังที่สุดในโลก เป็นแคมเปญที่ไปร้องบาก้าในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ทั้งสยามสแควร์ เอ็มควอเทียร์ เทอร์มินอล 21 เอ็มบีเค และปิดท้ายที่พารากอน และในปีนี้ที่แตกต่างจากปีก่อน ๆ คือ มีบาก้าที่หน้าพระบรมรูปสองรัชกาล ซึ่งเป็นบาก้าเพื่อให้กำลังใจกับนักฟุตบอล ปกติเราจะไม่เห็นนักบอลก่อนการลงสนามยกเว้นปีนี้ นอกจากนี้ยังมีการเดินขบวนจากจุฬาไปสนามศุภชลาศัย หรือที่เราเรียกว่า “ถนนนี้สีชมพู”
กิจกรรมในงานส่วนใหญ่ก็จะเป็นการแจกของ มีการแสดงหน้าสแตนเชียร์ และการแสดงจากองค์กรต่าง ๆ ของจุฬาฯ ปีนี้แปลกกว่าปีอื่นเพราะทางจุฬาฯมีขบวนล้อการเมือง ซึ่งปกติจุฬาฯ ไม่ทำ มีเซอร์ไพรส์คือ พี่ตูน บอดี้สแลม กับ พี่ก้อย รัชวิน มาหน้าสแตนเชียร์ และมีการร้องเพลงประจำจุฬาฯ ร่วมกัน
พี่บุ๋น: อยากเป็นประธานเชียร์ตั้งแต่อยู่ ม. 5 แล้ว มี “พี่เบบี้มายด์” เป็นไอดอล เห็นคลิปของพี่เค้าแล้วเราอยากเป็นแบบนั้นบ้าง เราไม่ได้หมายความตรงตัวว่าอยากเป็นพี่เค้าแต่เราอยากเป็นคนที่ทำให้คนอื่นมีความสุขทำนองนั้นมากกว่า หลังจากนั้นพอเข้ามาตอนปี 1 เราก็พยายามฝึกฝนตัวเองทำกิจกรรมเยอะ ๆ เราเตรียมตัวมา 4 ปี เราไม่เคยคิดว่าตัวเองเก่งนะ เพราะเราแค่เต้นสันทนาการเป็นคนตัวเล็ก ๆ คนนึง เวลามีโอกาสเข้ามา ได้เป็นพิธีกรค่ายได้ทำอะไรหลาย ๆ อย่าง มันทำให้เราได้เรียนรู้งานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เราจะได้เข้าใจพวกเค้าทั้งสองสถานการณ์ เวลาผ่านไปจนเรารู้สึกอิ่มตัวและพร้อมแล้วในการลงสมัครประธานเชียร์ เราเลยลองไปสมัครดู
พี่บุ๋น: แบ่งเป็นสามเซคชั่นด้วยกัน หนึ่งคือมีข้อเขียนเกี่ยวกับงานบอล แต่คนไม่ค่อยรู้กันว่ามีข้อเขียน สองคือสัมภาษณ์ประมานสิบห้าคำถาม คำถามประมาณว่าทำไมอยากเป็น ถ้ามีระเบิดบนแสตนเชียร์จะทำไง ให้ขายกระทะไฟฟ้า มีทุกอย่างเลย สามคือมีการแสดง สถานการณ์ตอบโต้ (ฝั่งธรรมศาสตร์) และขายของถุงยังชีพ
พี่บุ๋น: เราไม่รู้ว่าดีคืออะไร แต่พี่คิดว่าประธานเชียร์ต้องเข้าใจงานทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง ไม่ใช่แค่พิธีกร ไม่ใช่แค่คนเต้น แต่ต้องเป็นคนทำทั้งหมด มันจะทำให้งานลื่นไหลที่สุด เราจะต้องอยู่ในทุกขั้นตอนของงาน
พี่บุ๋น: เราต้องดูแลทุกส่วน พวกงานกระทันหัน มีการพูดให้คนบนแสตนเชียร์มีอารมณ์ร่วมกับงาน การแสดง การแข่งขัน งานแจกของ เราต้องสามารถควบคุมให้คนบนแสตนเชียร์สนใจจุดที่เราต้องการ ทั้งหมดนี้คือเราต้องเป็นมากกว่าการเป็นพิธีกรดำเนินรายการ
พี่บุ๋น: เป็นโจทย์ที่ยากมาก เราตีโจทย์ออกมาเป็นการแสดงสปิริตในแบบของตัวเอง มีการร้องเล่น เต้น และนำแสตนเชียร์ ตัวโจทย์มันเป็นนามธรรมเลยต้องนำเสนอผ่านตัวบุคคลว่าสามารถปลุกสปิริตของตัวเองอย่างไร ออกมาในรูปแบบไหนได้บ้าง
พี่บุ๋น: เรื่องอื่นไม่หนักเท่าเวลา เพราะทุกอย่างอัดหมดเลย มีงานทุกวันเช้าเที่ยงเย็น แต่เราก็ทำความเข้าใจกับอาจารย์และเพื่อนก็ช่วยเลยไม่ค่อยมีปัญหาอะไร
พี่บุ๋น: ชอบเยอะมาก ทุกวันมันจะมีช่วงเวลาที่ดี นอกจากนั้นคืองานนี้ทำให้เราได้รู้จักคนมากขึ้น ได้รู้จักกับการทำงานกับคนอื่น แต่ก่อนนี่เราไม่กล้าเข้าหาคนอื่น แต่เรามีคนผลักดันและจำเป็นต้องเข้าหาคนอื่นมันเลยทำให้เราได้ก้าวผ่านขีดจำกัดของตัวเอง
(น้อง ๆ สามารถไปฟังได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=13WLaTrEv2I)
พี่บุ๋น: ได้รับโจทย์ตอนไปสมัครว่าต้องทำคลิปนำเสนอตัวเอง พอดีที่บ้านเลี้ยงไก่และตัวเองก็มีฉายาว่า บุ๋นบุ๋น บุรณี เราก็เลยเอา ทำนองเพลง Ssenunni ของ Jessi มาประกอบด้วยเพื่อนำเสนอชีวิตตัวเองออกมา
พี่บุ๋น: ดีใจมาก อึ้งไปพักนึง รู้สึกว่าโอเคได้ทำหน้าที่นี้แล้ว และเราแค่ต้องสู้ต่อไป นี้มันเป็นเพียงแค่ก้าวแรกเท่านั้น
พี่บุ๋น: ตัวเราเองเรียนคือเรียน เรียนคือเข้าห้องไป เรียนรู้เท่าที่เรียนรู้ได้ อันไหนลาได้ก็บอกอาจารย์ เวลาไหนกิจกรรมก็คือไม่ยุ่งกับการเรียนเลย เราให้ร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้งสองอัน ไม่ใช่แบ่งห้าสิบห้าสิบ มันจะงง ส่วนเรื่องของการซ้อม มีน้องหลาย ๆ คนมีกิจกรรม เวลาซ้อมก็ลดน้อยลงเพราะต้องนัดเวลาทุกคนให้ตรงกัน เราซ้อมกันในเวลาไม่นานแต่เราซ้อมหนักมากคือซ้อมตั้งแต่ห้าโมงถึงตีสี่แล้วตื่นมาเรียน เราซ้อมกันหนักมากจริง ๆ น้อง ๆ เอาหมอนมานอนใต้จามจุรีห้าเลยนะ มันก็เป็นช่วงเวลาที่ดีแต่เหนื่อยจริง ๆ
พี่บุ๋น: หนูต้องทุ่มเทกับงาน มันต่างจากองค์กรอื่นนะ ประธานเชียร์มีแค่คนเดียว ถึงเรามีทีมแต่ถ้าเค้าต้องการประธานเชียร์คือเราก็ต้องไปเพราะประธานเชียร์มีแค่คนเดียวไง เราต้องรักทีมงานให้มาก ๆ เพราะถ้าเราเหลิง มันจะหลุดไปเลย ไม่ว่าเราจะตัวลอยแค่ไหน เราคือคนเดิมที่ไม่มีมงกุฎอะไรบนหัว และอย่าลืมว่าเราต้องเข้าใจทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังด้วย
พี่บุ๋น: ถ้ามัธยมต้นหรือมัธยมปลายพี่คิดว่างานมันไม่หนักเท่ามหาลัย มัธยมคือโฟกัสการเรียน กิจกรรมคือตัวเสริม โฟกัสได้บ้างแต่อย่าจับทุกอย่าง เรายังจัดการไม่ได้ ต้องค่อย ๆ จับ เรามีแค่สองมือ เรียนให้สุดและเราจะได้มหาลัยที่ดี ส่วนในชีวิตมหาลัยสิ่งที่จะนำไปสู่การงานที่ดีได้คือการทำกิจกรรม พยายามทำตารางชีวิตให้ดี เรียนคือเรียน กิจกรรมคือกิจกรรม ต้องโฟกัสให้เป็นและจัดการเอา มันเหนื่อยแต่มันเป็นวิธีที่ดีที่สุดนะ
เป็นยังไงบ้างคะ พี่พิงค์หวังว่าน้อง ๆ คงได้แนวความคิดดี ๆ และแรงบันดาลใจจากพี่บุ๋นเพื่อนำไปปรับใช้กับตัวเองไม่มากก็น้อยนะคะ สุดท้ายนี้พี่พิงค์เชื่อว่าการเรียนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับตัวเรามากจริง ๆ ค่ะ แต่การทำกิจกรรมเพิ่มเติมควบคู่ไปด้วยจะทำให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ และทำให้เราได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อนำมาพัฒนาตนเองได้อีกมาก เหมือนกับ “พี่บุ๋น” ประธานเชียร์คนเก่งคนนี้นั่นเองค่ะ
เรื่อง : พิชญา วัชโรดมประเสริฐ
เครดิตภาพ: เพจฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ และ เพจบุ๋นบุ๋น บุรณี ประธานเชียร์ฯ72