Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Education > TCAS > บทความ
อาวุธคู่อาชีพ : แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

  Favorite

อาวุธคู่อาชีพ : แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน


แพทย์ฉุกเฉิน


แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเป็นแพทย์สาขาใหม่สำหรับเมืองไทย ถึงแม้ว่าจะมีมานานแล้วในต่างประเทศ ซึ่งไม่เพียงทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน แต่ยังรวมถึงการออกไปรับส่งคนไข้กับรถพยาบาลหรือยานพาหนะอื่น ๆ เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที สำหรับอาวุธประจำกายของหมอฉุกเฉินประจำโรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ อย่าง
พี่เกด ธิดา ณ ระนอง นอกจากหูฟังที่ใช้มา 7 ปีแล้ว มาดูกันว่ายังมีสิ่งของจำเป็นอีกหนึ่งอย่างที่อาจคาดไม่ถึง
 

แพทย์ฉุกเฉินทำหน้าที่อย่างไรบ้าง
แพทย์ฉุกเฉินเป็นแพทย์สาขาใหม่สำหรับเมืองไทย เกดเป็นรุ่น 8 ของประเทศ มีมายังไม่ถึง 10 ปีเลย มีสอนตามโรงเรียนแพทย์ใหญ่ ๆ เช่น รามาธิบดี ศิริราช เกดเองจบจาก รพ.ภูมิพล เป็นแพทย์มาแล้ว 5 ปี รวมกับเป็นแพทย์ฉุกเฉินมา 1 ปีแล้ว

แต่ก่อนแพทย์ในห้องฉุกเฉินจะเป็นแพทย์จากสาขาอื่นลงมาตรวจ เดี๋ยวนี้หลายแห่งก็เริ่มมีแพทย์ฉุกเฉินมากขึ้น วัตถุประสงค์ก็คือตรวจคนไข้ที่ฉุกเฉินจริง ๆ ถึงแก่ชีวิต และรวมถึงการไปรับส่งคนไข้ ออกไปกับรถพยาบาล จะเรียกว่า refer ไม่ว่าจะขนส่งคนไข้ทางรถหรือทางเครื่องบิน จะใช้แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเป็นหลัก เพราะเราไม่รู้จะเจอกับอะไร แพทย์ฉุกเฉินจะมีความชำนาญกว่า
 

แพทย์ฉุกเฉินยังไงถึงเรียกว่าฉุกเฉิน หรือโรคฉุกเฉิน
โรคฉุกเฉินถ้าไม่ช่วยเดี๋ยวนั้นอาจจะถึงชีวิตหรือพิการได้ เราเข้าไปดูคนไข้ก่อน สั่งยาเบื้องต้น วินิจฉัย หรือปั๊มหัวใจ ถ้าคนไข้หัวใจหยุดเต้นเราต้องหาว่าเกิดจากอะไร ถ้าอันไหนเรารักษาได้จนจบ แต่อันไหนจำเป็นต้องเจอกับแพทย์เฉพาะทาง เราก็จะส่งให้แพทย์สาขาอื่นอย่างถูกต้อง
 

แพทย์ฉุกเฉินต้องเรียนเนื้อหาของทุกสาขาไหม
ตอนที่เรียนเฉพาะทางเราต้องวนทุกแผนกเพื่อรู้ว่าโรคที่ฉุกเฉินของแต่ละสาขามีอะไรบ้าง เช่น หัว อก ท้อง เลือดออก โรคหัวใจ ถ้าเป็นหัวใจโตก็ไม่ฉุกเฉิน แต่ถ้าเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบก็ฉุกเฉิน ที่สำคัญก็คือต้องหมอฉุกเฉินต้องสื่อสารเยอะ เพราะทุกคนจะมาแบบไม่รู้อะไร ญาติก็จะค่อนข้างเครียด ต้องคุยกันดี ๆ
 

อาวุธคู่กายหมอทุกคนคือหูฟัง
อาจจะมีหมอหลายคนที่ตอบแบบนี้ หูฟังอันนี้ใช้มาตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 4 ขึ้นคลินิก ตอนถือครั้งแรกทุกคนจะภูมิใจว่าเหมือนเป็นหมอขึ้นมาแล้ว พอ ๆ กับใส่เสื้อกาวน์ แต่ตอนจบใหม่เราจะรู้ว่ามันไม่ใช่แค่เป็นพร๊อบถ่ายรูป มันเอาไว้ฟังได้หมด ฟังปอด หัวใจ ท้อง วินิจฉัยโรคได้เยอะ

หูฟังก็เป็นเหมือนเครื่องประดับเหมือนกันนะ มีหลายรุ่น ชัดไม่ชัด อย่างหมอเด็กก็จะมีสีสันหน่อย ตอนนั้นที่ซื้อก็แพงนะ คิดว่าก็คงใช้ไปอีกนาน หมอทุกคนจะติดอะไรไว้นิดหนึ่งว่าเป็นหูฟังของเรา แต่จริง ๆ ห้ามห้อยอะไรเยอะ เพราะเสียงมันจะกวนเวลาฟัง ส่วนไฟฉายเอาห้อยไว้กับกุญแจรถเลยค่ะ

 

แพทย์ฉุกเฉิน


ไฟฉายมีความสำคัญอย่างไรต่อแพทย์ฉุกเฉิน
ตอนที่เป็นแพทย์ฉุกเฉินเพิ่งรู้ว่าไฟฉายเป็นของที่ต้องเรียกใช้เสมอ เลยซื้อเป็นของตัวเอง คนทั่วไปคิดว่าใช้ส่องคอ แต่ที่สำคัญของหมอฉุกเฉินคือโรคทางสมอง รูม่านตาก็สำคัญ จะบอกได้เยอะว่าคนไข้แนวโน้มดีหรือไม่ดี หรือเราไปออกซีน บางทีมันมืดเราก็ใช้ได้สารพัดประโยชน์
 

แพทย์ฉุกเฉิน 

Tags
Posted by
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
ข่าวค่ายและกิจกรรม
ข่าวรับตรงล่าสุด
Follow us